|
ในหนังสือเล่มนี้มีเมนูแปลก ๆ ชื่อก็แปลกจนน่าสนใจ เมนูน่าสนใจให้ลองทำอีกมากมาย อาทิ ห่อหมกถั่วเสวย ของข้าหลวงน้อย, ฉู่ฉี่เมืองปราณ ของนางศรี ชุมสาย ณ อยุธยา, ไก่ต้มจับจ้าว ของ มรว. หญิงปราณี สนิทวงศ์, ข้าวผัดเลี้ยงเทศ ของ ท้าววนิดาพิจาริณี แกงแห้ง ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท, เมี่ยงคำสะท้อน, กล้วยน้ำว้าทรงเครื่อง ใส่หัวโคนม(ครีม) คาราเมล
ตำราเล่มนี้ยังใช้คำที่เรียกส่วนผสมต่าง ๆ ที่ฟังแล้วนึกภาพไม่ออก ไม่คุ้นเคยจริง ๆ อาทิ น้ำสะเออะ, น้ำเคยดี, เยื่อเคย, ส้มเหม็น, เนื้อโค, พริกมูลนก, พริกมูลหนู, ถั่วยี่สง, น้ำตาลหม้อ, มะเขือจานอ่อน, ใบผักชีญวน [ลาวเรียกหอมห้อ] พริกสวนนอก [พริกเหลือง], มะเขือเปราะ หรือมะเขือกะ[หออำ]แพะ, ใบโคนทีสอ, ใบดีปลี, เปราะแห้ง, เถ้าแกลบ, หัวผักกาดแดง [Beetroot], หัวผักกาดเหลือง[Carrot] น้ำเหล้าข้าวเหนียว [เหล้าแดงจีน], น้ำปลาญี่ปุ่น, น้ำปลาจีน, น้ำปลาซีอิ๊วอย่างข้น, น้ำซอส หมายถึง [Worcester sauce] เนยแข็งป่น [ขอเดาว่า Mozzarella Cheese], หัวโคนม น่าจะหมายถึงนมข้นจืด หรือนมข้น ไม่ค่อยแน่ใจ เมนูอาหารคาวส่วนใหญ่นิยมบริโภค เนื้อนางเก้ง, เนื้อกวาง, เนื้อกระต่าย, เนื้อโค และเนื้อหมู ถ้าเป็นเนื้อไก่จะใช้เนื้อไก่บ้านเป็นส่วนใหญ่
จากคุณ |
:
บ่งบ๊ง
|
เขียนเมื่อ |
:
29 พ.ย. 55 13:34:59
|
|
|
|
|