Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    รถราง....แห่งความหลัง part 1.........

    จำเป็นต้องแบ่งออกเป็นสองภาค เพราะ รูปอีกจำนวนหนึ่ง จำไม่ได้ว่าไปเซฟเก็บไว้ในซีดี แล้วดันไปซุกไว้ที่ไหนเสียแล้ว ถ้าค้นเจอจะเอามาให้ดูให้ครบนะจ๊ะ.....

    บทความ และ รูป จำได้แต่ว่า เอามาจากในเนต จำเครดิตไม่ได้ตามระเบียบ ( ไมใช่ ระเบียบรัตน์นะ )  จึงขอขอบคุณเจ้าของบทความและภาพไว้ ณ ที่นี้




                   “................บางกอกเมืองหลวงของสยาม
         มีระบบรถรางซึ่งได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1893
         ซึ่งถือว่าเป็นรถรางไฟฟ้าแห่งแรกในเอเซีย
         จากดั้งเดิมที่เคยใช้ม้าและลาลากตู้รถ
         ก็ถูกแทนที่โดยรถตู้ทำด้วยไม้ระบบพลังงานไฟฟ้าขนาดกำลังยี่สิบแรงม้า
         ระบบไฟฟ้าที่ใช้สำหรบรถรางนี้เป็นระบบที่ดำเนินการโดยบริษัท Short Electric
         Railway Company เมือง Cleveland ประเทศสหรัฐอเมริกา
                   บางกอกซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองประมาณเก้าแสนคน มีรถรางถึง 7
         สายด้วยกัน โดยวิ่งไปยังจุดต่างดังนี้
                   1.บางคอแหลม
                   2.สามเสน
                   3.ดุสิต
                   4.บางซื่อ
                   5.หัวลำโพง
                   6.สีลม
                   7.ปทุมวัน
                   รถรางทุกสายเป็นแบบรางเดี่ยว โดยมีทางหลีกในระยะช่วง 1/4 ไมล์
         รางมีขนาดกว้าง 1 เมตร และรางรถส่วนมากฝังอยู่ในพื้นถนนลาดยาง
         มีบางช่วงเท่านั้นที่ฝังอยู่บนถนนคอนกรีต
         และได้มีการให้สิทธิให้รถรางที่วิ่งทางขวาไปก่อน
         ในขณะนั้นมีตู้รถรางทั้งหมดรวม 54 โบกี้ รถตู้ที่เป็นมอเตอร์แบบคู่ มี 28 ตู้
         และ รถหัวขบวนซึ่งเป็นตัวลาก 62 คัน แต่ละคันมี 40 แรงม้า สามารถจุคนได้ 60
         คน โดยแบ่งเป็นที่นั่ง 36  คน ที่ยืน 24 คน
         นอกจากนั้นยังมีตัวถังโบกี้รถรางที่มีที่นั่งโดยสาร 2 แบบ คือ แบบเปิดโล่ง  
         และแบบที่มีกระจกปิด ทุกโบกี้จะมีทางขึ้น 2 ทาง ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย
         จะมีก็เพียง 5 โบกี้ที่ส่งมาจากอังกฤษ สีของรถรางส่วนใหญ่ มี 4
         แบบซึ่งประกอบด้วย 2 สีคู่กัน คือ เหลืองกับน้ำตาล เหลืองกับเขียว
         เหลืองกับแดง และดำกับเขียวอ่อน
                   วันที่ 30 กันยายน ปี ค.ศ.1968 รถราง 2
         สายสุดท้ายของบางกอกถูกยกเลิกไป
         และถูกแทนที่ด้วยรถเมล์..................................”
                   
         นั่นคือเสี้ยวหนึ่งในประวัติศาสตร์ของรถรางไฟฟ้าซึ่งทำให้บางกอกกลายเป็นเมืองที่มีความเจริญไม่แพ้ประเทศในยุโรปบางประเทศในยุคนั้นทีเดียว
         เพราะถือเป็นประเทศแรกในเอเซียที่มีรถรางไฟฟ้าใช้
         อย่างไรก็ดีความเป็นมาของรถรางในบางกอกมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว
         ซึ่งหนังสือเล่มเดียวกันได้กล่าวไว้ว่า
                   “............................กำเนิดของรถรางที่ใช้ม้าลากในสยาม
         ได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี ค.ศ. 1889
         และต่อมาได้พัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าซึ่งเริ่มเมื่อปี 1892  ซึ่งในประเด็นนี้
         ข้อมูลบางแห่งได้บอกว่ารถรางไฟฟ้าสายแรกของบางกอกนั้น (บางคอแหลม)
         เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1893 ระยะทางของรถรางทั้งหมด 7
         สาย มีความยาวทั้งสิ้น 48.7 กิโลเมตร คือ บางคอแหลม 9.2 กม.สามเสน 11.3
         กม.ดุสิต 11.5 กม.บางซื่อ 4 กม.หัวลำโพง 4.4 กม.สีลม 4.5 กม.และสุดท้าย
         ปทุมวัน 3.8 กม.เนื่องจากระบบรถรางสมัยนั้นเป็นระบบรางเดียว ดังนั้นทุกๆ 500
         เมตร จึงต้องมีรางสับหลีก เพื่อให้รถรางวิ่งสวนมาหลบหลีกกันได้โดยสะดวก
                   ในบางกอกมีท่ารถรางอยู่ 4 แห่งคือ ที่สะพานดำ สะพานเหลือง
         บางกระบือ และบางคอแหลม ทั้งนี้โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนท่าช้าง
                   จำนวนตู้รถรางทั้งหมดในบางกอกขณะนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด
         เนื่องจากตัวเลขอย่างเป็นทางการของแต่ละหน่วยงานนั้นแตกต่างกันออกไป
         แต่จากข้อมูลเท่าที่สืบค้นได้ ประมาณว่ามีทั้งหมด 206 ตู้
         ในจำนวนนี้แยกได้เป็น ตู้รถรางขนาดสองเครื่องยนต์จำนวน 62 ตู้
         พร้อมตู้ลากเข้าคู่กันอีก 62 ตู้ รถรางตู้เดี่ยวหนึ่งเครื่องยนต์จำนวน 54 ตู้
         และรถตู้แฝดหนึ่งเครื่องยนต์ท้ายต่อกันจำนวน 28 ตู้
                   ในตู้รถรางทุกตู้จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ มอเตอร์ขนาด 40
         แรงม้าหนึ่งตัว การที่สภาพพื้นที่เป็นที่ราบไม่มีความต่างระดับ
         ทำให้พลังงานในการขับเคลื่อนต่ำ จึงทำให้รถรางวิ่งช้ากว่าที่ควรจะเป็น
                   ได้มีการสร้างตัวตู้รถมาตรฐานแบบห้าตอน( five-bay
         body)โดยตู้รถรางจะมีหน้าต่างที่ เปิดโล่งด้านข้าง
         และกั้นด้วยไม้เป็นซี่ตามยาว ตู้รถรางในบางกอกโดยทั่วไป
         มีที่นั่งขนานตามทางยาวกับตัวตู้สำหรับ 26 ที่นั่ง
         มีที่ว่างตรงกลางให้ผู้โดยสารยืนได้ 34 คน
         ช่วงสองตอนข้างหน้าจะกันไว้เป็นที่นั่งผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
                   ปลายปี ค.ศ.1950
         รถตู้แบบเครื่องยนต์เดี่ยวได้รับการประกอบตัวถังใหม่
         โดยชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบถูกนำเข้ามาจากบริษัทโอลด์เบอรี่ เบอร์มิ่งแฮม
         ประเทศอังกฤษ รถตู้เหล่านี้ได้มีการติดหน้าต่างกระจกทั้งคัน
         ส่วนมากจะใช้ตู้โดยสารแบบ บริลล์ 21อี แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้แบบ Peckham
         cantilever สำหรับสีของตัวถังรถรุ่นใหม่นี้โดยทั่วไปจะมีสีเหลือง-แดง
         และมีแถบคาดสีขาว
                   ช่วงกลางปี ค.ศ.1950 นี้เอง
         ภายหลังจากที่กิจการรถรางถูกโอนจากการไฟฟ้าบางกอก (Bangkok Electric Works)
         ไปอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้านครหลวง (the Metropolitan Electric
         Authority/MEA)
         ผู้บริหารของการไฟฟ้านครหลวงได้แสดงความประสงค์ที่จะยกเลิกกิจการรถราง
         และให้มีรถเมล์วิ่งแทน อย่างไรก็ดี จนกระทั่งถึงช่วงปี ค.ศ.1961-1962
         รถรางทั้งหมดถูกแทนที่โดยบริษัทรถเมล์เอกชน จะเหลือก็เพียง 2
         สายรอบกรุงเก่าเท่านั้น ซึ่งได้ดำเนินกิจการต่อมาจนถึงปี ค.ศ.1968
         หลังจากนั้นเหลือรถรางเฉพาะแบบตู้เดี่ยวเพียง 16 ตู้
         ปริมาณรถรางที่ให้บริการในจำนวนน้อยเช่นนี้
         ประกอบกับความช้าของการขับเคลื่อนไม่ทันใจผู้ใช้บริการ
         เนื่องจากในสมัยนั้นเมืองไทยมีรถมอเตอร์ไซด์ใช้แล้ว เมื่อการจราจรหนาแน่นขึ้น
         และรถรางต้องวิ่งตัดผ่านถนนต่างๆ ทำให้ยิ่งเกิดความล่าช้า
         การตัดสินใจจะยกเลิกระบบรถรางจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 1968
         โดยกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการตามข้อเสนอของการไฟฟ้านครหลวง ที่ให้เหตุผลว่า
         รถรางทั้ง 2 สายที่เหลือนั้น ประสบการขาดทุนโดยเฉลี่ยเดือนละ 7000 บาท
         ทั้งที่มีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์รถรางเอาไว้ 2 ตู้
         แต่ก็ได้ขายรถทั้งหมดในราคาตู้ละ 8000 บาท........................”
                   จากข้อมูลในหนังสือโมเดิร์น แทรมเวย์ ได้ทำให้เราทราบด้วยว่า
         นอกจากรถรางในเมืองหลวงแล้ว ยังมีรถรางสายชานเมืองวิ่งไปยังปากน้ำด้วย
         ซึ่งได้ยกเลิกไปเมื่อปี ค.ศ.1954 นอกจากนั้น
         การไฟฟ้านครหลวงก็ได้เปิดบริการรถรางที่เมืองลพบุรีด้วย เมื่อวันที่ 31
         มกราคม ปี ค.ศ.1955 มีระยะทาง 5.75 กม.ดยใช้ตู้รถรางเก่าจากบางกอก
         รถรางเมืองลพบุรีนี้ ดำเนินการอยู่เพียง 7 ปีก็ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1962
                   ได้มีความพยายามที่จะเปิดดำเนินกิจการรถรางไฟฟ้าในจังหวัดอื่นด้วย
         เช่น เชียงใหม่ โคราช และสงขลา แต่ก็ไม่ปรากฎผลสำเร็จ
                   จากปี ค.ศ.1968 เป็นต้นมา
         ก็ไม่ปรากฎรถรางๆไฟฟ้าวิ่งในเมืองไทยอีกต่อไป


    ในรูป เป็นบริเวณประตูคุกเก่า สามยอด ด้านขวามือในรูปเห็นรถ สามล้อ หน้ากบ ( เป็นสามล้อที่มีรูปร่างน่ารัก สูญหายไปจากถนนนานแล้ว เหลือแต่สามล้อแบบที่เห็นในปัจจุบัน

    แก้ไขเมื่อ 24 ก.ค. 51 14:19:07

     
     

    จากคุณ : LODI - [ 24 ก.ค. 51 14:16:31 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom