|
อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
หากไตมีความบกพร่องในหน้าที่ 3 ประการที่กล่าวมา การขจัดของเสียจำพวกโปรตีน น้ำ และเกลือแร่จะขาดความสมดุล ซึ่งในผู้ป่วยบางรายก็จะมีอาการบ่งชี้ แต่บางรายก็ไม่แสดงอาการ ด้วยเหตุนี้การตรวจเลือด และปัสสาวะจึงมีความสำคัญมาก
อาหารโปรตีนต่ำ 40 กรัมโปรตีนต่อวัน ร่วมกับเสริมกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด หรืออาหารโปรตีนสูง 60-75 กรัมโปรตีนต่อวัน พยายามใช้ไข่ขาว และปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีน หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ และกะทิ งดอาหารเค็ม จำกัดน้ำ งดผลไม้ ยกเว้นเช้าวันฟอกเลือด งดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เมล็ดพืช นมสด เนย ไข่แดง รับประทานวิตามินบีรวม , ซี และกรดโฟลิก รับประทาน
อาหารวิตามินดีชนิด 1-alpha hydrocylated form ตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงวิตามินเอ
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรังมีหลายระยะ ระยะเริ่มแรกอาการจะน้อยมาก แต่เมื่อเป็นจนถึงระยะปานกลาง และระยะรุนแรง อาการจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะเพิ่มพูนจนไปถึงไตวายระยะสุดท้ายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้น นอกจากผู้ป่วยจะได้รับความทุกข์ทรมานแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นจึงควรชะลอการดำเนินของโรคไตวายเรื้อรังด้วยการควบคุมอาหาร
อาหารจำกัดโซเดียม
ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง เมื่อสั่งให้ "กินอาหารจำกัดโซเดียม" หมายความว่าจะต้องงดอาหารที่มีโซเดียมมาก
อาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็ม เพราะมีโซเดียมคลอไรด์ ( เกลือ) มาก เช่น • เกลือป่น เกลือเม็ด • น้ำปลา น้ำบูดู ซอสหอย ซอสเนื้อ ซอสถั่ว ซีอิ๊ว • ซอสที่มีรสอื่นนำ มีรสเค็มแผง เช่น ซอสพริก (มีรสเปรี้ยว และเผ็ดนำ ความจริงมีรสเค็มด้วย) ซอสมะเขือเทศ ซอสรสเปรี้ยว ๆ เป็นต้น • อาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ผักดองเค็ม ผลไม้ดองเค็ม • อาหารดองเปรี้ยว เช่น หลาเจ่า แหนม ไส้กรอกอีสาน หัวหอมดอง หน่อไม้ดอง ผัดกาดเขียวดองเปรียว ผักดองสามรส กระเทียมดองสามรส เป็นต้น • อาหารที่มีรสหวาน และเค็มจัด เช่น ปลาหวาน กุ้งหวาน หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น
อาหารจำกัดโปแตสเซียม
การจัดอาหารให้มีโปแตสเซียมน้อย กระทำได้ยากกว่าการจัดให้มีโซเดียมน้อย เพราะธาติโปแตสเซียมมีในอาหารทั่วไปทั้งสัตว์ และพืชต่างจากโซเดียม ซึ่งมีมากแต่ในสัตว์ (เช่น เนื้อ นม ไข่) อาหารที่มีโปแตสเซียมมาก คือ
พวกเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ และนม พวกผัก ได้แก่ หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่วดำ และถั่วปากอ้า มีมากเป็นพิเศษ พวกผลไม้ ได้แก่ กล้วย ส้ม และน้ำส้มคั้น แตงโม แตงหอม มะละกอ ลูกท้อ ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน เบ็ดเตล็ด กากน้ำตาล ช็อกโกแล็ต มะพร้าวขูด
ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยต้องกินอาหารจำกัดโปแตสเซียม จึงต้องจำกัดอาหารทั้งพวกเนื้อสัตว์ พวกผัก และผลไม้ประเภทที่มีโปแตสเซียมสูงๆ
อาหารจำกัดโปรตีน มีประโยชน์อย่างไร
อาหารจำกัดโปรตีนจะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของไต และช่วยลดระดับของเสียที่คั่งอยู่ในร่างกายผู้ป่วย ทำให้อาการบางอย่างของโรคไตวายลดลง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในปาก เป็นต้น
อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ (ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา) เครื่องในสัตว์ ไข่ นม และถั่ว
คำว่า "จำกัด" ในที่นี้หมายถึง ให้รับประทานแต่น้อย แต่ไม่ได้ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด คือให้รับประทานได้วันละ 20-25 กรัม นั่นคือ เนื้อสัตว์ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ หรือหมูย่างประมาณ 4 ไม้
การจำกัดโปรตีนไม่ให้เกิน 20-25 กรัมต่อวัน ต้องใช้ควบคู่กับการรับประทาน คู่เหมือนของกรดอะมิโนจำเป็น (KETOANALOGUE OF ESSENTIAL AMINO ACID, KA) หรือกรดอะมิโนจำเป็น (ESSENTIAL AMINO ACID) เสริมในปริมาณที่แพทย์แนะนำ ห้ามผู้ป่วยนำไปใช้เองโดยไม่มีการรับประทาน EAA หรือ KA เสริม
เงื่อนไขในการจำกัดอาหารโปรตีน
ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในระยะเริ่มแรก ถึงระยะรุนแรง ( คือผู้ป่วยที่มีค่าความเข้มข้นของครีเอตินีนในเซรุ่มประมาณ 2-8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) เท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตวาย (HEMODIALYSIS) หรือวิธีล้างไตทางช่องท้อง (PERITONEAL DIALYSIS)
การจำกัดปริมาณน้ำ
หากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันให้เหมาะสม ตามวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ
ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
อาการเริ่มแรกที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ อาการบวมที่หน้าหรือเท้า ปัสสาวะเป็นสีคล้ำ สีน้ำล้างเนื้อ หรือเป็นเลือด ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืนถ่ายปัสสาวะมากกว่า 3 ครั้ง ปวดบริเวณหลัง ชายโครง ปวดหรือเวียนศีรษะ เมื่อมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์
การรักษาโรคไตนั้นนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้ว การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคไตส่วนใหญ่ใช้เวลารักษานาน ผู้ป่วยจึงไม่ควรเพิ่ม ลด หยุดยา หรือไปซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com
ลองศึกษาดูเลยคับ
จากคุณ |
:
pompoo
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ส.ค. 54 23:26:08
|
|
|
|
|