 |
ความคิดเห็นที่ 8 |
ไม่ว่าะเปนน้ำตาลอะไรก็ตามที่ร่างกายสามารถนำเอามาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานได้นั้นก็ย่อมไม่พ้นกับความ "อ้วน" ครับ ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส หรือ ซูโครส (น้ำตาลทราย) ซึ่งหากต้องการควบคุมน้ำหนักหรือปริมาณน้ำตาลลองหันไปใช้พวกสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดต่างๆ สิครับ ซึ่งสารให้ความหวานพวกนี้จริงๆ แล้วก็เป็นคาร์โบไฮเดรตเหมือนกันแต่ว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ร่างกายไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ (ในแง่พลังงาน) ได้ ซึ่งก็จะเหมือนกับพวกเซลลูโลสต่างๆ ที่ร่างกายย่อยไม่ได้ครับ
ตัวอย่างสารให้ความหวานพวกนี้ก็เช่น โซเดียมไซคลาเมท (Sodium cyclamate) มีความหวาน 30 เท่าของน้ำตาลทราย, ดัลซิน (Dulcin) หรือซูครอล (Sucrol) มีความหวาน 200 เท่าของน้ำตาลทราย, ซัคคาริน (Saccharin) มีความหวานเป็น 500 เท่าของน้ำตาลทราย ส่วนในรูปของโซเดียมซัคคารีน ซึ่งเป็นรูปที่นิยมใช้ มีความหวานประมาณ 300-500 เท่าของน้ำตาลทราย, ซอร์บิทอล (Sorbitol) มีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทราย คือประมาณ 1/2 - 2/3 เท่าของน้ำตาลทราย, สติวิโอไซด์ (Stevioside) มีความหวานประมาณ 150-300 เท่าของน้ำตาลทราย, ไซลิทอล (Xylitol) มีความหวานเท่ากับน้ำตาลทราย, แอสปาร์เทม (Aspartam) มีความหวาน 200 เท่าของน้ำตาลทราย
อย่างไรก็ดีสารให้ความหวานบางชนิดอาจจะมีผลกระทบสำหรับคนที่มีอาการฟีนิลคีโตนูเรีย และ/หรือ มีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ และสารให้ความหวานแต่ละชนิดนั้นก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน โดยบางชนิดอาจสลายตัวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูง (โดนความร้อนสูงแล้วไม่หวาน) จึงควรศึกษาเกี่ยวกับข้อควรระวังและวิธีการใช้ให้ถูกต้องด้วยนะครับ
จากคุณ |
:
Djehuti
|
เขียนเมื่อ |
:
13 มิ.ย. 53 21:16:19
|
|
|
|
 |