 |
ช่วงนี้มีกระทู้ลักษณะเช่นนี้บ่อยๆ ซึ่งผมเองเคยได้อธิบายไปในกระทู้ก่อนหน้านี้ คราวนี้ขอแนะนำการปฏิบัติกรณีการป้องกันชุดคอยล์ร้อนที่อยู่ภายนอกบ้านหาก สุ่มเสี่ยงต่อการโดนน้ำท่วมขัง
หัวข้อแรกคือการป้องกันในขณะที่ไม่ต้องโยกย้ายตัวเครื่อง
1. ตัวเครื่อง ใช้ผ้าใบหรือถุงพลาสติกคลุมทุกส่วนอย่างมิดชิด ( หลังจากถอดอุปกรณ์ในข้อ 2 เสร็จสิ้น แต่กรณีที่ไม่สามารถทำตามข้อ 2 ได้ ก็ให้คลุมห่อหุ้มอย่างดี ) 2. อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ ปกติโดยทั่วๆไป จะมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้อยู่บริเวณ คอยล์ร้อน มอเตอร์คอยล์ร้อน ,คาปาซิเตอร์ รันนิ่งของมอเตอร์ ,คาปาซิเตอร์รันนิ่งของคอมเพรสเซอร์ , กรณีเป็นระบบอินเวอร์เตอร์จะมีแผงควบคุมอยู่กับชุดคอยล์ร้อน ซึ่งอุปกรณ์ที่กล่าวมาต้องดำเนินการถอดออกก่อน ขืนคลุมผ้าใบ ความชื้นอาจส่งผล เสียหาย สำหรับท่านใดที่กังวลใจหรือไม่มั่นใจ ต้องการโยกย้ายเครื่องเป็นการชั่วคราว ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.ต่อเกจน้ำยาเปิดเครื่องทำการปั๊มดาวน์ระบบ ( เก็บน้ำยาเข้าไว้ในชุดคอยล์ร้อน ) 2.ถอดแฟร์บริเวณชุดคอยล์ร้อนออกมา 3.ปิดท่อน้ำยาไว้ไม่ให้ความชื้นหรือน้ำเข้าไปภายในได้ 4.ดำเนินการเคลื่อนย้าย
สำหรับกรณีที่มีความเร่งด่วนไม่สามารถเรียกช่างหรือหาเครื่องมือได้ทัน 1. ปล่อยน้ำยาภายในเครื่องออกให้หมด เปิดฝาปิดวาล์วตรงบริเวณต่อเกจน้ำยา หาเหล็กจิ้มเพื่อกดวาล์วศรให้ปล่อยน้ำยาออกมา ( พยายามสวมถุงมือเพื่อป้องกันน้ำยาทำอันตรายต่อผิวหนัง ) 2.เมื่อปล่อยน้ำยาจนหมดทำการตัดท่อทองแดง ถ้าไม่มีคัตเตอร์ตัดท่อทองแดงให้ใบเลื่อย ( ผมพยายามหาอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ทั่วๆไปอาจผิดหลักวิธีไปบ้าง ) ตรงบริเวณชุดคอยล์ร้อนและใช้คีมบีบปิดท่อน้ำยาไว้ให้มิดชิด 3.ดำเนินการเคลื่อนย้าย
จากคุณ |
:
ดาราเดช
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ต.ค. 54 11:25:06
|
|
|
|
 |