ความคิดเห็นที่ 94
ผม search เจอบทสัมภาษณ์เก่าของ ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น มีข้อมูลน่าสนใจครับ ขอเอามาแบ่งปัน http://www.zuzaa.com/news/data/8/0041.html
ตัดมาเฉพาะส่วนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องนะครับ
==========================================
จุฬาฯ ยุค ปรับสูตรค่าเช่า
.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงนโยบายสำคัญของจุฬาฯ พร้อมทั้งระบุเรื่องสำคัญประการที่สองก็คือการที่จะต้องทำให้จุฬาฯ มีชื่อเสียงเป็นที่ชื่นชมทั้งในและนอกประเทศ นอกจากจะทำเพื่อมหาวิทยาลัยแล้ว จุฬาฯ ถือว่าสิ่งนี้คือคือภารกิจที่ต้องทำเพื่อประเทศชาติ คือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย แต่การจะก้าวไปให้ถึงจุดมุ่งหมายทั้งสองประการที่ว่า ต้องอาศัยเงินทุนเป็นจำนวนมากในการดำเนินการ เพราะ จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีทั้งอาจารย์ เจ้าหน้าที่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินการย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ในการพัฒนาทางด้านวิชาการ ทุกอย่างที่เป็นการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนต้องใช้เงินทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอน โดยเฉพาะทางสายวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ที่ใช้เรียนมีราคาสูง และเราต้องการให้นิสิต มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยสำหรับการเรียนรู้ อย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ก็รวมไปถึงการทำระบบซอฟต์แวร์ที่จะมาดูแล เครอข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบฐานข้อมูลต่างๆ สำหรับใช้ค้นคว้าหาข้อมูล นอกจากนั้นเรายังมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการให้ทุนการศึกษาแก่นิสิต การส่งคณาจารย์ไปศึกษาต่อ การไปดูงาน การสัมมนาทางวิชาการเพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนามหาวิทยาลัย
.......................
นอกจากเรื่องของทุนการศึกษา ทุนการทำวิจัยแล้ว ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา ยังบอกอีกด้วยว่าเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอาคารสถานที่ การขยับขยายพัฒนาให้มีพื้นที่ในการเรียนการสอนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ล้วนแต่ต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่เรื่องดังกล่าวสำหรับคนส่วนใหญ่ในสังคมมักจะมองว่า จุฬาฯ รวย เพราะ จุฬาฯได้รับงบประมาณแผ่นดินเยอะอีกทั้งยังมีที่ดิน มีทรัพย์สินเป็นของตัวเอง ในเรื่องนี้ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา ระบุว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องซะทีเดียว อย่างที่กล่าวไปแล้ว เรามีความจำเป็นในเรื่องค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แต่รายรับที่จุฬาฯ ได้มานั้น แบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คืองบประมาณแผ่นดิน และเงินรายได้ ในส่วนของงบประมาณแผ่นดินนั้นในปี 2548 จุฬาฯ ได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้เราต้องนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินเดือนบุคลากรและคณาจารย์ของจุฬาฯ ประมาณ 2,000 ล้านบาท หรือประมาณ 70 เปอร์เซนต์ ของเงินงบประมาณแผ่นดินเลยทีเดียว แต่ก็เรียกว่ายังไม่พอ เพราะ เราต้องจ่ายเงินเดือนให้กับคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ที่ทางมหาวิทยาลัยจ้างมาเพิ่มเติม เนื่องจากทางรัฐบาลไม่มีอัตราให้ ซึ่งในส่วนนี้เราต้องใช้เงินรายได้ของเราจ่ายเอง ที่เหลืออีก 1,000 ล้านบาท ต้องเอามาใช้จ่ายในส่วนของค่าสาธารณูประโภค ค่าซ่อมแซมอาคารสถานที่และจ่ายค่าดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามปกติของมหาวิทยาลัย ดังนั้นเงินที่เหลือไปใช้ในการพัฒนาทางวิชาการและการวิจัยจึงมีจำนวนไม่มากมายอย่างที่ใครๆ คิด ส่วนเงินรายได้ในปีที่ผ่านมา จุฬาฯ มีรายได้จากค่าเล่าเรียนประมาณ 1,000 ล้านบาท รายได้จากงานวิจัยที่ไม่ใช่วิทยานิพนธ์อีกปีประมาณ 800 ล้านบาท และจากการบริการทางวิชาการอีกประมาณ 100 ล้านบาท แต่จำนวนเงินเหล่านี้ไม่ใช่ว่าทางจุฬาฯ จะได้ทั้งหมด อย่างเงินจากการวิจัยประมาณ 800 ล้านบาทนั้นก็ต้องใช้จ่ายในส่วนของค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้สอยและค่าตอบแทนผู้ทำวิจัย ส่วนที่จุฬาฯ ได้รับเป็นส่วนน้อยไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทรัพย์สินที่ทางจุฬาฯ มีทั้งพื้นที่บริเวณสามย่าน สยามสแควร์ มาบุญครอง บรรทัดทอง นั้น ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา ระบุว่ารายได้โดยรวมที่ได้จากพื้นที่เหล่านั้นโดยรวมแล้วมีประมาณปีละ 500 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าที่ควรจะได้ในท้องตลาดมาก ดังนั้นเพื่อเพื่อรายรับให้พอกับรายจ่าย ทางจุฬาฯ จึงต้องจัดระบบการบริหารทรัพย์สินที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ การบริหารทรัพย์สิน ต้องเรียนให้ทราบว่าพื้นที่ที่จุฬาฯ ได้รับพระราชทานมา เพื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยมีประมาณ 1,000 ไร่ เราแบ่งเป็นพื้นที่เขตการศึกษา 50 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่พาณิชย์ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณสามย่าน สยามสแควร์ มาบุญครอง บรรทัดทอง พื้นที่บริเวณข้างคณะบัญชีฯ แล้วพื้นที่อีก 20 เปอร์เซ็นต์ ให้หน่วยงานราชการอื่นๆ ยืมใช้งาน อย่างโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา เราใช้พื้นที่พาณิชย์เท่านั้นที่นำมาสร้างรายได้ให้ และมีนโยบายว่า เราจะไม่ลดเขตการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการอื่นๆ อย่างแน่นอน ทั้งนี้จากการดูตัวเลขรายรับจากแต่ละพื้นที่เขตพาณิชย์ของจุฬาฯ นั้น ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดากล่าวว่าทางมหาวิทยาลัยเห็นว่ามีรายได้ไม่มาก จึงมีการพูดคุยกันถึงการบริหารจัดการกันใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทางมหาวิทยาลัย แต่ก็ต้องไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้อื่นหรือเอาเปรียบคนอื่น พื้นที่ของสยามสแควร์นั้น เป็นพื้นที่ธุรกิจใจกลางเมือง ทำให้คนอื่นมองว่าจุฬาฯ รวย เพราะ มีรายรับจากพื้นที่ทำเลทองตรงนี้เยอะ แต่ความจริงแล้ว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราให้ผู้เช่าพื้นที่สยามสแควร์เช่าทั้งคูหาในอัตรา 30,300 บาทต่อเดือน แต่ผู้เช่าเมื่อเช่าไปแล้วส่วนหนึ่งไปแบ่งพื้นที่ชั้นล่างออกเป็นล๊อคๆ ประมาณ 4 ล๊อค แล้วแบ่งให้เช่าล๊อคละประมาณ 60,000 80,000 บาท ต่อเดือน รวมแล้วมีรายได้ประมาณเดือนละ 200,000 กว่าบาท ก็มีส่วนต่าง 200,000 กว่าบาท แล้วถามว่าเงิน 200,000 บาทนี้ใครได้? ที่แน่ๆ ไม่ได้อยู่ที่จุฬาฯ แน่นอน เพราะ จุฬาฯ ไม่ได้แบ่งให้เช่าแบบนี้ เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ดูแล้ว ก็เหมือนกับเราดูแลทรัพย์สินของจุฬาฯ ไม่ดี ทำให้เงินที่ควรได้ ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อจุฬาฯ อย่างที่ควรจะเป็น เราจึงมีความคิดที่จะปรับปรุงระบบการบริหารทรัพย์สินใหม่ เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการดำเนินการปรับปรุงระบบการบริหารทรัพย์สินใหม่ของจุฬาฯ นั้น รศ.ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ รองอธิการบดี ซึ่งดูแลทรัพย์สินของจุฬาฯ ได้ให้บริษัท CB Richard Ellis (Thailand) เข้าทำการสำรวจพื้นที่บริเวณสยามสแควร์ เพื่อประเมินมูลค่าสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ ผลปรากฏว่า ราคาที่ทางจุฬาฯ ให้เช่าอยู่ในปัจจุบันไม่เคยขึ้นราคาเลยมากว่า 10 ปี นั้นอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก เมื่อเทียบกับราคาตลาด และนั่นเป็นสาเหตุที่ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา บอกต้องมีการกำหนดอัตราค่าเช่าใหม่
อัตราค่าเช่าใหม่จะแบ่งพื้นที่ออกเป็นทำเลค้าขาย เช่นเซ็นเตอร์พอยท์ ซึ่งเป็นทำเลที่โดดเด่นก็เก็บค่าเช่ามากกว่าบริเวณอื่นๆ แล้วก็ลดหลั่นกันไปตามสภาพความเป็นจริง และราคาใหม่ที่เราเรียกเก็บนั้น ก็เรียกเก็บสูงสุดเพียง 2 ใน 3 ของราคาตลาดเท่านั้น และก็ให้สิทธิผู้ที่เช่าพื้นที่อยู่ก่อนแล้วด้วยการให้โอกาสต่อสัญญาก่อน และถ้าอยู่มาโดยไม่ใช่การเช่าช่วงต่อ เราก็ลดให้อีก 20 40 เปอร์เซ็นต์ ตามระยะเวลาที่อยู่เดิม จากการขึ้นค่าเช้าพื้นที่นี้เองที่ทำให้เกิดคดีความฟ้องร้องในศาลกว่า 70 คดี เพราะ ผู้เช่าบางรายไม่พอใจ และศาลพิจารณายกฟ้องไปเป็นจำนวนมาก ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดากล่าว และบอกต่อไปว่า เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้เช่าที่เคยร้องเรียนก็ขอกลับมาทำสัญญาเช่ากับทางจุฬาฯ อีกครั้ง เมื่อทำการปรับเปลี่ยนค่าเช่า เงินรายได้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาอีกหลายร้อยล้านบาทต่อปี และเงินทุกบาททุกสตางค์ที่เก็บได้นี้ สำนักงานทรัพย์สินไม่มีสิทธิที่จะใช้เงินนี้เลย ทุกบาททุกสตางค์จะต้องส่งเข้าคลังของจุฬาฯ ทั้งหมด นอกจากจะปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพย์สินแล้ว ผู้บริหารยุคนี้ยังมีเป้าหมายที่จะสร้างอนาคตให้กับจุฬาฯ ด้วยการสร้างทรัพย์สินอื่นเพิ่มขึ้นให้กับจุฬาฯ เหมือนอย่างโครงการจัตุรัสจามจุรี ซึ่งตั้งอยู่พื้นที่ด้านข้างคณะพณิชยศาสตร์และการบัญชี (พื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสามย่าน) พื้นที่บริเวณข้างคณะบัญชี นำมาใช้เป็น Education Mall อาคารสำนักงานและอาคารที่พักอาศัย พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งใน 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นพื้นที่เขตพาณิชย์ เดิมที่ตรงนี้เป็นตึกแถว และเมื่อปี 2530 ได้พัฒนาพื้นที่ตรงนั้นเป็น ไฮเทคสแควร์ แต่ประสบปัญหาและระงับการก่อสร้างไปตั้งแต่ปี 2539 พอถึงตอนนี้คิดว่าจุฬาฯ ควรนำพื้นที่มาสร้างให้เกิดประโยชน์เต็มที่ จึงทำเป็นโครงการจัตุรัสจามจุรี และโครงการนี้จะสร้างรายได้ระยะยาวให้กับจุฬาฯ และเราใช้เงินลงทุนของตัวเองสูงพอสมควร และเราวิเคราะห์แล้วว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 6 ปี หลังจากนั้นจะมีรายได้เข้ามาเรื่อยๆ เราทำไว้เพื่อเป็นฐานรายได้ให้กับจุฬาฯ และเป็นต้นแบบสำหรับการดำเนินการต่อไปข้างหน้า สุดท้ายอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ฝากไปถึงคนทั่วไป รวมทั้งศิษย์เก่าของจุฬาฯ ที่มองว่าจุฬาฯ อยู่ได้โดยไม่ต้องการเงินบริจาคนั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าต้องการให้จุฬาฯ เป็นสถาบันชั้นนำในด้านการเรียนการสอน การวิจัย เงินเท่านี้อยู่ไม่ได้ ในสมัยก่อนอาจจะอยู่ได้ แต่ปัจจุบันโลกมีการพัฒนาไปเร็วทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม ถ้าเราต้องการพัฒนาไปให้เร็วทันโลก เราต้องใช้เงินมากกว่านี้ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นภารกิจของจุฬาฯ นอกจากจะทำเพื่อความก้าวหน้าของจุฬาฯ แล้ว จำนำพามาซึ่งการผลิตบัณฑิตมีคุณภาพออกสู่สังคมไทย และชื่อเสียงอันเป็นที่ยอมรับทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจที่เราถือว่าทำเพื่อประเทศชาติของเราด้วย
จากคุณ :
มนุษย์บัตรผ่าน
- [
7 มิ.ย. 51 23:37:15
A:58.8.14.82 X: TicketID:110995
]
|
|
|