ความคิดเห็นที่ 10
ตอบ คห ที่ 9 และเพื่อประโยชน์ของเพื่อน ๆคนอื่น ๆ
วิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีบุคคลธรรมดาเป็นผู้ขาย 1. ใช้ราคาประเมินราชการเป็นตัวตั้ง แล้วหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามจำนวนปีืที่ถือครอง (ถ้าถือครองเกิน 10 ปีให้นับเพียง 10 ปี) ดังนี้ 1 ปี หัก 92% 2 ปี หัก 84% 3 ปี หัก 77% 4 ปี หัก 71% 5 ปี หัก 65% 6 ปี หัก 60 % 7 ปี หัก 55% 8 ปีขึ้นไป หัก 50% (ถ้าได้มาโดยทางมรดกหรือรับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่าย 50% โดยไม่ต้องคำนึงถึงปีที่ถือครอง) 2. เหลือเท่าใดให้หารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง 3. ได้ผลลัพธ์เท่าใด นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1 - 100,000 = 5% เป็นเงิน 5,000 บาท , 100,001 - 500,000 = 10% เป็นเงิน 40,000 บาท, 500,001 - 1,000,000 = 20% เป็นเงิน 100,000 บาท, 1,000,001 - 4,000,000 = 30% เป็นเงิน 900,000 บาท, 4,000,001 ขึ้นไป = 37% 4. ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณจำนวนปีที่ถือครองกลับเข้าไป ผลลัพธ์ที่ได้คือภาษีที่ต้องเสียครับ
เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น ขอยกตัวอย่างดังนี้ บ้านหรือคอนโด มีราคาประเมินราชการ ที่ 1,000,000 บาท ถือครองมา 2 ปี (นับตามปีปฏิทินนะครับ เช่นซื้อมา ธ.ค.46 ขายเมื่อ ม.ค.47 ให้นับเป็นถือครอง 2 ปี) 1. เอา 1,000,000 ตั้ง หักค่าใช้จ่าย 84% เหลือ 160,000 2. หารปีถือครอง หาร 2 เหลือ 80,000 3. นำไปคำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราข้างต้น จะเห็นว่าอยู่ในช่วง 1 - 100,000 คิด 5% = 80,000 X 5% = 4,000 4. คูณปีที่ถือครองกลับเข้าไป = 4,000 X 2 = 8,000 บาท สรุป ตามตัวอย่าง จะเสียภาษี 8,000 บาท ครับ
ส่วนกรณีที่ผู้ขายเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องคิดอะไรให้ยุ่งยากครับ เสีย 1% จากราคาประเมินราชการหรือราคาที่ผู้ขายแจ้งในการโอน แล้วแต่ราคาใดที่สูงกว่า นอกจากนี้ยังต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3% แต่ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์
คงจะเข้าใจไม่ยากจนเกินไปนะครับ
จากคุณ :
แจมด้วยคน
- [
23 ธ.ค. 48 14:11:04
A:58.10.88.150 X: TicketID:112646
]
|
|
|