|
เค้าเรียกน้ำชุบหยำ คะ
คนใต้เรียกน้ำพริกว่า "น้ำชุบ"
น้ำพริกในภาษาภาคใต้เรียกว่า น้ำชุบ ตามความหมายพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ หมายถึงน้ำพริก มีหลายชนิด ถ้าจัดแบ่งโดยใช้กระบวนการและวิธีการในการทำน้ำชุบเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง สามารถแบ่งได้ ๓ ประเภทคือ
๑.ประเภทน้ำชุบหยำ หรือน้ำพริกขยำ หรือที่นิยมเรียกกันว่า น้ำชุบโจร วิธีการทำน้ำชุบประเภทนี้คือการใช้มือขยำส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน เนื้อน้ำชุบมีลักษณะเหลวกว่าน้ำชุบประเภทอื่น น้ำชุบหยำเป็นน้ำชุบที่เน้นความเรียบง่าย สะดวก รวดเร็ว เป็นน้ำชุบที่นิยมมากที่สุดทางฝั่งอันดามัน มีเคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่การหยำ คือต้องหยำนานจนน้ำชุบขึ้นเป็นฟองหรือขึ้นเปลือก ถ้าขึ้นฟองมากจะอร่อยมาก คือส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกันนั่นเอง น้ำชุบหยำมีหลายสูตรด้วยกัน แบ่งเป็น ๒ ประเภทหลักคือ น้ำชุบหยำที่ใส่เคย กับน้ำชุบหยำที่ไม่ใส่เคย
๒.น้ำชุบเยาะหรือน้ำพริกตำ ใช้วิธีตำด้วยครก ชาวบ้านใช้ครกหินในการตำไม่ได้ใช้ครกไม้ ลักษณะน้ำชุบเยาะจะแห้งกว่าน้ำชุบหยำ
๓.น้ำชุบผัด,น้ำชุบคั่วหรือน้ำชุบเคี่ยว เป็นน้ำชุบประเภทที่ต้องใช้ความร้อนปรุงให้สุกมีทั้งการผัดโดยการใส่น้ำมันพืช น้ำมันหมูหรือใช้การเคี่ยวกะทิผสมกับเครื่องปรุงและผัดให้เข้ากันจนสุกน้ำชุบสูตรดั้งเดิมในภาคใต้จะเน้นความเรียบง่าย สะดวกและรวดเร็ว เป็นหลัก ชุมชนฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่นิยมทำน้ำชุบหยำ (น้ำพริกขยำ) เป็นน้ำชุบหลักมากกว่าน้ำชุบประเภทอื่น ๆ มีการทำเกือบทุกมื้อ สูตรน้ำชุบหยำแบบดั้งเดิม จะประกอบด้วย พริก กะปิและมะขามเปียกเท่านั้น นำมาขยำรวมกันเติมน้ำนิดหน่อย ก็เรียกว่าเป็นน้ำพริกแล้ว บางชุมชนเล่าว่า บางครั้งก็นำมาขยำในจานข้าวเลยทีเดียว ต่อมาก็มีการเพิ่มส่วนผสมหรือองค์ประกอบอื่น ๆ เข้ามามากขึ้นตามทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ปลาหวาน (ปลาย่าง) ปลากะตัก กุ้งสดหรือกุ้งย่าง (กุ้งเสียบ) หอมแดง
แก้ไขเมื่อ 03 เม.ย. 54 12:19:42
จากคุณ |
:
JACQUETTE
|
เขียนเมื่อ |
:
3 เม.ย. 54 12:17:36
|
|
|
|
|