หลายคนคงเคยได้ยินโฆษณาของกรมบังคับคดีที่ว่า
"เป็นโอกาสสำหรับคนรายได้น้อยที่จะได้มีบ้าน" ทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนที่ฝันอยากจะมีบ้านเข้าไปร่วมประมูล แต่มันไม่ง่ายอย่างที่คิดนะคะ (อันนี้เจอกับตัวนะคะ) ไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายนะคะ เอาเป็นว่าเอาอีกด้านอีกมุมมาให้ดูก่อนค่ะ
มีเงื่อนไขหลายข้อที่อยากมา share ให้ชาวชายคาได้อ่าน(สำหรับคนที่กำลังดูๆ) และมีข้อบังคับรายละเอียดหลายอย่างเลยค่ะ เอาเป็นแบบสั้นๆ ย้ำว่านี่สั้นแล้วค่ะ จริงๆ ควรจะอ่านให้ละเอียดกว่านี้ค่ะเริ่มเลยดีกว่านะคะ ^ ^
1. ก่อนเข้าประมูลต้องอ่านรายละเอียดให้ดีก่อนเลยค่ะ ว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง เช่น การจำนองติดตามไป คือหมายถึงคุณประมูลราคานั้นได้มาแล้วก็ต้องมีหนี้จากเจ้าของเดิมที่เคยจำนองไว้ เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าจะเลือกซื้อควรจะเลือกที่ ปลอดภาระผูกพัน ปลอดภัยสุดค่ะ ;-)
2. ไปดูสถานที่จริงก่อนโดยที่เราจะดูได้แค่ภายนอก ถ้าไม่มีคนอยู่อาศัยจะดีมากค่ะ จะได้ไม่ต้องฟ้องขับไล่ เสียเวลา เสียอารมณ์ บางคนโดยทำลายบ้านก็มีค่ะ
3. เมื่อไปดูแล้วถ้าเป็นบ้านโครงการณ์ต้องเช็คให้เรียบร้อยก่อนว่ามีค่าส่วนกลางคงค้างไว้เท่าไหร่ บ้านบางหลังมีค่าส่วนกลางเป็นแสนก็มีค่ะ
4. ต้องมีเครดิตดี เพราะว่าถ้าเกิดประมูลผ่านจะต้องทำเรื่องธนาคารไม่เกิน 15 วัน ผ่อนผันได้ไม่เกิน 3 เดือน (แต่การผ่อนผันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าพนักงาน)
5. เครดิตดีแล้วก็ต้องมีเวลาด้วยค่ะ เพราะว่าการประมูลบ้านที่เราหมายปองนั้น อาจจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือ อาจจะไม่ได้เลยก็มีค่ะ
เพราะว่า เจ้าพนักงานสามารถงดขายได้ ดังนั้นก่อนไปประมูล 1 วันควรโทรไปเช็คก่อนจะได้ไม่เสียเวลานะคะ
เพราะว่า โจทย์ (ธนาคารเจ้าของเรื่อง) หรือ จำเลย (เจ้าของบ้าน) อาจจะคัดค้านการขายของเราได้ค่ะ ถ้าเห็นว่าเราคาที่เราซื้อต่ำเกินไป ทำให้ต้องไปอีกรอบค่ะ
เพราะว่า สมมุติว่าเราซื้อได้แล้วทำเรื่องแบงค์เรียบร้อยแล้ว โจทย์ (ธนาคารเจ้าของเรื่อง) หรือ จำเลย (เจ้าของบ้าน) อาจจะยกเลิกการขายของเราได้ค่ะ ทำให้เรื่องที่เราดำเนินมาทั้งหมด เป็นโมฆะ ทำให้เวลาทั้งหมดที่เริ่มมา สูญเปล่าแถมสูญตังค่าดำเนินการต่างๆ ด้วยค่ะ
จากคุณ :
เมือง..พันดาว
- [
17 ก.พ. 52 22:21:04
]