ความคิดเห็นที่ 28
.. . . .. . .. .
........ . . . . .
************************************************
ข้อความต่อไปนี้เป็นเพียงความคิดเห็นของคนๆ หนึ่งเท่านั้น กรุณาอ่านด้วยวิจารณญาณส่วนตัว และเปิดใจให้กว้างหากความคิดเห็นของผมจะแตกต่าง
************************************************
จากประสบการณ์การทำงานส่วนตัวในช่วงเวลาหนึ่งในหน่วยงานของกรมศิลปากร บวกกับความรู้เท่าที่ผมมี ณ เวลานี้เลยอยากจะเสนอมุมมองและแนวคิดส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยคนนะครับ แต่ผมจะพยายามไม่เขียน อ้างอิงหรือโยงถึงภาษากฎหมายมากนะครับ เพราะมันเกี่ยวโยงถึงหลายหน่วยงานที่... อาจจะต้อง ... เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน
หากถือเอาตามเนื้อหาในกระทู้นี้ ( ผมจะไม่ย้อนกลับอีกนะครับ ) เท่าที่ผมอ่านสรุปสั้นได้ใจความว่า... อาคารนี้..น่าจะไม่ถูกทุบเพื่อสร้างใหม่ ... ผมจะยังไม่พูดถึงเรื่องอนุรักษ์หรือไม่อนุรักษ์นะครับ
เท่าที่ผมทราบ ณ เวลานี้ หน่วยงานที่ดูแล , ควบคุม , เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเมืองไทย ทั้งในด้านกฎหมายและหน้าที่นี้คือ ... กรมศิลปากร ... ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ , โบราณสถาน , โบราณวัตถุ อื่นๆ .... ส่วนในด้านที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในกระทู้นี้ก็คือ อาคารนี้อาจจะเป็น...... โบราณสถาน ... ในแง่กฎบัตรกฎหมายของกรมศิลปากร และคำว่าโบราณสถานนั้นยังแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภท
1. โบราณสถานที่ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง 2. โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
จากข้อที่สองที่ว่า... โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ... ส่วนหนึ่งพบว่าจะเป็นอาคาร ,บ้านเรือน , วัดวาอาราม พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ บ้านหลังนั้นอาคารหลังนั้นมีเจ้าของนั่นหละครับ การที่อาคารหลังหนึ่งจะได้เป็นหรือไม่เป็นโบราณสถานหรือไม่นั้น มีขั้นตอนของระบบและกฎหมายเมืองไทยที่มีอยู่นะครับ
สมมุติว่ามีอาคารหลังหนึ่งมีอายุเก่าแก่นับ 100 ปี จากสภาพที่ปรากฏแก่กาลเวลาต่อสายตา หรือจะเป็นส่งที่เล่าขานกันมา และอาคารนั้นเป็นอาคารมีเจ้าของครอบครองอยู่ ซึ่งไม่ว่าอาคารนั้นจะใช้ในกิจการ , กิจกรรมใด ๆ อยู่ แม้กระทั่งเจ้าของอาคารนั้นจะใช้ประกอบสัมมาอาชีพใดๆ อยู่ก็ตาม วันหนึ่งเจ้าของอาคารเองหรือผู้อื่นตลอดจนหน่วยงานอื่น ( ข้ามกรณีที่กรมศิลปากรเป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนเองไว้ก่อน ) มาพบว่าอาคารนี้มีความสวยงามเก่าแก่ควรค่าแก่การเก็บรักษา , คงสภาพ , อนุรักษ์ จู่ๆ เราจะไปตัดสินด้วยตนเองหรือกลุ่ม, ชมรม , สมาคมใด ๆ ว่าต้องอนุรักษ์หรือเก็บไว้ในทันทีไม่ได้นะครับ เพราะตัวบทกฎหมายเมืองไทยมีกำหนดไว้นั่นเอง
หากใครหรือหน่วยงานใดก็ตาม เห็นว่าอาคารใดๆ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ขั้นตอนที่ถูกต้องของเมืองไทยก็คือ ท่านต้องส่งหนังสือแจ้งเรื่องราวแก่หน่วยงานของ... กรมศิลปากร ..ในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเรียกว่า ... สำนักงานโบราณคดี ที่ ... พร้อมกับเนื้อหาและข้อมูลที่ท่านมีว่า ด้วยเหตุผลใดจึงควรอนุรักษ์อาคารนี้เอาไว้เพื่อเป็น............ โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ...
เนื้อหาในหนังสือนั้นจะต้องมีเนื้อหา .... ที่มาที่ไปของอาคารนั้นให้ชัดเจน ... เช่น
****.....ในทางวิชาการ , ประวัติศาสตร์ , โบราณคดี เบื้องต้น... เช่น อาคารนี้สร้างขึ้นมาเมื่อใดสมัยใดโดยผู้ใด ผู้ก่อสร้างนั้นมีความสำคัญเช่นใดอย่างไร ที่สำคัญจะต้องอ้างอิงด้วยว่า.... มีหลักฐานทางวิชาการหรือวัตถุตัวอย่างจริง ๆ .. ของที่มาของอาคารนั้นๆ จะใช้เพียงเสียงเหล่าขานตำนานหรือเสียงลือเสียงเหล่าอ้าง หรือจะดูแค่อายุของอิฐก่อ , ปูนฉาบ แม้กระทั่งข้อความตามเวปไซค์ต่างๆ มิได้ ??? และหลักฐานทางวิชาการนั้นจะต้องเป็นที่น่าเชื่อถือพอที่หน่วยงานศิลปากรสามารถสืบค้นเรื่องราวต่อได้ อีกทั้งต้องเป็นข้อมูลที่.... น่าเชื่อถือ ... ในเบื้องต้น ( ตรงนี้ว่ากันยาว )
****....ในทางวิชาชีพสถาปัตยกรรม เช่น ตึกนี้อาคารนี้มีลวดลายบัวปูนปั้นรอบอาคาร , ภายในอาคาร เป็นศิลปะสมัยนั้นสมัยนี้ ประตูบานนั้นหน้าต่างบานนี้มีลายเขียนน้ำสมัยเก่าก่อนปรากฏอยู่ ตามหลักฐานทางวิชาการของสถาบันหรือนักวิชาการท่านนี้ ๆ
เหตุที่ว่าทำไมจะต้องมีเหตุผล , เอกสารประกอบที่น่าเชื่อถือเบื้องต้นประกอบด้วยนั้น เพราะว่า จู่ๆ เราจะไปแจ้งแค่ว่าตึกนี้สร้างมาแล้ว 100 200 ปี ข้าพเจ้าเห็นมาแต่เด็กจนโต ข้าพเจ้าจึงมีความผูกพันกับอาคารนี้เป็นอันมาก รูปถ่ายอาคารนี้เมื่อ 70 -80 ปีที่แล้วก็มีอยู่ตามที่แนบมาด้วยนี้ หรือจะด้วยว่าข้าพเจ้าถ่ายรูปอาคารนี้ออกมาแล้วสวยมาก ??? อาคารนี้จึงควรสั่งระงับการทุบทำลายและควรอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง เหตุผลเพียงเท่านี้.... ไม่สามารถเป็นเหตุเป็นผลได้ ...ที่หน่วยงานศิลปากรจะรับฟังโดยทางวิชาการและกฎหมายเมืองไทยมีนะครับ
จากนั้นสมมุติว่า เรามีหลักฐานที่น่าเชื่อถือในการรับฟังเบื้องต้นพอ ทางสำนักงานโบราณคดีที่... ที่ท่านไปยื่นหนังสือ ก็จะส่งนักโบราณคดี , ทีมช่าง เข้าไปสำรวจเบื้องต้น หากพบว่ามีหลักฐานเพียงพอในเบื้องต้นที่ควรจะสำรวจอย่างจริงจัง สำนักฯ ก็จะแจ้งเข้าไปยังกรมศิลปากรส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรวจสอบอย่างจริงจัง ซึ่งจะมีทั้งนักโบราณคดี , สถาปนิก , นักประวัติศาสตร์ ของกรมศิลปากรเอง แต่กรมศิลปากรจะมาสำรวจหรือไม่นั่นขึ้นอยู่กับอีกหลายๆ เหตุผลนะครับ ถ้าเอาให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ
ที่มาที่ไปของเหตุผลที่จะสำรวจเพื่อดำเนินการต่อไปนั้นมีเพียงพอ .. ในมุมมองและกฎหมาย, อำนาจของกรมศิลปากร
ในขั้นตอนการสำรวจและสืบหาข้อมูลอาคาร ๆ หนึ่งนั้น ทางกรมศิลปากรเองจะต้องสืบค้นจากหลักฐานทางวิชาการของทางกรมเองที่มีอยู่แล้ว เช่น หอสมุดแห่งชาติ , หอจดหมายเหตุแห่งชาติ , สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ , สำนักสถาปัตยกรรม หรือร่วมกับเอกสารหลักฐานทางวิชาการ , วัตถุของท้องถิ่นที่ตั้งอาคารนั้นๆ เพื่อเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ที่แท้จริงและปรากฏหลักฐานอยู่ ??? ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลา.... นานมาก ... กว่าที่จะสรุปว่าอาคารนั้นๆ ควรค่าแก่การอนุรักษ์หรือไม่ ซึ่งหลักๆ จะมีเกณฑ์อยู่ 3 ข้อ
โบราณสถานต้องมีสาระสำคัญด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านคือ
๑. มีคุณค่าด้านอายุ
๒. มีคุณค่าด้านคุณค่าทางการก่อสร้าง
๓. มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์
ด้วยเหตุว่าการขึ้นทะเบียนอาคารใดอาคารหนึ่งให้เป็น... โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ...นั้น เท่ากับว่านั่นคือประวัติศาสตร์ของชาติโดยรวมนะครับ ??? ซึ่งจะต้องใกล้เคียงหรือถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้
ขั้นตอนต่อมา หากทางกรมศิลปากรเห็นควรว่าอาคารนั้นควรที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็น.... โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ... ทางกรมศิลปากรโดยอธิบดีจะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และแจ้งไปยังเจ้าของอาคารเพื่อทราบ หากเจ้าของอาคาร ( ไม่ว่าจะเป็นเอกชน , ชมรมใดๆ ) นั้นไม่เห็นด้วยหรือเห็นแย้งที่จะไม่ให้ , ไม่ต้องการจะให้อาคารของตนเองเป็นไปตามที่กรมศิลปากรแจ้งมา ตรงนี้ตัวบทกฎหมายเมืองไทยบ่งบอกไว้ชัดเจนว่า...
.......... เมื่ออธิบดีแจ้งประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้องร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 30 วัน หากไม่ร้องหรือศาลยกคำร้อง ให้อธิบดีขึ้นทะเบียนได้......
ฉะนั้นเจ้าของอาคารยังมีสิทธิ์ที่จะเห็นค้านได้อีกนะครับ มันไม่จบโดยง่ายแค่ว่ากรมศิลปากรที่มีอำนาจโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้จะไปเที่ยวจิ้มชี้บ้านเขาตึกใครเพื่อให้เป็นโบราณสถานได้เลยนะครับ
และยังมีข้อปลีกย่อยที่จะต้องพิจารณามีอีกมาก เช่น...
คำว่า... คุณค่า ..... ที่กรมศิลปากรบัญญัติไว้ 3 ข้อ มีข้อที่ต้องถกเถียงโต้แย้งภายในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายนัก
สำหรับในมุมมองที่ว่า... น่าจะบูรณะได้ ... ในวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือทางก่อสร้าง จะต้องสำรวจและดูความเป็นไปได้อย่างละเอียดด้วยนะครับว่า อาคารนั้น ๆ มีหนทางที่จะบูรณะให้แข็งแรงต่อไปได้... ในความเป็นจริง ... ไม่ใช่แค่นั่งดูรูปถ่ายแล้วนึกเอาเองว่าน่าจะได้ ๆ เมืองนอกเค้าก็ทำกันได้ ต้องคิดในทางกลับกันด้วยนะครับว่า
.. ที่นี่เมืองไทย ที่นี่กฎหมายไทย ที่นี่เทคโนโลยีไทย ที่นี่งบประมาณเมืองไทย ...
ข้อปลีกย่อยมีอีกมากมายครับ..
************************************************
สำหรับท่านเจ้าของกระทู้ผมขอชื่นชมว่า มีความกระตือรือร้นและหวงแหนอาคารบ้านเรือนที่ท่านเองมีมุมมองว่าควรอนุรักษ์ไว้ ซึ่งสำนึกเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่ายกย่องในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามต้องดูเนื้อหาและความเป็นจริงที่บ้านเมืองไทยของเรามีตัวบทกฎหมายบ่งบอกไว้อยู่แล้วด้วยนะครับ
ขั้นตอนที่แนะนำต่อท่านเจ้าของกระทู้... สั้น ๆ
1. รวบรวมเรื่องราว , หลักฐานประกอบ ที่มีมูลและน่าเชื่อถือให้มากที่สุด 2. ส่งหรือยื่นเรื่องราวต่อสำนักโบราณคดีที่ 8 สถานที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอาคารที่ท่านเจ้าของกระทู้อ้างอิงมาตั้งอยู่ในการควบคุมดูแล
สำหรับอาคารของเอกชน , ของหน่วยงานเอกชน หากเจ้าของอาคารนั้นๆ ประสงค์ที่จะทุบทำลายด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม หากอาคารนั้นเป็นอาคารที่ถูกกฎหมายการก่อสร้าง และการทุบทำลายเพื่อการใดก็ตาม มิได้ทำอันตรายต่อผู้อื่นหรืออาคารใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายกเทศมนตรี ไม่มีอำนาจในทางตรงที่จะสั่งห้ามได้ครับ อาจเป็นได้แค่ประวิงเวลาในระดับหนึ่งเท่านั้น และการที่อาคารนั้นได้รับรางวัลอนุรักษ์จากจังหวัดหรือสมาคม , ชมรมใดๆ เป็นเพียงเหตุผลประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ
************************************************
.. . . . . . . .
จากคุณ :
คีรีบูนปีกบาง
- [
24 ก.พ. 52 22:38:07
]
|
|
|