ลอดช่องเป็นอาหารไทยโบราณ ซึ่งแต่ก่อนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "นกปล่อย" โดยชื่อขนมลอดช่องนี้
มาจากขั้นตอนในการทำขนม คือ ขั้นตอนการกดแป้งให้ออกจากพิมพ์ โดยตัวลอดช่องจะมีลักษณะเป็นเส้น ๆ
ยาวประมาณ 2 - 2.5 นิ้ว หรือ อ้วน ๆ สั้น ๆ ขึ้นอยู่กับตัวพิมพ์ที่ใช้ในการกดแป้ง
ขนมลอดช่องมักจะนิยมที่จะทำในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน เป็นตัน ซึ่งตามหลักโบราณนั้น ขนมลอดช่อง
จะเสริฟพร้อมกับขนมอีกสามอย่าง ที่ตามประเพณีเรียกว่า "กินสี่ถ้วย" คือการทำขนมสี่อย่าง ได้แก่ "ไข่กบ นกปล่อย นางลอย อ้ายตื้อ"
โดยขนมแต่ละอย่างจะมีความหมายต่าง ๆ กันไป แต่ผมจะพูดถึงเฉพาะ ขนมลอดช่อง ซึ่งมีความหมายว่า ให้คู่บ่าวสาวมีความรักยืนยาว
เมื่อมีอุปสรรคใด ๆ ก็ให้สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี
ขนมลอดช่องที่อร่อยนั้น ตัวลอดช่องจะต้องมีลักษณะเหนียว หนึบ หอมใบเตย และ มีกลิ่นน้ำปูนใส ส่วนน้ำกะทิต้องคั้นจากมะพร้าวสด ๆ
และใช้น้ำน้อยในการคั้น ก็จะได้หัวกะทิที่สด มัน และ หอม ส่วนน้ำตาลนั้น เราสามารถใช้น้ำตาลมะพร้าว หรือ น้ำตาลปี๊บ ก็ได้
เคล็ดลับในการทำขนมลอดช่องนั้น มีอยู่สองอย่าง คือ
- ตัวแป้งต้องกวนให้สุก และ เวลากดเป็นเส้นตัวแป้งต้องร้อน อย่าทิ้งให้แป้งเย็น
- น้ำกะทิให้ใช้มือละลายน้ำตาลให้เข้ากัน และไม่ต้องตั้งไฟ
ส่วนผสมน้ำกะทิ
* น้ำตาลมะพร้าว 2 1/2 ถ้วย
* หัวกะทิ 2 1/2 ถ้วย
* เกลือป่น 1 ช้อนชา
* เทียนหอม
ส่วนผสมลอดช่อง
* แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย
* แป้งท้าวยายม่อม 1/2 ถ้วย
* แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำปูนแดงใส 5 ถ้วย (ผสม ปูนแดง 2-3 ช้อนโต๊ะในน้ำ 5 ถ้วย)
* น้ำใบเตยคั้นเข้มข้น 3/4 ถ้วย (ใบเตยประมาณ 15 ใบ)
แก้ไขเมื่อ 08 มี.ค. 54 18:37:20
แก้ไขเมื่อ 07 มี.ค. 54 23:43:47
แก้ไขเมื่อ 07 มี.ค. 54 23:38:16
แก้ไขเมื่อ 07 มี.ค. 54 22:14:54