ความคิดเห็นที่ 3
ว่านน้ำ
ชื่อพฤกษศาสตร์ Acorus calamus L.
วงศ์ ACORACEAE
Common name : Sweet flag, Calamus, Flag-root, Beewort
ว่านน้ำ เป็นพรรณไม้ชอบขึ้นอยู่ชายน้ำ หรือธารน้ำไหล มีอายุหลายปี สูง 1-2 ม. มีเหง้าใต้ดินที่ทอดไปตามพื้นดินและแตกต้นใหม่ขึ้นได้ เหง้ามีกลิ่นหอม รูปทรงกระบอกค่อนข้างแบนเล็กน้อย ใบรูปแคบยาวคล้ายดาบ เรียงสลับซ้าย-ขวา ยาว 1-1.50 ม. กว้าง 1.5-3.5 ซม. ขอบใบเป็นลอนคลื่น เส้นใบขนานตามความยาวของใบ สีเขียวเข้ม ฉ่ำน้ำ ดอกเป็นดอกช่อเชิงลดสีเขียว รูปทรงกระบอกยาว 5-10 ซม. มีกาบห่อหุ้ม มีดอกย่อยจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่ง ชูขึ้น ก้านช่อดอกยาว 30-50 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2-2 ซม. มีกาบหุ้มดอก รูปดาบเช่นเดียวกับกาบใบ ยาว 15-75 ซม. ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปไข่ เกือบกลม ปลายกลีบโค้งงอเข้าหาช่อ เกสรเพศผู้จำนวน 6 อัน ก้านชูเกสรเป็นเส้นยาว รังไข่รูปกรวย ภายในมี 2-3 ช่อง ปลายเกสรเพศเมียมีขนาดเล็กมาก มีออวุลหลายช่อง ผลเป็นชนิดผลสดมีเนื้อ มีเมล็ด 2-4 เมล็ด ๆ รูปไข่แกมขอบขนาน มีไมโครไพล์
ว่านน้ำ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศตามริมห้วย ริมลำธาร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดเลย ถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร ในต่าง-ประเทศพบในเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 เมตร ศรีลังกา, อินเดีย, สิกขิม, ประเทศแถบอินโดจีน, อินโดนีเซีย ถึงนิวกินี (5)
สารสำคัญ เหง้าใต้ดินให้น้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วย Asaryl aldehyde และ Acorin; alkaloids ได้แก่ Asarone, β-Asarone และสารอื่น ๆ (4, 5, 7, 23)
สรรพคุณ ว่านน้ำถูกใช้เป็นยากันมาตั้งแต่สมัย Hippocrates (460-377 ? B.C.) ซึ่งเป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์สมัยก่อนคริสต์กาล เหง้าและรากใต้ดินจะมีกลิ่นหอมมาก เมื่อเคี้ยวสด ๆ จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอนอย่างอ่อน ๆ ในทางยาใช้เข้าเครื่องยาเป็นยาบำรุงร่างกาย, บำรุงประสาท, ช่วยย่อย, บำรุงธาตุ, ขับระดู, แก้ปวดท้อง, ขับลม, สงบประสาท และถ้าใช้ในขนาดสูง ๆ จะทำให้อาเจียน (4, 5, 7, 10, 11, 23)
http://www.forest.go.th/Botany/main/Research/Research_papers/Psychotropic%C2%A0%20Plants/Acorus%20calamus.htm
จากคุณ :
ว่านน้ำ
- [
13 ม.ค. 47 17:18:15
]
|
|
|