ความคิดเห็นที่ 9 |
จ๋า - ก็เล่นขึ้นดิสเพลย์ด้วยอาหารทุกวันนี่แม่คุณ ไม่ก็ถ่ายคู่กะอาหารมั่ง เชฟมั่ง ขนาดรูปเดี่ยวยังไม่วายถ่ายในร้านอาหารเลย
พี่เล็ก - โลดเด้อ
แม่กระจง - ฮ่า ชอบกระจง -----------------------------------------------------------------------------
ดงบุริ
ดงบุริ ก็คือไอ้ข้าวหน้าต่างๆใส่ชาม กินกันง่ายๆแบบข้าวราดแกงเรานี่หละ โดย คำว่า ด้ง มาจากคำว่า ชาม
เคยมีคำกล่าวลือ ว่ามาจากคำว่า "ธนบุรี" ผมไม่เชื่อนะ ผมว่ามันเป็นตลกโจ๊กขำๆมากกว่า เพราะดูไม่มีอะไรเนื่องกันเลย อย่างน้อยคำว่า ด้ง ยังมีตัวคันจิกำกับ
ส่วน กิวด้ง นั้น
น่าจะเกิดมาไล่ๆกับ sukiyaki ซึ่งว่ากันว่า ตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มปฏิรูปทำการเปิดประเทศ ก็เริ่มนำวัฒนธรรมการกินเนื้อสัตว์เข้ามา จากที่แทบจะเป็นมังสวิรัติทั้งประเทศเพราะข้อห้ามทางศาสนา มาเริ่มกินเนื้อสัตว์
โดย คำว่า sukiyaki ก็มีที่มาจากสองสาย ที่ว่ามาจาก การเอาอะไรก็ได้ที่ชอบมาย่างก็มี อีกอันที่น่าจะเข้าท่ากว่า คือ ย่างบนจอบ/เสียม โดยเอาเนื้อสัตว์มาย่างบนจอบของชาวนาในสมัยก่อน
*คำว่า SUKI แปลว่า จอบ ช่องว่าง คันไถ ประณีตศิลป์ หรือ แปลว่า ชอบ/รัก ก็ได้แล้วแต่ตัวคันจิ ที่ใช้กำกับ คนญี่ปุ่นที่รู้จักกันบอกว่า ใครใช้ ไอชิเตะรุ นี่เชยนะ เขาบอกรักด้วยคำว่า สึกิ/ไดสึกิ กันตั้งนานแล้ว(พี่เต๋าสมัยออกเทปคงเชยมาก)
เข้าเรื่องต่อ ด้วยความที่คนญี่ปุ่นไม่คุ้นกับรสเนยเท่าไหร่ เลยเอาเนื้อวัวมาผัดกับโชยุแบบเดิมๆ เลยเกิด สุกี้ยากี้ ขึ้น
ส่วน กิวด้ง นั้น คงเป็นการลดทอนเครื่องจาก สุกี้ยากี้ลงไป จนเหลือแค่เนื้อผัดกับซอสและหอมใหญ่ เท่านั้นเอง
จากคุณ |
:
SchwedaKong
|
เขียนเมื่อ |
:
วันรัฐธรรมนูญ 52 17:46:41
|
|
|
|