|
คห 22 ขออนุญาตแยังว่า research ทั้งสองผิดประเด็นกับที่คุณกล่าวไว้ใน คห 9 นะครับ research ทั้งสองที่คุณอ้างมานั้นกล่าวถึง msg กับอาการ MSG symptom complex ที่เกิดขึ้นว่าไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ที่คุณเขียนมาว่ากินได้มากเท่าที่ต้องการและกินแล้วไม่เป็นอันตรายนั้นเป็นประเด็นที่ผมแย้ง
ใน paper ฉบับที่สองนั้นถ้าอ่านให้ดีจะพบว่า paper นี้ไม่ใช่ขององค์การอาหารและยาของสหรัฐนะครับ แต่เป็น report ที่ทาง FDA ถามไปยัง Federation of American Society for experimental biology (FASEB) ซึ่งเป็นคนละองค์กรกันให้เป็นผู้ตอบคำถาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องของผลของ msg ที่มีผลต่อระบบประสาททำให้เกิดอาการ msg symptom complex เท่านั้นไม่ได้กล่าวถึงผลในอวัยวะอื่นๆ เลย
ซึ่งใน report ของ FASEB จะมีบางข้อที่กล่าวไว้่ว่าไม่มีหลักฐานว่า msg เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาทหลาย ๆ โรค แต่ในขณะเดียวกันบางหัวข้อก็กล่าวไว้ชัดเจนว่า ปริมาณอาหารที่มี glutamate อยู่ปกติจะน้อยกว่า 0.5 กรัม แต่ถ้ากินเข้าไปปริมาณมาก ๆ เช่นในซุป ก็อาจทำให้เกิด MSG symptom complex ได้
"A typical serving of glutamate-treated food contains less than 0.5 grams of MSG. A reaction is most likely if the MSG is eaten in a large quantity or in a liquid, such as a clear soup."
ประโยคที่คุณอ้างใน คห22 ว่า
"A 1995 report from the Federation of American Societies for Experimental Biology (FASEB), an independent body of scientists, helps put these safety concerns into perspective and reaffirms the Food and Drug Administration's belief that MSG and related substances are safe food ingredients for most people when eaten at customary levels."
เป็นความเห็นของคนที่เขียนข่าวเขาสรุปนะครับ ไม่ใช่ตัว report สรุป ผู้เขียนเขาสรุปว่า paper ของ FASEB ฉบับนี้ช่วยยืนยันความเห็นของ FDA ว่า msg เป็น safe food ingredients เมื่อกินใน customary levels แต่ขณะเดียวกันผู้เขียน ยังมีประโยคที่เขาเขียนว่าขนาด FDA ยังไม่ได้ fully analyzed report นี้ด้วยซ้ำก็ยังเห็นว่าจะต้องมีการติดฉลากว่าอาหารนี้มี glutamate เลย ถ้าไม่เป็นอันตรายจริงทำไมต้องติดฉลากหละครับ
"Although FDA has not fully analyzed the FASEB report, the agency believes that the report provides the basis to require glutamate labeling. FDA will propose that foods containing significant amounts of free glutamate (not bound in protein along with other amino acids) declare glutamate on the label."
เมื่อดูวิธีการที่ FASEB ทำ report ฉบับดังกล่าว
"FASEB held a two-day meeting and convened an expert panel that thoroughly reviewed all the available scientific literature on this issue."
FASEB ใช้เวลาสองวันจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อ review งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เท่านั้นนะครับ ไม่ได้มีการทดลองอะไรด้วยตนเองเลยแม้แต่ paper เดียว พูดง่าย ๆ คือ เอางานที่ชาวบ้านเขาทำอยู่แล้วมาดูแล้วก็สรุปออกมา อย่างนี้ใช้ความเห็นส่วนตัวและความรู้สึกหรือเปล่าครับ
การที่คุณบอกไว้ในคห 31 ว่าเชื่อในงานวิจัยที่เป็นมาตรฐาน ก็ต้องตีความงานวิจัยให้แตกด้วยครับ ไม่ใช่อ่านแต่สรุปมา
กลับมาว่าถึงกระทู้นี้ใหม่ จขกท สงสัยว่ากินผงชูรสที่ละหลายช้อนโต๊ะแบบนี้ไม่อันตรายเหรอ
มีหลายการทดลองในหนูครับว่ามีการเปลี่ยนแปลงจริง อันนี้ผมเอาเฉพาะในไตนะครับ http://www.ispub.com/journal/the_internet_journal_of_health/volume_6_number_2_7/article_printable/histological_studies_of_the_effects_of_monosodium_glutamate_on_the_kidney_of_adult_wistar_rats.html
หรือที่ http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0753332205001927
รวมทั้งบทความของอายุรแพทย์และแพทย์ทางเลือกอย่าง อ.หมอบรรจบด้วย ซึ่งก็อ้างงานวิจัยไว้อย่างชัดเจนแล้ว http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/X3640059/X3640059.html
ที่ผมอยากถามก็คือสมาชิกหลายท่านยอมรับแล้วว่ากินเค็มเกินไปเป็นสิ่งไม่ดี ธาตุโซเดียมที่อยู่ในเกลือกับธาตุโซเดียมที่มีอยู่ใน ผงชูรสก็เป็นชนิดเดียวกันและเป็นสาเหตุให้ไตต้องทำงานหนักเพื่อขับออกมาจากร่างกาย (อันนี้ไม่ต้องอ้างงานวิจัยแล้วนะครับแพทย์ทั่วโลกยอมรับแล้ว) แล้วเราจะบริโภคผงชูรสโดยบอกว่าไม่มีอันตรายได้เหรอ
ก็อย่างคห32 บอกหละครับใครใคร่กินก็กิน ใครไม่ใคร่กินก็ไม่ต้องกิน เถียงกันก็ไม่จบหรอกครับ ร่างกายใครก็ร่างกายมัน เวลาเป็นโรคขึ้นมาก็รักษากันเอง ใครมีญาติพี่น้องเป็นไตวายคงรู้นะครับว่าลำบากแค่ไหนกับการต้องมาล้างไตอาทิตย์ละสองวัน สามวัน ทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
แก้ไขเมื่อ 09 พ.ค. 54 04:04:17
จากคุณ |
:
morpae
|
เขียนเมื่อ |
:
9 พ.ค. 54 03:48:50
|
|
|
|
|