วิธีการวัดและคำนวณหาระยะดิ่ง (Headroom)
ดูรูป 2 ประกอบ (จากรูปที่ 1 ของ R12565836) ลากเส้น Pitch line และ Clearance line A และ B
ที่จุดขอบมุม A ค่าระยะดิ่งคือ HA = ระยะAP
แต่ถ้าเป็นที่จุดขอบมุม B ค่าระยะดิ่งที่แท้จริงคือ HB = ระยะ BR = BT RT หาค่าได้จาก
1. ในแบบแปลน สถาปนิกจะออกแบบกำหนดรู้ค่าระยะและระดับต่างๆของบันไดและบริเวณโดยรอบอยู่แล้ว นำตัวเลขค่าต่างๆมาคำนวณหาระยะดิ่งตามสูตร I หรือ II
2. วัดจากสถานที่จริง ก็สามารถใช้ลูกดิ่งและตลับเมตรวัดหาค่าระยะและระดับต่างๆได้ดังนี้
- วัดระยะ BT โดยเส้น BT ตั้งฉากกับลูกนอนที่จุด T
- วัดระยะเหลื่อม Gd ได้ = TP แต่ถ้าลูกนอนมีจมูกบันไดจะหาจุด P ยาก ก็ให้วัดจากจุด T ไปยังหน้า ระนาบตั้งของลูกตั้งของขั้นถัดไปได้ระยะ = TQ
หาค่า Gd ได้ = TP = Ru TQ
นำตัวเลขค่าต่างๆมาคำนวณหาระยะดิ่งตามสูตร I หรือ II
สูตร I ระยะดิ่งที่แท้จริง = HB = ระยะ BR = BT (Ri/Ru) x Gd หรือ
สูตร II ระยะดิ่งที่แท้จริง = HB = ระยะ BR = BT (Ri/Ru) (Ru - TQ)
เช่น ถ้าบันไดมี Ri = 180 mm
Ru = 270 mm
BT วัดได้ = 1,900 mm
Gd = TP = 200 mm หรือ TQ = 70 mm
ดังนั้นระยะดิ่งที่จุด B ที่แท้จริงคือ HB = BR = 1,900 (180/270) x 200 = 1,766.67 mm คนตัวสูง 1,800 mm. ศีรษะจะชนขอบมุม B
ในทางกลับกัน ถ้าต้องการให้ HB = 1,900 mm จะได้ว่า BT = BR + (Ri/Ru) x Gd = 1,900 + (180/270) x 200 = 2,033.33 mm คนสูง 1,800 mm เดินขึ้น ลงได้ปลอดภัยเพราะยังเหลือห่าง 100 mm จากระยะดิ่ HB
รูปที่ 2
แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 55 13:43:09
แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 55 13:28:38