|
เริ่มที่การแปลงสูตรกันก่อนนะครับ
การแปลงด้วยเทคนิคอันนี้เหมาะสำหรับท่านที่ไม่อยากทำทีละเยอะๆ หรือทำครึ่งสูตร/x2/x3 แล้วประสบปัญหาได้ออกมามากหรือน้อยเกินความต้องการ การเปรียบเทียบปริมาตรกับต้นฉบับจะทำให้ส่วนผสมที่ได้พอดีกับที่เราต้องการ ไม่ขาดไม่เกินแน่นอนครับ :D
ปัญหาของวิธีนี้อาจจะพบกับความยุ่งยากในการคำนวณอยู่บ้าง รวมไปถึงการชั่งตวงวัดที่ต้องละเอียดขึ้น ก็ขอให้ทุกท่านอย่าเพิ่งยอมแพ้ ^_^ และถ้ามีตราชั่งดิจิตอลจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการชั่งของ ช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้นมากครับ
ของผมจะใช้ตราชั่งดิจิตอลขนาดพกพา (ใส่กระเป๋าเสื้อได้) ราคาประมาณ 700-800 ทีแรกซื้อมาใช้ชั่งจุลินทรีย์กับยาที่ใช้ในบ่อปลาคาร์ฟ ไปๆ มาๆ เอามาใช้ในห้องครัวซะมากกว่าแล้วหละ :P
------------------------------------------------------------- ต้นฉบับของคุณครูแม่สลิ่มจะใช้พิมพ์ 3 ปอนด์ (8 นิ้ว) เค้กสูง 5 ซม. (2 นิ้ว) รัศมี 4 นิ้ว
ปรกตินั้นผมเคยคิดว่า สูตร 3 ปอนด์ อยากลดเหลือ 1 ปอนด์ ก็เอาส่วนผสมทั้งหมดหาร 3 ซึ่งจริงๆ จะใช้การไม่ได้เลยหละ ลองมาเปรียบเทียบปริมาตรกันดูนะครับ
---------------------------------------------------------- edit : เนื่องจากตอนแรกเขียนแบบง่วงๆ เลยอธิบายได้ไม่กระจ่าง เลยขอเอาส่วนที่แก้ไขจาก คห.ที่ 14 ขึ้นมาไว้ตรงนี้แทนนะครับ ----------------------------------------------------------
วิธีทำ 1. คิดปริมาตรของเค้กตามสูตรมาตรฐาน คือ จำเป็นต้องทราบความสูงของเค้ก อย่างคุณครูแม่สลิ่มจะเอาไม้บรรทัดไว้เลย คือ 5 ซม. (2นิ้ว) พิมพ์ที่ใช้คือ 8 นิ้ว(มีรัศมี 4 นิ้ว)
ปริมาตรของเค้ก = 22/7 * รัศมีของพิมพ์ยกกำลังสอง * ความสูงของเค้ก = 22/7 * 4 * 4 * 2 = 100.57 ลบ.นิ้ว.
2. คิดปริมาตรของพิมพ์ที่เราจะใส่ โดยคงความสูงเอาไว้เท่าเดิมคือ 2 นิ้ว ซึ่งพิมพ์ของผมคือ 6 นิ้ว (มีรัศมี 3 นิ้ว) ปริมาตรของเค้กของพิมพ์ที่เราจะใช้ = 22/7 * 3 * 3 * 2 = 56.57 ลบ.นิ้ว.
3. เทียบบัญญัติไตรยางค์ว่าพิมพ์ใหม่มีขนาดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของพิมพ์เดิม ปริมาตรของสูตรมาตรฐาน 100.57 ลบ.นิ้ว คิดเป็น 100% ปริมาตรของพิมพ์หกนิ้ว 56.57 ลบ.นิ้ว คิดเป็น 100/100.57 * 56.57
= 56.24%
หมายความว่า พิมพ์ 6 นิ้ว มีปริมาตรเพียงแค่ 56.24% ของพิมพ์ 8 นิ้ว (ที่ความสูงของเค้ก 2 นิ้ว)
4. ดังนั้น ส่วนประกอบทุกอย่าง จะมีสัดส่วนเหลือแค่ 56.24% จากสูตรปรกติ จะได้ว่า
เดิม แป้ง 100g พอใช้กับพิมพ์ 6 นิ้ว จะใช้แค่เพียง 56.24% ของ 100g = 56.24/100 * 100g = 56.24g (อนุโลมให้เป็น 60g)
เดิม น้ำตาล 80g พอใช้กับพิมพ์ 6 นิ้ว จะใช้เพียงแค่ 56.24% ของ 80g แต่ผมประมาณว่าแป้งใช้ 60g ไปแล้ว ซึ่งคิดเป็น 60% ของ 100g จึงใช้ 60% กับส่วนประกอบที่เหลือทั้งหมด เท่ากับว่า น้ำตาลใช้เพียงแค่ 60% ของ 80g
= 60/100 * 80 = 48g (ถ้าตวงไม่สะดวก จะ 45 หรือ 50 ก็ได้นะ)
5. ไข่ไก่ทั้งเปลือก ข้อนี้จะคิดยากนิดนึง เดิมใช้ 3 ฟอง เบอร์ 0 ซึ่งเบอร์ 0 มีน้ำหนัก 70-75g ผมเลยนำค่าเฉลี่ยมาคิดคือ 72.5g จะได้ว่า
ไข่ไก่ของสูตรต้นฉบับหนัก 72.5 * 3 = 217.5g
ไข่ไก่ที่จะใช้ในสูตรของพิมพ์ 6 นิ้ว จะใช้แค่เพียง 60% ของสูตรต้นฉบับจะได้ว่า = 60/100 * 217.5g = 130.5g
เลขที่ได้ออกมาต้องนำมาดูว่า จะแบ่งส่วนอย่างไรดี ให้พอดีกับน้ำหนักมาตรฐานของไข่ ซึ่งตรงนี้หละ ยากเลย เพราะบางครั้งก็ไม่ลงตัวจริงๆ (แต่โชคดีที่รอบนี้ลงตัว) สังเกตว่า 130.5g นำมาหาร 2 (ฟอง) จะได้ 65.25g
หมายความว่าน้ำหนักต่อฟองคือ 65.25g ซึ่งตรงกับเบอร์ 1 หรือ 2 ก็ได้ (แถวบ้านผม เบอร์ 2 เท่าที่ลองชั่งขำๆ ส่วนใหญ่หนัก 62-66g เลยคิดถัวๆ ไป :P)
6. ผงฟู ปรกติ ใช้ 1 ชช. แต่คราวนี้พิมพ์ 6 นิ้วเหลือแค่ 60% เทียบได้ว่า
100% ใช้ผงฟู 1 ชช. 60% ใช้ผงฟู = 6/10 ชช. = 0.6 ชช.
ซึ่งเลขที่ได้ออกมาก็ต้องมาคิดเศษส่วนให้พอใกล้เคียงกับช้อนตวงที่เรามีมากที่สุด 6/10
บ้านผมมีช้อนตวงตั้งแต่ 1/8,1/4,/1/2 ดังนั้นถ้าผมใช้ 1/2+1/8 = 0.625 ชช. มันก็อาจจะเกินไปนิดนึง ผมถึงต้องเขียนคำว่า "หย่อน" เอาไว้ว่า ให้ปาดแบบบุ๋มลงไปนิดนึง เพราะช้อนที่ตวงได้ เยอะกว่าความเป็นจริง 0.025 ชช. แต่เอาเข้าจริงๆ ถ้าไม่คิดมาก ก็ตวงไปเต็มก็ได้ครับ :P
7. น้ำ นมข้นจืด SP น้ำมัน/เนยละลาย วานิลลา อันนี้ก็เอา 60% เข้าคูณกับสูตรมาตรฐานหมดทุกตัว หน่วยเป็นกรัม (555 เริ่มขี้เกียจ อยากให้ทุกท่านลองทำมั่ง) ปัดขึ้นปัดลงเล็กน้อยเพื่อให้ตวงง่าย บางท่านมีตราชั่งดิจิตอลแบบผมก็แล้วไป บางท่านไม่มีก็จะเหนื่อยหน่อย หลักการนี้นำไปใช้กับสูตรแบบตวงก็ได้นะครับ
ไม่ทราบว่าอธิบายแบบนี้พอจะดีขึ้นไหมครับ ตอนนี้ตื่นละ ไม่เหมือนเมื่อคืน ง่วงชิปเป๋งเลย >_< ไปก่อนละค้าบ
แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 54 15:22:01
แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 54 15:19:00
แก้ไขเมื่อ 24 ก.ย. 54 23:48:09
แก้ไขเมื่อ 24 ก.ย. 54 23:46:52
จากคุณ |
:
mrcomsci
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ก.ย. 54 23:45:07
|
|
|
|
|