Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    เทศกาลกินเจ เที่ยววัดกำมโลวยี่และศาลเจ้าพ่อเสือครับ

    สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เป็นการเที่ยวต่อในช่วงเทศกาลกินเจ
    วันนี้ผมจะไปเที่ยววัดกำมโลวยี่ หรือวัดทิพยวารีในแถบบ้านหม้อ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และมีชื่อเสียง มีผู้นิยมไปถือศีลกินเจกันมากแห่งหนึ่งครับ

    สำหรับวัดกำมโลวยี่หรือวัดทิพยวารีนั้นก็ตั้งอยู่ที่ 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร เขตพระนคร (บ้าน หม้อ)
    กรุงเทพฯ 10200 วัดนี้เดิมเป็นวัดญวนชื่อ วัดกำมโลยี่ ต่อมาเป็นวัดร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการแต่งตั้งพระจันมาบูรณะ ลักษณะเป็นศาลเจ้าจีนมีพระพุทธรูปทองขนาดใหญ่ 3 องค์

    ประวัติก็อ้างอิงจากที่นี่ครับ http://www.igetweb.com/www/groone001/index.php?search&keysearch=8&keysearchy=2008&mo=20

    สร้างในสมัยกรุงธนบุรีในปี พ.ศ.2319 รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ีทรงพระราชทานที่ดินฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นที่อาศัย ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ องเชียงสือนัดดาเจ้าเมืองเว้ ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและได้ลักลอบหนีกลับเมือง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงแคลงพระทัยชาวญวนจึงได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้กลุ่มชนชาวญวนซึ่งมีอยู่มากในบริเวณนั้นย้ายออกไปอาศัยอยู่ที่อื่นเพื่อให้ห่างจากพระนคร ชุมชนบริเวณนี้ซึ่งเคยเป็นที่อาศัยของคนไทยคนจีนและคนญวนเชื้อสายพุทธจึงอยู่ในความเงียบสงบ วัดทิพยวารีวิหาร(กัมโล่วยี่)ในขณะนั้นจึงมีสภาพคล้ายรกร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเลยอีกนานหลายปี


     
    จนถึงประมาณปี พ.ศ.2439 พระอาจารย์ไหซัน พระภิกษุจีนชาวมณฑลหูหนาน ได้จาริกมาจำพรรษาที่วัดทิพยวารีวิหารแห่งนี้ ท่านจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่และได้ชักนำคนไทย-คนจีนในเขตนั้น อันมีนายเช็งเต็ก แซ่เจี่ย และนางซิ่วออม แซ่ตัน สองสามีภรรยาคหบดีผู้กว้างขวางในกลุ่มชาวจีนในย่านตลาดมิ่งเมืองเป็นแกนนำ ต่อมาทายาทของครอบครัวท่านทั้งสองนี้ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6 ว่า "เศวตมาลย์"


    พระอาจารย์และประชาชนในครั้งนั้นได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัด จนวัดอยู่ในสภาพสมบูรณ์สวยงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5) จึงได้ทรงพระราชทานสมณศักดิ์ให้อาจารย์ไหซัน เป็นหลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ ปลัดซ้ายจีนนิกายดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และได้ทรงพระราชทานนามวัดกัมโล่วยี่ให้ใหม่ว่า "วัดทิพยวารีวิหาร" ตรงกับพ.ศ.2452 เหตุที่ให้ชื่อวัดเป็นเช่นนี้เพราะที่วัดนี้มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์หรือบ่อน้ำทิพย์อยู่นั่นเอง ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งหลายจึงเรียกวัดกัมโล่วยี่หรือวัดน้ำทิพย์นี้เป็น "วัดทิพยวารีวิหาร" อันเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายจนถึงปัจจุบัน

    เทพมังกรเขียว(หรือแชเล่งเอี้ย)เป็นหนึ่งในเทพที่มีคนมาสักการะมากที่สุดในวัดทิพยวารีวิหาร ท่านเป็นเทพมังกรผู้รักษาบ่อน้ำทิพย์ประจำวัด แต่โบราณกาลชาวจีนเชื่อกันว่าเทพมังกรเป็นเทพารักษ์ประจำแหล่งน้ำทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ หรือมหาสมุทร
    ทั้งยังเชื่อกันว่าเทพมังกรจักบันดาลความอุดมสมบูรณ์ มีฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ประเพณีชาวพื้นเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำแยงชีลงมา จนถึงแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน แต่โบราณนับถืองูและบูชางู มีประเพณีในแถบแต้จิ๋วกล่าวถึงพิธีรับเจ้างูในเดือนยี่ และถึงฤดูน้ำหลากจะมีฝูงงู ลอยตามน้ำป่า มาติดอยู่ริมตลิ่ง ชาวบ้านก็จะเชิญงูกลับมาบูชาที่ศาลประจำหมู่บ้าน และเลี้ยงงูด้วยไข่ไก่ดิบ งูเหล่านี้ไม่ทำร้ายคน หลังเสร็จพิธี ฝูงงูก็จะกลับไปทางช่องด้านหลังของศาลเจ้า
    ณ ริมแม่น้ำหั่งกังหน้าเมืองแต้จิ๋ว ในประเทศจีน มีศาลเจ้ามังกรเขียว เป็นที่บูชางูและมีงูเขียวใหญ่หัวงูมีลายคล้ายอักษรจีน"อ้วง"(แปลว่าเจ้า)อาศัยเลื้อยไปมาอยู่ในศาล แต่ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงมีการบูชารูปอังจี้อ้วง ขุนพลสมัยสามก๊กที่ได้รับการอวยยศเป็นอ๋อง(มีข้าหลวงชาวแต้จิ๋วนับถือท่านอังจี้อ้วงขณะไปเป็นขุนนางที่ยูนนานจึงอัญเชิญรูปเคารพกลับมาประดิษฐานที่นี่)เป็นประธานศาลเจ้าแห่งนี้
    ศาลเจ้าที่วัดแห่งนี้เป็นศาลที่คนจีนแต้จิ๋วนับถือกันมากที่สุดแห่งหนึ่งเป็นที่เคารพสักการะในหมู่ชาวจีนในประเทศไทยมาช้านานเนื่องเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ท่านจะอำนวยพรให้ผู้ศรัทธาได้ผลสมตามความมุ่งมาดปรารถนา


    การเดินทางของผมก็เริ่มจากรถประจำทางสาย 73 เช่นเดิม

     
     

    จากคุณ : digimontamer - [ 3 ต.ค. 51 15:49:46 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom