 |
ในคคห.252 ผมมีกล่าวไว้ว่า ผมรอให้ท่านสมาชิก ถามปัญหา กับผมเรื่องหนึ่ง แต่ไม่มีท่านใดถามถึงเลย รอผ่านมาเกินกว่า 24 ชั่วโมงไปแล้ว ก็ยังเงียบอยู่
ผมจึง ไม่ทราบเลยว่า เรื่องที่ผมเว้นไว้ ไม่ได้บอก ภาพก็ไม่ได้ลงให้ดูนั้น ทุกๆท่านทราบอยู่แล้ว หรือว่า ไม่ทราบเป็นปกติวิสัยครับ
ให้ย้อนกลับไปดูภาพที่ คคห. 209 ไล่ลงมาเรื่อยๆ
ทุกท่านไม่สงสัยเลยหรือครับว่า คานรับโครงเหล็กหลังคา ซึ่งปลายท้องคานอยู่ระดับเดียวกับพื้นดาดฟ้า (หลังคาพื้นดาดฟ้า ติดกับปลายท้องคานรับโครงเหล็กหลังคา) จึงเกิดช่องว่าง ระหว่างพื้นดาดฟ้าเป็นโพรงเข้าไปภายในห้องที่มีหลังคาครับ
เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ ผมและผู้รับเหมาซึ่งเป็นวิศวกร ประชุมตกลงร่วมกัน ในการแก้ไขแบบแปลน ซึ่งในแบบแปลนนั้น ระดับหลังคานสูงเท่ากันหมด ซึ่งเป็นการแก้ไขแบบแปลนอย่างจงใจครับ
ผมและผู้รับเหมา เข้าใจจุดประสงค์ของทางสถาปนิกว่า การที่จะทำให้ระดับคานสูงเท่ากันหมดนั้น มันดูสวยงาม ง่ายต่อการทำงาน แต่ว่า ในแนวทางปฏิบัติจริงนั้น เราจะไม่เหลือเนื้อที่เพียงพอที่จะกั้นขอบเพื่อป้องกันน้ำฝนที่มีโอกาสล้นข้ามเข้าไปภายในบ้านได้ครับ ซึ่งถ้าจะทำให้ปลายหลังคา ปิดติดพื้นเลย ก็ยิ่งจะทำให้ การดูแลรักษา แก้ไขเรื่องการรั่วซึมภายหลัง ทำได้ยากมาก
ครั้นจะแก้ไขโดย ยกหลังคาให้สูงขึ้น ก็ทำได้ แต่ว่า ช่วงปลายหลังคา จะต้องตั้งเสาขึ้นมาจากคาน ทุกๆช่วงคาน และต่อคานขึ้นมาอีกชั้น (หรือจะใช้คานเหล็กก็ได้) ซึ่งความแข็งแรงจะสู้ให้ คานรับโครงเหล็กโดยตรงไม่ได้ครับ อีกทั้งยังต้องเพิ่มขั้นตอนในการตั้งเสาอีกด้วยครับ
นี่จึงเป็นที่ไปที่มาของการร่วมกันตัดสินใจแก้ไขแบบแปลนโครงสร้างครับ
ส่วนนี้ ผมจึงเว้นไว้ไม่ได้กล่าวถึงเลย เพื่อให้ชมภาพกันอย่างเพลิดเพลินไปก่อน
และรอดูว่า จะมีใครถามถึงเรื่องต่อจากเรื่องนี้มั้ยครับ ซึ่งจะเป็นคำถามเกี่ยวกับว่า น้ำจะย้อนเข้าบ้าน ตรงส่วนใต้หลังคาหรือครับ
ขั้นตอนการทำงานส่วนนี้ ผมหาภาพไม่เจอ จึงไม่ได้นำมาเสนอให้ชมกัน มีเพียงแค่ภาพที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังภาพในคคห.262, 264, 272, 273, 276, 277 และ 281 ครับ คือการก่ออิฐซึ่งหนามากครับ ความหนาเท่ากับปลายคานจนถึงริมขอบพื้นดาดฟ้าครับ เพื่อป้องกันการซึมทะลุเข้าไป แล้วก่อนก่ออิฐ ส่วนพื้นมีการสกัดพื้นเดิมแล้วหล่อปูนเสริมความสูงขึ้นมาจากระดับพื้นเดิมประมาณ 5 ซ.ม. ก่อนที่จะก่ออิฐสูงขึ้นมาติดแปเลยครับ
แค่นั้น ยังไม่จบกระบวนการครับ ยังมีการ อุดช่องท่อระบายน้ำ แล้วปล่อยน้ำขังไว้บนดาดฟ้า ประมาณ 7 วัน เพื่อทดสอบการรั่วซึมของพื้นดาดฟ้า ซึ่งกระบวนการนี้ กระทำทั้งดาดฟ้าด้านหน้า และดาดฟ้าด้านหลังครับ
และยังมีระบบป้องกันน้ำท่วมดาดฟ้า เนื่องจากอาจจะมีสิ่งอุดตันปิดท่อระบายน้ำด้วยครับ โดยการเจาะเป็นท่อน้ำล้น ให้ระบายออกนอกอาคาร ซึ่งจะอยู่สูงกว่าพื้นดาดฟ้าประมาณ 15 ซ.ม. ครับ
จากคุณ |
:
Moonlight Sonata
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ส.ค. 55 13:59:37
|
|
|
|
 |