ถ้าความสูงเหลือ 2.0 ม. และทำตาม คห. 6 ทางลาดจะมีอัตราส่วนที่ 1:12 มีความชัน 4.76346 องศา
ความสูงของชานพักที่ 1 สูง 58.333 ซม.
ชานพักที่ 2 สูง 116.667 ซม.
ชานพักที่ 3 สูง 175.0 ซม. แล้วลาดขึ้นหาระเบียงชั้นบนที่ 2.0 ม.
แต่การจะลดความสูงของชั้นบนทั้งหมดลงมาเหลือ 2.0 ม. ประโยชน์การใช้สอยด้านใต้ถุนจะเสียไป ควรลดเฉพาะระเบียง แล้วทำบันได 3 ขั้น (นับจำนวนระยะตั้ง) ขึ้นชั้น 2 โดยคาดว่าน่าจะมีระยะตั้ง (ลูกตั้ง) ที่ 166.67 มม. ระยะนอน (ลูกนอนไม่รวมจมูกบันได) ที่ 300 มม.มีความชันของบันได =29 องศา มีค่าตามกฏการย่างก้าวที่ 633.34 มม. ก้าวเดินขึ้น -ลงสบาย แต่จะเป็นบันไดที่มีลูกนอน 2 ขั้น เป็นเลขคู่ ถ้าถือในเรื่องนี้ ให้ทำขั้นบันไดขั้นที่ 1 แผ่กว้างออกรอบบันไดขั้นที่ 2 ซึ่งคนไทยจะไม่นับรวมขั้นบันไดขั้นที่ 1 แบบนี้ว่าเป็นขั้นบันได
อย่างไรก็ตามการใช้อัตราส่วนทางลาด 1:10 ตาม คห.6 และ 1:12 จะมีความแตกต่างกันที่ระยะ 10 ม. สูงต่างกัน 16.67 ซม. หรือที่ระยะทางลาด 7 ม. จะสูงต่างกัน 11.67 ซม. หรือมีความชันเเตกต่างกัน 0.94695 องศา ซึ่งต่างกันไม่มาก ดูรูปประกอบ
ที่ความชันไม่เกิน 1:12 ถูกกำหนดบังคับให้ใช้กับ Wheelchair ของคนพิการที่ต้องช่วยตัวเองในการขึ้นลง
สำหรับเรื่องราคานั้นควรให้วิศวกรผู้ออกแบบคำนวณเป็นผู้ให้ราคาได้ใกล้เคียง เนื่องจากมีรายละเอียดในเรื่องของฐานรากและโครงสร้างเข้ามาเกี่ยวข้อง
เรื่องที่ควรใส่ใจคือผิวของทางลาด ควรให้ผิวหยาบไม่ลื่น เช่นการเซาะร่องตัว V ,การใช้สารกันลื่นเคลือบผิว ฯลฯ
และต้องไม่ทำทางลาดลอดใต้ถุน เพราะระยะดิ่งไม่เพียงพอ