 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
การเดินทางฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ขอนำศัพท์ทางเทคนิคมาอ้างอิงเล็กน้อย การส่งสัญญาณไปตามสายเคเบิลจะต้องเผชิญกับขวากหนามต่างๆเช่น Time, Resistance, Capacitance, Impedance, Skin Effect, Crosstalk และ Inductance แต่เราไม่ต้องไปรู้หรอกว่ามันคืออะไร เก็บไว้ให้พวกวิศวกรเขาหาทางแก้ปัญหากันเอง
สิ่งเหล่านี้เข้าไปรบกวนสัญญาณในสายเคเบิล ทำให้แรงดันไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปจากค่าเดิมที่ควรจะเป็นในตอนส่งออกมาจากตัวส่ง หากการรบกวนมีมาก เครื่องรับ (เช่น จอ LCD) ก็เกิดความสับสนว่าตกลงไอ้ข้อมูลตัวนี้มัน 0 หรือ 1 กันแน่
HDMI ที่เราใช้ๆกันตามบ้าน หรือการดูหนัง-ฟังเพลง เป็นการส่งข้อมูลทางเดียว ตามเวลาที่เป็นจริง ไม่เหมือนกับการส่งข้อมูลบางประเภทจาก pc ไปตามสาย usb หรือ lan ซึ่งจะมีการเรียกขอให้ส่งข้อมูลให้ใหม่ ในกรณีที่ตัวรับเกิดความสับสนในข้อมูล อีกทั้งการแสดงผลเป็นไปแบบตามเวลาที่เป็นจริง ซึ่งหมายถึงเมื่อรับข้อมูลแต่ละชุดมาแล้วให้แสดงผลโดยทันที ไม่มีการหยุดรอ ร้องขอให้ตัวส่ง ส่งข้อมูลชุดที่ผิดพลาดให้ใหม่
หากข้อมูลชุดใดเกิดความผิดพลาด ตัวรับ (เช่น จอ LCD) แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นจะมีวิธีการแก้ปัญหาแตกต่างกันไป แต่โดยหลักๆแล้ว ตัวรับก็ยังคงแสดงผลออกมาให้อยู่ดี หากแต่ภาพที่แสดงออกมาอาจมี snow noise ภาพเป็นจุดๆ หรือ เส้นบางๆ ตามความผิดพลาดของข้อมูลชุดนั้นๆ จึงไม่สามารถเอาไปเปรียบเทียบกับการส่งข้อมูล 2 ทางบน usb หรือ lan แบบไม่กำหนดเวลาแสดงผลได้
ดังนั้นคำว่า All or nothing จึงไม่สามารถนำมาใช้กับการส่งข้อมูลดิจิตอลบน HDMI แบบที่เราใช้ดูหนัง-ฟังเพลงได้ หากตัวกลางหรือสายเคเบิลคุณภาพต่ำ มันก็ยังคงแสดงภาพและเสียงอยู่ดี แต่ความสะอาดของภาพและเสียง อาจจะสู้สายเคเบิลคุณภาพสูงไม่ได้ All or nothing ใช้กับการรับข้อมูลประเภท zip บางประเภทที่ข้อมูลแต่ละไบก์ มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นไฟล์ .iso .torrent .nrg แต่ไม่สามารถ apply แม้แต่กับ compress file บางประเภทเช่น .jpg .mpg บางท่านอาจเคย down load ภาพ แล้วได้ภาพมาแค่ครึ่งบน ส่วนครึ่งล่างเป็นพื้นดำ .jpg เป็นไฟล์ประเภท zip ชนิดหนึ่ง แต่ก็ยังคงสามารถแสดงภาพได้บางส่วน ส่วนข้อมูลที่เสียหายก็แสดงเป็นพื้นดำ (หรือพื้นสี แล้วแต่ความผิดพลาด) ดังนั้นคำว่า If it digital, you get all or nothing จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไร
จากคุณ |
:
Rainmaker
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ก.ย. 52 06:29:58
|
|
|
|
 |