การโปะค่าผ่อนบ้าน จขกท จะต้องศึกษาให้ถ่องแท้ชัดเจน 2 เรื่อง คือ
1. สัญญาระหว่าง จขกท กับ ธนาคารหรือสถาบันการเงิน (ผู้ให้กู้) กำหนดเงื่อนไขเรื่องนี้ไว้อย่างไร ซึ่งจะเป็นผลถึงเรื่่องที่ 2 คือ
2.การโปะเงินได้ผลดี - เสียอย่างไร
ขออธิบายตามประสบการณ์ของตัวเองให้อ่านกัน หากผิดพลาดอย่างไร ขอผู้รู้ช่วยทักท้วง จะได้เป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ด้วย
1. หลักทั่วไปของการผ่อนบ้าน มีว่า จำนวนเงินที่ชำระแต่ละงวดที่ตกลงกันจะถูกแบ่งเป็น 2 จำนวน จำนวนแรกจะนำไปชำระดอกเบี้ยก่อน เพราะเป็นรายได้ของธนาคารที่ได้จากผู้ผ่อนแต่ละงวด (เดือน) หักดอกเบี้ยแล้ว เหลือเท่าไรก็ยกไปเป็นเงินต้นงวดหน้า (เดือนหน้า) และคำนวณดอกเบี้ยอีก ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบกำหนดตามสัญญา
จะเห็นว่า ดอกเบี้ยงวดแรก ๆ จะเป็นเงินสูงมาก เพราะ
สูตรการคำนวณ ดอกเบี้ย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน (คำนวณเป็นวัน ๆ ) x จำนวนวัน
งวดท้าย ๆ ดอกเบี้ยจะลด เพราะตัวคูณ คือ เงินต้นลดลง
จึงต้องศึกษาสัญญาให้กระจ่าง เพราะอาจมีเงื่อนไขต่าง ๆ พ่วงเข้ามา เช่น ให้ธนาคารเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ หรือ จำนวนวันที่คำนวณดอกเบี้ย มักจะคิดว่าแต่ละเดือนต้องชำระเท่าไร ความจริงคือ ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยเป็นวัน ไม่ใช่เป็นเป็นเดือน
ที่แนะนำให้ศึกษาสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อนทำสัญญา เพราะเคยมีผู้ท้วงว่า เงินต้นลด แต่ดอกเบี้ยทำไมไม่ลด ?
ตอบ
ก็เพราะจำนวนวันที่คำนวณแต่ละเดือนน้อยมากต่างกัน โดยมากเรามักไม่อ่านสัญญาให้ถี่ถ้วน เพราะยังไง ๆ ก็ต้องกู้ ก็ลงชื่อในสัญญาด้วยความดีใจ กลับไปซื้อของเข้าบ้านสบายใจกว่า เลยมีเรื่องเข้าใจผิดกันภายหลัง ความจริงเรื่องนี้ควรจะอ่านสัญญาให้กระจ่างตั้งแต่อยู่ที่ธนาคาร มีอะไรก็สอบถามกันก่อนลงชื่อ
แต่อย่างว่า พนักงานสินเชื่อธนาคารบางคนยังไม่รู้เรื่องเลย อ้างเสมอว่า เป็นแบบสัญญาสำเร็จรูปของธนาคาร พิมพ์มายังไงพี่ก็เซ็นชื่อก็แล้วกัน ผู้กู้กลัวก็รีบลงชื่อ
2. คำถามที่ถามกันมาก คือ จะโปะเงินต้นอย่างไรดี ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
เรื่องนี้ต้องศึกษาวิธีการคำนวนดอกเบี้ย
อย่างที่เขียนแล้วว่า ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยเป็นวัน ๆ สมมุติว่า แต่ละงวด ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยถึงวันสุดท้ายของเดือน เดือนนี้มี 30 วัน เราก็เอาเงินไปจ่ายภายใน 15.30 น ของวันที่กำหนด คือวันที่ 30 พอดี กรณีนี้ สมมุติว่าเรามีหนี้ 100,000.00 บาท สัญญากำหนดให้จ่ายงวดละ 10,000.00 บาท คำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่งวดที่แล้ว จนถึงวันที่เราจ่ายเป็นเงิน 1,000.00 บาท (ตัวเลขสมมุติ)
เงิน 10,000.00 บาท จะถูกแบ่งเป็น 2 กอง กองหนึ่งธนาคารเก็บเป็นรายได้ค่าดอกเบี้ย 1,000.00 บาท ชำระเงินต้น 9,000.00 บาท เหลือเงินต้นยกไปอีก 91,000.00 บาท แล้วนำ 91,000.00 บาท ไปคำนวนดอกเบี้ยอีก 30 วัน หรือ 31 วันของงวดถัดไป
ทีนี้มาถึงการโปะ
ส่วนตัวเคยผ่อนบ้าน หักบัญชีธนาคาร แต่ถือเป็นงานหลัก คือ หอบเอาเงินสดไปจ่ายอีกจำนวนหนึ่ง ในวันเดียวกับที่ธนาคารหักบัญชี เรียกว่าวันนั้น จ่าย 2 ครั้ง
จากการหักบัญชี 1 ครั้ง และจ่ายเงินสดอีก 1 ครั้ง ถ้าตามตัวอย่างก็ สมมุติจ่ายอีก 5,000.00 บาท เงินต้นจะลดลงเหลือ 91,000.00 - 5,000.00 = 86,000.00
ทำแบบนี้จะได้ผล 2 อย่าง
1. เงิน 5,000.00 บาท ที่ชำระ จะหักเงินต้น 5,000.00 เต็ม ๆ ไม่มีการแบ่งไปเป็นดอกเบี้ย เพราะดอกเบี้ยคำนวนไปเต็มงวดแล้ว จากยอดจ่าย 10,000.00 บาท
2. เงินต้นจะลดลงจากเดิมเหลือ 86,000.00 เป็นผลให้ดอกเบี้ยในงวดถัดไปลดลงเพราะต้นเงินลดลง (ดูตัวอย่างการคำนวนข้างต้น)
ตอนผ่อนบ้าน โปะอีก 100 % แบบนี้ทำให้ประหยัดเวลาไปประมาณ 50 % ของระยะเวลาตามสัญญา และประหยัดดอกเบี้ยอีกมาก ๆ ไม่เชื่อลองนำไปใช้ จะเห็นผล
ที่แนะนำให้ศึกษาสัญญาให้ดี เพราะบางธนาคารอาจให้เราโปะระหว่างงวดได้โดยเงินที่โปะนั้นจะหักเงินต้นอย่างเดียว ไม่แบ่งไปคำนวณดอกเบี้ย ก็เป็นผลดีสำหรับผู้กู้
จึงแนะนำให้อ่านสัญญาให้กระจ่างและถี่ถ้วน