ทัศนะที่สมดุล
ถึงแม้การอ่านมีประโยชน์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าโทรทัศน์มีข้อดีเช่นกัน. มันอาจเหนือกว่าการอ่านในเรื่องการถ่ายทอดข้อมูลบางชนิด. การนำเสนอเรื่องราวทางทีวีที่น่าตรึงใจอาจถึงกับกระตุ้นความสนใจให้อยากอ่านได้.
ทัศนะที่สมดุลเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง. หนังสอืและโทรทัศน์เป็นสื่อสองชนิดที่แตกต่างกัน. แต่ละชนิดมีพลังแฝงอยู่ในตัวเองและมีข้อจำกัด. แต่ละชนิดสามารถก่อประโยชน์-หรือให้โทษได้. ใช่แล้ว การอ่านมากเกินไปถึงจุดที่แยกตัวเองอยู่ต่างหากอาจก่อความเสียหายเช่นเดียวกับการดูทีวีมากเกินไป.-สุภาษิต 18:1;ท่านผู้ประกาศ 12:12.
กระนั้น การอ่านมักจะถูกดูเบาโดยเอาความบันเทิงเชิงทัศนาการเข้ามาแทนที่.
วิธีที่บิดามารดาสามารถช่วยได้
วางตัวอย่าง ถ้าคุณเป็นคนที่ดูทีวีหามรุ่งหามค่ำ ลูกคุณคงจะเป็นเช่นนั้นด้วย. ในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกของคุณเห็นคุณคุดคู้อยู่กับหนังสือดีๆอย่างมีความสุข พวกเขาก็จะได้แง่คิดว่า คุณไม่เพียงแต่เทศน์ปาวๆว่าให้อ่านๆ แต่คุณปฏิบัติให้เห็นด้วย. ดียิ่งกว่านั้นอีก บิดามารดาบางคนอ่านออกเสียงให้ลูกๆของตนฟัง. การทำเช่นนี้ บิดามารดาจึงก่อพันธอันอลอุ่นขึ้นมา-อะไรบางอย่างซึ่งปัจจุบันขาดไปอย่างน่าเศร้าในหลายครอบครัว.
ริเริ่มจักทำห้องสมุด. มีหนังสืออยู่รายรอบ-มีหนังสือให้มากๆ เด็กจะอ่านถ้ามีหนังสือพร้อมให้อ่าน. แรงกระตุ้นให้อยากอ่านจะเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าหนังสือเหล่านั้นอยู่ในห้องสมุดส่วนตัวของเขาเอง.
ทำให้การอ่านน่าเพลิดเพลิน. มีการพูดกันว่า ถ้าเด็กชอบอ่านเขาก็ชนะศึกแห่งการเล่าเรียนไปครึ่งหนึ่งแล้ว. ดังนั้นจงทำให้การอ่านเป็นประสบการณ์ที่น่าเพลิดเพลินสำหรับลูกของคุณ. โดยวิธีใด?
ประการแรก -จำกัดเวลาในการดูโทรทัศน์ เพราะมันแทบจะมีชัยเหนือการอ่านเสมอ.
ประการที่สอง -สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการอ่าน คือให้มีช่วงเวลาและบริเวณที่เงียบสงบ อย่างเช่น ห้องสมุดส่วนตัวพร้อมด้วยแสงไฟสว่างๆชวนให้อยากอ่าน.
ประการที่สาม -อย่าบีบบังคับให้อ่าน. จัดหาหนังสือและโอกาสที่จะอ่านไว้ให้พร้อม แต่ให้เด็กพัฒนาความอยากอ่านขึ้นมา.
บิดามารดาบางคนริเริ่มอ่านให้ลูกๆของตนฟังตั้งแต่อายุยังน้อย. สิ่งนี้อาจเป็นประโยชน์ได้. พอถึงอายุสามขวบเด็กจะเข้าใจส่วนใหญ่ของภาษาที่เขาจะใช้ในการสนทนาปกติทั่วไปแบบผู้ใหญ่-ถึงแม้เขายังไม่สามารถพูดคำเหล่านั้นออกมาได้อย่างคล่องแคล่ว. เด็กๆเริ่มเข้าใจภาษา และการเรียนรู้ด้วยอัตราเร็วกว่าที่พวกเขาเรียนรู้การใช้ภาษาโดยการพูด. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงติโมเธียวว่า "ตั้งแต่เป็นทารกมา ท่านได้รู้จักคำจารึกอันศักดิ์สิทธิ์."(2 ติโมเธียว 3:15.)คำ infant (ทารก)มีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาตินว่า infans ซึ่งหมายตามตัวอักษรคือ "คนที่ไม่พูด". ใช่แล้ว ติโมเธียวได้ยินถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์นานก่อนที่ท่านสามารถพูดถ้อยคำเหล่านั้นได้.