|
ขอนอกเรื่องอาหารสักนิด "หัวมังกุท้ายมังกร หมายความว่า ไม่เข้ากัน ขัดกันในตัว ทรวดทรงเรือนร่างต่างลักษณะไม่กลมกลืนกันตามที่ควรเป็น ฯลฯ คำว่า "มังกุ" ได้พบหนังสือเก่าแปลว่า "เรือต่อ" ชนิดหนึ่งเป็นรูปยาว กับแปลว่าเป็นชื่อสัตว์นิยายชนิดหนึ่ง ไม่บอกว่ารูปร่างอย่างไร สันนิษฐานตามนี้ ทำให้เข้าใจว่าเรือมังกุนั้นคงจะมีหัวเป็นรูปสัตว์ ดังในเห่เรือว่า "นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร" สมัยโบราณคงจะมีเรือชนิดหนึ่ง หัวเรือทำเป็นรูปสัตว์ที่เรียก "มังกุ" แต่ท้ายเรือทำเป็นรูปอย่างมังกร รูปร่างลักษณะเรือคงจะดูแปลก จึงได้เรียก "หัวมังกุท้ายมังกร" ต่อมาคำ "หัวมังกุท้ายมังกร" เลยกลายเป็นสำนวนหมายถึงอะไรที่ในตัวมีลักษณะต่างกัน ไม่เป็นไปตามที่ควรเป็น คือ เข้ากันไม่ได้ ขัดกัน ขืนกัน ไม่กลมกลืนกัน..."
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เก็บคำ "มังกุ" ไว้ ๒ ความหมาย (หน้า ๖๗๗) คือ
"มังกุ ๑ น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า เช่น เอาหัวเป็นมังกุ เอาท้ายเป็นมังกร, แต่มักใช้เพี้ยนไปเป็น มงกุฏ". "มังกุ ๒ ว. เก้อ, กระดาก. (ป.)." และเก็บคำ "มังกร" ไว้ ๓ ความหมาย (หน้า ๖๓๖-๖๓๗) คือ "มังกร ๑ น. สัตว์ในนิยายจีน รูปร่างคล้ายงู แต่มีตีนมีเขา; ชื่อดาวราศีที่ ๑๐ ใน ๑๒ ราศี." "มังกร ๒ น. ชื่อปลาไหลทะเลสกุล Muraenesox..." "มังกร ๓ น. ชื่อกุ้งทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Scyllarus..."
ฉะนั้น สำนวนที่ถูกจึงควรจะพูดว่า "หัวมังกุท้ายมังกร" เพราะทั้ง "มังกุ" และ "มังกร" ต่างก็เป็นสัตว์ในนิยายเหมือนกัน แต่เป็นคนละชนิดกัน เมื่อมาอยู่รวมกันจึงทำให้ไม่กลมกลืนกัน เข้ากันไม่ได้ หากพูดว่า "หัวมงกุฎท้ายมังกร" ก็จะเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าสำนวนนี้ใช้ในความหมายว่า ไม่เข้ากัน เหมือนอย่างมังกรสวมมงกุฎ ทำให้ความหมายเพี้ยนไปจากที่มาเดิม
จากคุณ |
:
หนูขนทอง
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ส.ค. 54 17:10:34
|
|
|
|
|