ขุนช้าง - ขุนแผน ฉบับ นิทานข้างกองฟาง # ๒๒ ฟ้าฟื้น และ สีหมอก
|
|
พ่อแม่พี่น้องที่เคารพ ขอรับ อาวุธคู่กาย ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ของนักรบไทย ก็คือ
ดาบ
ซึ่งเหล่าขุนทหารทั้งหลาย ก็ต่างแสวงหาเหล็กน้ำดี วิธีตีสาระพัน แล้วแต่ ตำราใคร ตำรามัน แหละ ขอรับ
แต่ในนิทานเรื่องนี้ ดูเหมือนกับว่า พ่อพระเอกขุนแผนของเรา จะได้ ดาบ ที่เรืองอิทธิฤทธิ์เป็นพิเศษ เพราะได้รวบรวม สรรพศาสตรา และตำราตีที่ขมังเวทย์ มาไว้ด้วยกันเลย
ตั้งแต่หา วัตถุดิบ กันเลยทีเดียว ดังนี้ ขอรับ
จะจัดแจง ตีดาบ ไว้ปราบศึก ตรองตรึก หาเหล็ก ไว้หนักหนา ได้เสร็จสม อารมณ์ ตามตำรา ท่านวางไว้ ในมหา ศาสตราคม
เอาเหล็กยอด พระเจดีย์ มหาธาตุ ยอดปราสาท ทวารา มาประสม เหล็กขนัน ผีพราย ตายทั้งกลม เหล็กตรึงโลง ตรึงปั้นลม สลักเพชร
เหล็กหอกสัมฤทธิ์ กริชทองแดง พระแสงหัก เหล็กปฏัก สลักประตู ตะปูเห็ด พร้อมเหล็ก เบญจพรรณ กัลเม็ด เหล็กบ้าน พร้อมเสร็จ ทุกสิ่งแท้
เอาเหล็กไหล เหล็กหล่อ บ่อพระแสง เหล็กกำแพง น้ำพี้ ทั้งเหล็กแร่ ทองคำ สัมฤทธิ์ นาก อแจ เงินที่แท้ ชาติเหล็ก ทองแดงดง ฯ
ก็สารพัดเหล็กทีเดียวแหละ ขอรับ
จากนั้น ก็ถึงกรรมวิธี หล่อเหล็ก ตีเหล็ก
เริ่มด้วยการสุมไฟ หลอมเหล็กทั้งหลาย ที่คัดมาดังกล่าว ให้เป็นแท่งเดียวกัน แล้วแช่ใน น้ำยา สูตรพิเศษ ไว้อีกสามวัน จึงตีเหล็กนั้น ให้เรียวลงเป็นรูปดาบ
ตีไปเรื่อย ๆ จนครบเจ็ดครั้ง แล้วก็รอฤกษ์ดี
ที่จัก ตีเป็นดาบจริง
คือ วันเสาร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ ซึ่งก็จะต้อง ตั้งมณฑลพิธี โดยปลูกศาลเพียงตาขึ้น จัดหาเครื่องบัตรพลี
(ไม่ใช่บัดกรีนะขอรับ)
มีหัวหมูบายศรี เป็ด ไก่ ธูป เทียน ทอง และจัดหาเครื่องมือ
เช่น ทั่งตีเหล็ก เครื่องสูบลม เตาถ่าน เป็นต้น
ครั้นได้ฤกษ์ ก็เริ่มพิธี ตีดาบ ดังนี้ ขอรับ
ช่างเหล็กดี ฝีมือ ลือทั้งกรุง ผ้าขาวนุ่ง ผ้าขาวห่ม ดูคมสัน วงสาย สิญจน์เสก ลงเลขยันต์ คนสำคัญ คอยดู ซึ่งฤกษ์ดี ครั้นได้ พิชัยฤกษ์ ราชฤทธิ์ อาทิตย์ เที่ยงฤกษ์ ราชสีห์ ขุนแผน สูบเหล็ก ห้แดงดี นายช่างตี รีดรูป ให้เรียวปลาย
ที่ตรงกลาง กว้างงาม สามนิ้วกึ่ง ยาวถึง ศอกกำมา หน้าลูกไก่ เผาชุบ สามแดง แทงตะไบ บัดเดี๋ยวใจ เกลี้ยงพลัน เปนมันยับ
อานดี มิได้มี ขนแมวพาด เลื่อมปราด เนื้อเขียว ดูคมหนับ เลื่อมพราย คล้ายแสง แมลงทับ ปลั่งปลาบ วาบวับ จับแสงตะวัน
ด้ามนั้น ทำด้วยไม้ ชัยพฤกษ์ จารึก ยันต์พุทธจักร ที่เหล็กกั่น เอาผมพราย ร้ายดุ ประจุพลัน แล้วเอาชัน กรอกด้าม เสียบัดดล
ครั้นเสร็จสรรพ จับแกว่ง แสงวะวับ เกิดโกลา ฟ้าพยับ โพยมหน เสียงอื้ออึง เอิกเกริก ได้ฤกษ์บน ฟ้าคำรน ฝนพยับ อยู่ครั่นครื้น
ฟ้าผ่า เปรี้ยงเปรี้ยง เสียงโด่งดัง ขุนแผนฟัง จิตฟู ให้ชูชื่น ได้นิมิตร ฟ้าเปรี้ยง ดังเสียงปืน
ใ ห้ ชื่ อว่ า ฟ้ า ฟื้ น อั น เ ก รี ย ง ไ ก ร ฯ
ตรงนี้ กระผม อยากให้พ่อแม่พี่น้อง ลองสังเกต ถึงความเป็นเคล็ด ในรายละเอียด ของดาบฟ้าฟื้น เล่มนี้
เช่น กลางใบดาบ กว้างสามนิ้วครึ่ง ยาวหนึ่งศอก บวกกับ อีกหนึ่งกำมือต่อ ปลายดาบ เป็นแบบที่เรียกว่า หน้าลูกไก่
(อันนี้ยังสงสัยอยู่ ?)
และ เวลาตี ต้อง เผา ดาบ แล้วชุบน้ำ ถึงสามครั้ง เนื้อเหล็กจึงจะ ละเอียดระยิบระยับ ไม่มีตำหนิ
อย่างที่เรียกว่า อานดี ไม่มี ขนแมวพาด นั่นแหละ ขอรับ
ส่วนด้ามดาบ ก็ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ อันเป็นไม้มงคล สักยันต์พุทธจักร
ในด้ามกลวง บรรจุผมผีพราย
(ไม่ทราบว่าไปเอามาจากไหน)
และเมื่อสำเร็จเสร็จสรรพ จับกวัดแกว่ง ก็เกิดฟ้าพยับอื้ออึง จึงตั้งชื่อให้ว่า
ฟ้าฟื้น
นอกจากนี้ ยังมีที่กล่าวถึงฝักดาบ ว่าทำด้วยไม้ ระงับสรรพยา ลงรักสีดำ กาบหุ้ม ด้วย ทองคำบางตะพาน ทองคำลือชื่อ แห่งเหมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สมรรถนะ ก็คือ สามารถ ฟันต้นรัง ขนาดสามกำครึ่ง ขาด จากการลงดาบเพียงครั้งเดียว
(ถ้าเป็นคน ก็เรียกว่า สะพายแล่ง เลาะซี่โครงกัน ยังกะฟัน ด้วยพระแสงของ้าวกัน ทีเดียวแหละ ขอรับ )
. . . . .
* ถึงตรงนี้ ก็คงจะต้อง ขอความกรุณา จาก พี่น้องผองเพื่อน อีก สักครั้ง แล้วแหละ ขอรับ
คือ . . .
คำศัพท์ แล รายละเอียด ที่ปรากฎ ใน ฉบับหลวง
ในเรื่องของ วิชา ช่างเหล็ก แล วิชา ช่างดาบ นั้น
ถ้าท่านผู้รู้ ท่านใด จะกรุณา อธิบาย รายละเอียด
ดังที่เคย เมตตา นิทาน เรื่องนี้ มาแล้ว
กระผม ก็ ขอความกรุณา นะครับ.
แฮ่ . . . ) *
. . .
แล้ว ขุนแผน จึง ตบรางวัลนายช่างตีดาบ ไปด้วยเงินถึง สิบห้าบาท ทีเดียวแหละ ขอรับ
. . . . .
เสร็จสรรพธุระจากเรื่อง ดาบ แล้วก็คงต้องว่ากันถึงเรื่อง
ม้า
กันบ้างละขอรับ
. . . . .
จะกล่าวถึง หลวงทรงพล กับ พันภาณ กับไพร่สามสิบสี่คน ก็ได้รับพระราชโองการ ให้ไปรับม้า ที่ หลวงศรีวรข่าน ไปซื้อมาจากประเทศนอก ที่เมือลง ตะนาวศรี
(น่าจะเปน ม้า อิหร่าน นะฮะ เพราะเคยได้ยินว่า
หลวงศรีวรข่าน
เปนตำแหน่ง ขุนนาง แขก เจ้ากรม ท่าขวา ว่าการค้าขายทางต่างประเทศ ในสายของ พ่อค้าแขก ประมาณนั้น นะครับ . . .)
. . . แต่ก็ต้องรออยู่ ที่เมืองมะริด ตั้งครึ่งปี เนื่องจาก ต้องรอ ฤดูลมสำเภา
หลวงศรี ฯ จึงได้กลับมา พร้อมกับ ม้าไทย และม้าเทศ ถึงหกสิบห้าม้า
แต่ . . .
ก็มีม้าอยู่ตัวหนึ่ง ชื่อ
ม้าสีหมอก
เป็นลูกของ อีเหลืองเมืองมะริด กับ ม้าน้ำ ที่เป็นพ่อ
(คงจะเป็นชื่อเฉพาะอะไรสักอย่างหนึ่งนะขอรับ หวังว่าคงจะไม่ใช่พวกเดียวกัน กับที่บอกพวกไอ้ตัวเล็กว่า ม้วนหางสิลูก เป็นแน่)
ม้าสีหมอกตัวนี้ เกิดวันเสาร์ ขึ้นเก้าค่ำ
มันหลงตามแม่มันมาเข้ากอง เห็นเขาต้อนม้าหลวงข้ามน้ำมาเป็นฝูง ก็ตามมา
พอเขาพักม้าที่ เขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
ม้าสีหมอก ก็ อาละวาด กัดกับม้าเทศ จนหลวงทรงพล แกขัดใจ พยายามไล่แห่ แต่มันก็ไม่ยอมไป คงติดตามกองม้าหลวงมาเรื่อย ๆ จนเป็นที่เกลียดชัง ของเจ้าพนักงาน ผู้ควบคุมกองม้านั้น ยิ่งนัก
ก็พอดี พ่อขุนแผน เรา ก็ผ่านมาพบพอดี พอเห็น ม้าสีหมอก เข้า ก็รู้สึกถูกชะตา เป็นอันมาก จึงเข้าไปเจรจาขอซื้อ . . .
ครานั้น ขุนแผน แสนสนิท ทุกทิศ ลือทั่ว กลัวสยอง เห็นม้า สีหมอก ออกลำพอง สมปอง ปรารถนา ที่นึกไว้
ลักษณะ ถูกต้อง ตำราสิ้น ดังองค์อินทร์ เทวราช ประสาทให้ ท่วงที แคล่วคล่อง ว่องไว ก็เข้าไป หาหลวง ทรงพลพลัน
อาชา ตัวน้อย ของท่านฤา จะขายซื้อ ฤาเอาไว้ อย่างไรนั่น หากกระไร จงได้ เมตตากัน จะขอปัน ซื้อม้า สีหมอกไป ฯ
หลวงทรงพลจึงว่า
โอ๊ย ทูลหัวทูนเกล้าไปเลย เจ้าประคุณเอ๋ย
ม้าเวรตะไลอะไร ซนเป็นบ้า อย่างนี้ เกิดมา จนแก่ จนเปนนายกองคุมม้าหลวง ก็นานมาแล้ว ไม่เคยพบไม่เคยเห็น อย่างนี้
มันไม่ใช่ม้าหลวงดอก แต่มันติดแม่มาจาก เมืองมะริด
เอ้า . . . ถ้าพ่ออยากจะซื้อจริง ๆ ละก็ . . .
ฉันจะขายให้ก็ได้ . . .
แล้ว หลวงทรงพล ก็ขายม้าสีหมอก ให้ ขุนแผน ในราคาถึง หกสิบบาท
(สิบห้าตำลึง)
ทีเดียวเจียวแหละ ขอรับ
แถมรับทรัพย์เข้ากระเป๋าสบายไปเลย
เพราะว่าม้าสีหมอก มันไม่ได้ขึ้นบัญชีม้าหลวงเอาไว้ แต่มันตามแม่มาเอง ดังกล่าวแล้ว ขอรับ
ขุนแผนตกลงทันที ขอรับ
ขุนแผน ได้ฟัง เจ้าของว่า สมมาด ปรารถนา ที่มุ่งหมาย แก้เงิน นับให้ ไม่กลับกลาย แล้วเยื้องกราย มาที่ สีหมอกม้า
เสกหญ้า ด้วยมหา ละลวยใหญ่ เข้าใกล้ สีหมอก แล้วบอกว่า จะไป กับเรา ก็เข้ามา ยื่นหญ้าใ ห้พลัน ในทันที
สีหมอก รับหญ้า มาเคี้ยวกลืน ชมชื่น ปรีดิ์เปรม เกษมศรี ให้มีใจ จงรัก ด้วยภักดี ติดขุนแผน เดินรี่ ตามหลังไป
ขุนแผนลูบหลังสีหมอกม้า ผูกอานผ่านหน้าบังเหียนใส่ ซองหางเชิดชูดูละไม ล้วนขลิบทองของใหม่วิไลตา
ขุนแผน หยียบโกลน โผนขึ้นขี่ พาชี โผนผก ยกหน้า ควบใหญ่ ใส่น้อย รอยเรียบมา บ่าวข้า ตามหลัง สะพรั่งไป ฯ
ก็เปนอันว่า พ่อ ขุนแผน ของเรา ก็ได้ ของสำคัญ ครบสามอย่าง ดังที่ใจปรารถนาแล้วนะ ขอรับ
และ เมื่อได้
สะพาย ย่ามกุมารทอง ถือ ดาบฟ้าฟื้น ขี่ ม้าสีหมอก
กลับมาอยู่ที่บ้านแม่ ที่เมืองกาญจน์ ได้ไม่นาน
ก็มีอาการ ร้อนอาสน์ ขึ้นมา ทีเดียวเจียว ? ? ?
ก็ด้วย อ้ายเรื่องเก่า ที่ รู้ รู้ กันอยู่นั่นแล
ดังนี้ ขอรับ
. . . แสนแค้น เคืองใจ อ้ายขุนช้าง ใจกระด้าง กระเดื่องคิด ให้ผิดส่ำ มันชิง วันทองไป อ้ายใจดำ แต่สักคำ มิได้ว่า ให้เคืองใจ มิหนำซ้ำ ยังทูล ยุแยง เสียดแทง เอาลาวทอง มันทำได้ ไม่แก้แค้น ก็จะแค้น คุ้งบรรลัย เอออะไร เห็นรัก กลับหักราน
สุภาษิต ท่านประดิษฐ์ ประดับแต่ง ว่าใครคด ก็เอาแข็ง เข้าต่อต้าน ถ้าใครซื่อ ซื่อต่อจนวายปราณ นี่มันพาล เพื่อนผิด ประเพณี
ตามกรรม จะระYum ด้วยอาญา ไปเบื้องหน้า เปนไฉน ให้รู้ที่ ตัวกู ก็ลือชา ว่าคนดี พรุ่งนี้ . . . จะไป ยังสุพรรณ
จะผ่าแผ่ แล่อก ดูให้ได้ ทำให้ สมแค้น เปนแม่นมั่น จะลักวัน ทองไป ยังไพรวัน คิดแล้ว ก็ดั้น เดือดทะยาน ฯ
เอาละสิขอรับ พ่อแม่พี่น้อง รายการต่อไป ก็เห็นจะเป็นรายการ
บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ
กันเสียแล้วแหละ ขอรับ . . .
ส่วนจะเป็นไปในลักษณะไหนนั้น
ก็คงจะต้องขอยกยอดไว้
คราวหน้ากันละ
ขอรับ กระผม.
เฮ้ย . . . . .
จากคุณ |
:
พจนารถ๓๒๒
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ส.ค. 53 00:04:11
|
|
|
|