 |
ส่วนตัวผมคิดว่า มีคำว่า ไข่ออนเซ็น ขึ้นมานี่ดีนะครับ จะได้ใช้วัดระดับการสั่งได้ง่ายๆ ครับ
เพราะผมว่าไข่ลวกแบบไทยๆ นั้นเรียกได้ว่า ไข่สะดุ้งน้ำร้อนครับ ไข่ขาวยังไม่สุกยังเป็นน้ำใสๆอยู่บางส่วนทำให้ระบบย่อยอาหารก็ทำงานหนัก คุณลองนึกถึงคนทั่วไป เวลาสั่งไข่ลวกแบบไม่บอกว่าลวกนานๆดูซิครับ เกือบ 100% ทำมาแบบนี้ทั้งนั้น
ส่วนไข่ออนเซ็น นั้นไข่ขาวสุกเต็มที่เพราะใช้ความร้อนต่ำแต่เพิ่มเวลา ซึ่งก็เป็นวิธีการทำแบบลักษณะ Sous Vide โดยเปลือกไข่ทำหน้าที่แทน ถุงพลาสติกอย่างหนา ทำให้ได้โปรทีนที่มีลักษณะขุ่นใส โดยที่ไข่แดงกลายเป็นยางมะตูม และการทานไข่ขาวที่สุกย่อมดีต่อระบบย่อยอาหารของร่างกาย
ไข่ออนเซ็น = ไข่ลวกน้ำพุร้อน อีกหน่อยพอฮิตมากๆ เวลาเรา ต้องการสั่งแบบไข่ขาวสุก ก็สั่งว่าขอไข่ออนเซ็น ส่วนใครชอบแบบดั่งเดิมก็ สั่งไข่ลวก ครับ
โดยส่วนตัวคิดว่า คำว่าไข่ลวกจะไม่หายไปจากสังคมไทย ตราบนานเท่านานครับ^^
ส่วนขนมไทยนั้น เนื่องจากลักษณะของชาวสยามมีความละเมียดละไม ในการผสมผสานรสชาติ เพราะเรามีวัตถุดิบอยู่มากมาย คนต่างชาติเขา อิจฉาเมืองร้อนแบบบ้านเรานะครับ คิดดูคนสยามจะทานอาหารประเภท คาร์โบไฮเตรด แค่เอาข้าวใส่หม้อแล้วต้มแล้วรินน้ำออก ก็ได้ข้าวมาทาน
แต่คนต่างชาติจะทานพวกคาร์โบไฮเดรต ต้องนำข้าวสาลีมาบดแล้วต้อง มาหมักกับยีสต์แล้วนำไปอบกว่าจะได้ทานต้องใช้เวลาพอสมควรครับ
ดังนั้น พอเราเปิดประเทศซึ่งก็เหมือนกับหลายๆประเทศในเอเชียด้วยกัน ที่คนยุโรปและคนในเอเชียเดินทางไปมาติดต่อกัน วัฒนธรรมจึงค่อยๆ ผสมผสานเข้าด้วยกันจนบางครั้งก็ถูกดัดแปลงไป และชื่อเรียกก็ค่อยๆ ปรับไปจนชินกับภาษาของเรา จริงๆไม่ต้องคิดมากพวกชื่อหรือใครทำก่อน ใครทำหลัง แต่ควรจะปรับปรุงให้เข้ายุคเข้าสมัย ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ขนมฝรั่งต่างๆ ก็กลายมาเป็นขนมของชาวญี่ปุ่นได้อย่างลงตัวและสวยงาม เช่น kuri anpan, Unagi pie, Castella ฯลฯ
จากคุณ |
:
นายหมีพูห์
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ส.ค. 55 11:08:19
|
|
|
|
 |