ความคิดเห็นที่ 2
- ผสมน้ำยากันซึมในปูนซีเมนต์ขณะเทพื้นห้องน้ำ - พื้นห้องน้ำต้องหนาอย่างต่ำ 10 ซม. (บางกว่านี้น้ำซึมได้) - ตอนช่างกำลังทำห้องน้ำ ก็ดูแลใกล้ชิดหน่อย เวลาเทปูนซีเมนต์ ให้เททีเดียวจนครบทั้งพื้น อย่าให้มีเศษขยะ เศษกระดาษ ฯลฯ ฝังตัวในพื้นซีเมนต์ - ทำ slope ให้มากหน่อยและเรียบ - ปูกระเบื้องให้เรียบที่สุด อย่าให้บุ๋มเป็นร่อง ( อย่าให้น้ำขัง) - ระวังท่อโสโครก (ส้วมชักโครก) , ฝาท่อน้ำทิ้ง , ท่อน้ำทิ้ง อย่าให้มีรอยแตก ซึม ร้าว - ชักโครกควรมีฐานยกสูงขึ้นมา (บางแห่งอาจขุดลงไปในพื้นห้องน้ำ ทำให้พื้นตรงส่วนนี้บางกว่าที่อื่น ก็รั่วซึมได้) - ถ้าให้ดีพยายามเดินท่อลอย เพราะถ้ารั่วซึมจะเห็น (แต่ไม่สวย) - ถ้าใช้ท่อเหล็กฝังในผนัง ใช้ไป 10-20 ปี ท่อเหล็กผุ รั่วซึมได้ - ขอบพื้นห้องน้ำควรมีบัว (อย่าเป็นมุมฉาก เพราะน้ำจะฝังตัวอยู่ที่ขอบมุม กว่าจะระเหยหมดก็ใช้เวลานาน ต่อไปจะทำให้รั่วซึมได้) - ปูนฉาบผนังห้อง ควรผสมน้ำยากันซึมไปด้วย (น้ำยากันซึมทำให้เนื้อปูนซีเมนต์แน่นๆขึ้น มีฟองอากาศน้อยลง จึงกันซึมได้มากกว่าปกติ) - ทาน้ำยากันซึมแบบใส (คล้ายน้ำใสๆ) ที่ขอบกระเบื้อง(ตรงปูนขาวที่ใช้ยาตามแนวขอบกระเบื้อง)และผนัง (สูงจากพื้นห้องน้ำ 1 ฟุต) - ถ้าใช้ slilcon อุดรอยรั่ว ซึม ควรใช้แบบกันเชื้อรา ราคาแพงหน่อย แต่เมื่อใช้ไปจะไม่เปลี่ยนเป็นสีดำน่ารังเกียจ - อย่าใช้บ่อซีเมนต์เก็บกักน้ำ (ใช้ไปนานๆ น้ำซึมตามขอบกระเบื้องได้) - ควรใช้ถังพลาสติกใหญ่ๆในการเก็บกักน้ำ - บริเวณที่อาบน้ำ เช่น ใช้ฝักบัว ควรมีม่านกั้น อย่าให้น้ำเปียกพื้นเป็นบริเวณกว้าง - ไม่ควรมีอ่างอาบน้ำในห้อง เพราะ อ่างแบบเซรามิค ถ้าทำของแข็ง เช่น ฝักบัวตกใส่ ทำให้ร้าว น้ำซึมลงไปขังที่ใต้อ่างอาบน้ำ อ่างแบบโลหะ ใช้ไปนานๆ ผุกร่อนที่ท่อน้ำทิ้ง น้ำก็ไปขังใต้อ่างอาบน้ำอีก ถึงจะทำรูระบายน้ำขังใต้อ่างอาบน้ำ ก็ไม่สามารถกันซึม 100 %
เท่าที่พอนึกได้ก็มีเท่านี้แหละครับ
จากคุณ :
threeS
- [
3 พ.ค. 49 21:04:18
]
|
|
|