|
เบสิคๆไปดูที่หลักที่ตอกแท่งดิน (ground rod) บริเวณนอกบ้านเเล้วไล่สายดินว่าไปที่ตู้คอนซูเมอร์ยูนิตว่ามีการต่อเข้ากับบาร์สายกราวน์หรือไม่ ? ( โดยทั่วๆไปงานไฟฟ่าบ้านพักอยุ่อาศัยจะใช้เป็นสายสีเขียว )
จากนั้นก็ตรวจดูว่าสายกราวน์ในเเต่ละชั้น,เเต่ละห้องที่กระจายไปตามจุดต่างๆ ของบ้าน จะต้องมาเชื่อมเป็นจุดเดียวกันที่บาร์สายกราวน์อันนี่) ในกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าปลั๊กไฟไม่ได้เป็นเเบบปลั๊กไฟมีสายกราวน์ ให้คุณลากสายไฟไฟเส้นหนึ่งลงโครงที่เป็นโลหะเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ มาเชื่อมกับจุดายกราวน์ที่จุดปลั๊กไฟไปครับเช่น ตู้เย็นก็ทำหางปลายึดติดกับสกรูหลังเครื่องมาเชื่อมกันครับ สาวนขนาดสายไฟที่ใช้การทำสายกราวน์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น,เครื่องซักผ้า ขนาดสายไฟ 1.0 SQ.MM ก็พอเเล้วครับ,เครื่องทำน้ำอุ่น ควรเป็นขนาด 2.5 SQ.MM
ส่วนสาเหตุที่ให้ทำมารวมที่จุดเดียวเพื่อเลี่ยงปัญหา ground loop ครับ อีกอย่างที่สำคัญบาร์สายกราวน์ในตู้คอนซูเมอร์ยูนิต หรือ ตู้ไฟเมน คุณจะต้องมีจัมป์สายไฟเส้นหนึ่งเข้าระหว่างบาร์กราวน์ เเละ บาร์สาย นิวตรอน ให้ถึงกัน ( ทาง การไฟฟ้านครหลวง,ภูมิภาค กำหนดในข้อบังคับ )
หากเป็นไปได้คุณควรจัดหาอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว,ไฟดุด พวก ELCB,ROCB หรือ พวก เซฟทีคัท มาใช้งานร่วมด้วยเพื่อความปลอดภัย
จริงๆความจริงให้หรูเอา mega ohms meter มาวัดค่าความต้านทานไม่ควรเกิน 5 โอห์ม บวก/ลบ 10% ลองไปศึกษาความรู้ที่
http://www.mea.or.th/apd/4/main.htm
รูปที่เเนบ เครื่องวัดความต้านทาน mega ohm meter ( ส่วนใหญ่ที่ซื้อเครื่องมือวัดตรวจเเบบนี้ มักใช้วัดพวกงานวัดความเป็นฉนวนพวกงานฉนวนอาบลวดทองเเดง,ขดลวดมอเตอร์,หม้อเเปลง มากกว่าครับเเละต้องใช้งานให้เป็นเพราะคุณต้องมีความรุ้ใช้งานไฟฟ้าระดับหนึ่ง หากเอามาวัดสายดิน )
จากคุณ |
:
pinhead2000
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ม.ค. 55 09:53:14
|
|
|
|
|