คุณ TinyNu อย่างอแงสิครับ คุณไม่กล้าตอบคำถามในคห.24 เพราะคุณตอบไม่ได้ใช่หรือไม่ครับ ไม่เป็นไรผมนึกอยู่แล้วว่าต้องมารูปนี้ คือไม่สามารถจมตอบคำถามคห.24ได้
คำถามของคุณในคห.29 ผมจะตอบให้เดี๋ยวนี้ หากผมตอบแล้วขอความกรุณาคุณตอบคห.24 ของผมด้วยนะครับ
คำถามคุณ TinyNu
1) ขึ้น VAT เป็น 10 % ในสมัยนายชวน ใช่ไหม?
ตอบ-ไม่ใช่ แวต 10เปอร์เซนต์มีอยู่สมัยเดี๋ยวคือสมัยอานันท์ พย-ธค2534 หลังจากธค.2354 แวตลดเหลือ 6.3 เปอร์เซนต์ แล้วมาขึ้นอีกเป็น 9.0 เปอร์เซนต์ เมื่อ 14 สค 2540 ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชวลิตที่มีทักษิณเป็นรองนายกฯ
ในเดือนเมษายน 2542 รัฐบาลชวนในยุคไอเอมเอฟ ได้ลดแวตลงจาก 9.0 เหลือ 6.3 และอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มก็คงร้อยละ 6.3 มาตลอดนับแต่สมัยชวน
2) ลด VAT เป็น 7% ในสมัยทักษิณ ใช่ไหม ?
ตอบ- ไม่ใช่ ภาษีแวตถูกขึ้นไปสมัยรัฐบาลพล.อ.ชวลิต จาก 6.3 เป็น 9.0 และมาลดลงสมัยชวนจาก 9.0 เหลือ 6.3 ตั้งแต่ 1 เมษายน 2542
เพื่อความกระจ่างของคุณเอง กรุณาอ่านบทความนี้
V
V
1. ไทยเคยมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 10 เปอร์เซ็นต์จริงหรือ ?
ตอบ- เคยครับ การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์นี้เกิดเมื่อประเทศของเราเริ่มจัดเก็บภาษีมูลค่านี้แหละครับ เมื่อ 22 พย.25434 โดยในเวลานั้นมีการออกพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ การขายสินค้าและบริการ และการนำเข้าในอัตราร้อยละ 10 โดยการออกพรบ.ฉบับนี้และอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 10 เปอร์เซนต์นี้ ออกในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้พันธะสัญญาหรือความกดดันใดๆจาก IMF เลย และออกมาก่อนวิกฤติการณ์ค่าเงินบาทปี 2540
อนึ่ง กฎหมายการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ตราเป็นพระราชบัญญัติก็จริง แต่ในกฎหมายในมาตรา 80 บัญญัติไว้ดังนี้ว่า....
มาตรา ๘๐ ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ ๑๐.๐ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘๐/๒
(๑) การขายสินค้า
(๒) การให้บริการ
(๓) การนำเข้า
อัตราภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ลดลงได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่ต้องกำหนดอัตราภาษีให้เป็นอัตราภาษีเดียวกันสำหรับการขายสินค้าการให้บริการและการนำเข้าทุกกรณี
นั้นคือกฎหมายนี้กำหนดอัตราการเก็บภาษีไว้ที่ร้อยละ 10 นั้นถือเป็นอัตราสูงสุดที่กฏหมายอนุญาตให้รัฐบาลจัดเก็บได้ หากจะเก็บมากว่านี้ก็ต้องนำเรื่องเข้าสภาเพื่อออกพระราชบัญญัติมาแก้ไขกฏหมายมาตรานี้ แต่หากจะเก็บน้อยกว่าร้อยละ 10 นี้ รัฐบาลสามารถทำได้เลยโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราภาษี ซึ่งต่อไปจะเห็นว่ามีหลายรัฐบาลได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ในนั้นจะมีความว่า "ให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ.abc.. แม้ว่าอัตราที่จัดเก็บนั้นจะไปสูงกว่าอัตราเดิมที่กฤษฎีกาเดิมก่อนหน้านั้นตราไว้ ดังนั้นที่ใช้คำว่า"ให้ลด" ในกฤษฎีกาเหล่านี้คำว่า "ให้ลด" ไม่ได้หมายความว่าให้ลดลงจากอัตราในกฤษฎีกาฉบับก่อน แต่หมายถึงให้ลดลงจากอัตราร้อยละ 10 ในพระราชบัญญัติ 2534 นี้นั้นเอง
2.ในช่วงก่อนและหลังวิกฤติทุนสำรองและค่าเงินบาทปี 2540 นั้นมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
ตอบ- ช่วงก่อนเกิดวิกฤติทุนสำรองและค่าเงินบาทปี 2540 รัฐบาลอานันท์ ได้ประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงมาเหลือร้อยละ 6.3 โดยมีพระราชกฤษฎีกาที่ 236 เมื่อ 26 ธค.2534
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/A/229/4.PDF
การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 6.3 นี้ยังคงอัตรานี้เรื่อยมาจนเข้ารัฐบาลพล.อ.ชวลิต (ที่มีคุณทักษิณเป็นรองนายกฯ นั้นแหละครับ) จึงได้ปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 9.0 เมื่อ 13สค 2540 โดยที่ในเวลานั้น IMF ยังไม่ได้ตกลงสัญญาอะไรกับไทยเลย ยังอยู่ในช่วงที่ไทยยื่นหนังสือแสดงความจำนงขอเงินกู้และความช่วยเหลือจาก IMF โดยหนังสือขอความช่วยเหลือและกู้เงินIMF นั้นออกวันที่ 14 สค.2540 กว่า IMF จะตอบกลับก็ดูเหมือน 20 สค.2540 การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จะเป็นการเอาใจ IMF ไว้ก่อนของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต หรือไม่นี้ อยู่เหนือการคาดเดาได้ แต่การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต เพีมจากร้อยละ 6.3 เป็นร้อยละ 9.0 นี้ ทำโดยตราพระราชกฤษฎีกา 309 ประกาศยกเลิกพระราชกฤษฎีกา 236 เดิม
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/A/039/13.PDF
(ความในกฤษฎีกาจะประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 10 ที่บังคับไว้ในพระราชบัญญัติ 2534 มาเป็นร้อยละ 9 แต่ในทางปฏิบัตินั้นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพราะกฤษฎีกาที่มีผลก่อนหน้านั้นประกาศลดมาไว้ที่ ร้อยละ 6.3 นั้นคือเท่ากับว่ารัฐบาลชวลิต ในเดือนสค.2540 เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 6.3 ในกฤษฏีกา 236 เดิมมาเป็นร้อยละ 9.0)
หลังจากไทยได้เงินกู้จาก IMF และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้มีการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเลยยังคงที่อัตราร้อยละ 9.0 ไว้มาเรื่อยในช่วงปีแรก
จนถึงในปี 2542 ซึ่งยังอยู่ในสมัย IMF นั้นแหละครับ รัฐบาลชวนได้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 9.0 มาเหลือร้อยละ 6.3 โดยออกพระราชกฤษฎีกา 353 เมื่อ1 เมย 2542 เป็นการชั่วคราวชั่วคราวตั้งแต่ 1 เมย 2542-31 มีค2544
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/022/91.PDF
และเมื่อวันที่ 3 ตค 2543 รัฐบาลชวนก็ออกพระราชกฤษฎีกาที่ 368 ให้ขยายเก็บระยะเวลาการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 6.3 ไปถึง 30 กย2544
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00019358.PDF
จากนั้นเดือนมีนาคม 2544 คุณทักษิณเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล ก็ออกพระราชกฤษฎีกาที่ 383 เมื่อวันที่16สค 2544 ขยายเวลาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 ไปถึง 30 กย2545
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00017932.PDF
การขยายเวลาที่จะคงเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 6.3 นี้ยังคงมีเป็นระยะ โดยรัฐบาลคุณทักษิณออกพระราชกฤษฎีกาที่ 407 17กย 2545 ขยายเวลาถึง 30 กย 2546 และออกพระราชกฤษฎีกาที่ 416 ขยายเวลาถึง 30 กย2548
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00102278.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00129997.PDF
ดังนั้น โดยสรุปก่อนเกิดวิกฤติทุนสำรองและค่าเงินบาทปี 2540 ไทยจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตราร้อยละ 6.3 และมาเพิ่มเป็นร้อยละ 9.0 เมื่อ 14 สิงหาคม 2540 ในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต และพอเข้ารัฐบาลชวนก็ลดลงมาเหลือ ร้อยละ 6.3 เมื่อ1 เมย 2542 ทั้งๆที่อยู่ในระยะสัญญากับ IMF และจากนั้นมาก็มีการออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อขยายเวลาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 6.3 มาตลอด ไม่มีการเก็บเพิ่มในช่วงที่อยู่กับ IMF หรือหลังจากนั้น
คำกล่าวอ้างที่ว่า "มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 เพราะ IMF บีบ จนทำให้ประชาชนเดือดร้อนกันอย่างแสนสาหัส" จึงเป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง มิหนำซ้ำ สมัยรัฐบาลชวน ยังมีการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่พล.อ.ชวลิต ไปเพิ่มจากร้อยละ 6.3 เป็นร้อยละ 9.0 ให้กลับลงมาที่ร้อยละ 6.3 เท่าเก่าเสียด้วยซ้ำ และเหตุการณ์นี้เกิดในสมัย IMF
ผมตอบคำถามคุณแล้ว คุณตอบผมได้หรือยัง