 |
http://www.norsorpor.com/go2.php?u=http%3A%
2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fprachachat%
2Fprachachat_detail.php%3Fs_tag%
3D02com05030451%26day%3D2008-04-03%
26sectionid%3D0209
วันที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3989
(3189)
ย้อนรอย 80 ปี "ยิบอินซอย" เงียบๆ แต่มั่นคงในธุรกิจไอที โซลูชั่น
กว่า 80 ปีของ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ผ่านร้อนผ่านหนาวในธุรกิจเหมืองแร่ ปุ๋ยเคมี
บริษัทเงินทุน แม้กระทั่งอสังหาริมทรัพย์ แต่วันนี้ 98% ของรายได้บริษัทมาจาก
งานออกแบบและวางระบบสารสนเทศ (system integrator)
"เทียนชัย ลายเลิศ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ให้สัมภาษณ์
กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยิบอินซอยก้าวเข้าสู่แวดวงไอทีครั้งแรกเมื่อปี 2517 โดยเป็น
เจ้าแรกๆ ที่นำเข้าคอมพิวเตอร์เมนเฟรม รับติดตั้ง ดูแลระบบ รวมถึงฝึกอบรมบุคลากร
ของลูกค้าให้ด้วย ในยุคนั้นระบบงานสำเร็จรูปแทบไม่มี ทุกอย่างต้องพัฒนาโปรแกรม
ขึ้นเอง ลูกค้าสำคัญของยิบอินซอยคือหน่วยงานราชการขนาดใหญ่และสถาบันการเงินที่
มีกำลังซื้อสูง
งานที่มีอยู่ในมือขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นงานที่ต่อเนื่องจากโครงการเดิม อาทิ โครงการเชื่อม
ระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่ง
เป็นโครงการต่อเนื่อง จากการวางระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ตหรือ E-
customs ของ กรมศุลกากร หรือโครงการปรับปรุงระบบการนำจ่ายเงินเดือนข้าราชการ
ทั่วประเทศของกรมบัญชีกลาง เป็นต้น
ลูกค้าของยิบอินซอย ณ ขณะนี้ 80% เป็นลูกค้าภาครัฐ ที่เหลือ 20% เป็นภาคเอกชน
อาทิ สถาบันการเงิน โดยที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้จากภาครัฐ 800-900 ล้านบาท จาก
ลูกค้าสถาบันการเงินประมาณ 200-300 ล้านบาท และปีนี้คาดว่ารายได้รวมจะอยู่ที่
ประมาณ 1,800-2,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มขึ้นจากกลุ่มลูกค้าภาค
เอกชนจากที่ได้ร่วมกับพันธมิตร อาทิ SAP Software, Sun Microsystems ในการ
ขยายฐานลูกค้ากลุ่มสถาบันการเงินมากขึ้น
นายเทียนชัยกล่าวว่า ผลพวงของข้อตกลงเปิดการค้าเสรีของ FTA หรือ WTO ตลอดจน
กฎระเบียบใหม่ทางการเงิน จะทำให้สถาบันการเงินต้องปรับเปลี่ยนระบบใหม่ จึงคาดว่า
จะมีการใช้จ่ายด้านไอทีมากขึ้น ที่สำคัญทุกคนรู้แล้วว่าไม่ว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ก็ต้อง
ลงทุนระบบไอทีถ้าอยาก อยู่รอด
"ยิบอินซอยมีแผนจะขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆ แต่จะทำในสิ่งที่ไม่เหมือนคนอื่น อาทิ การ
ให้บริการย้ายระบบงานจากเมนเฟรมมาสู่ระบบเปิด เป็นอีกโอกาสทางธุรกิจที่ยิบอินซอย
มองเห็นในตอนนี้"
เพราะระบบที่ทำงานบนเมนเฟรมมีค่าบำรุงรักษาสูงมาก การปรับมาสู่ระบบเปิดจะ
สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 ใน 3 แต่ในหลายประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ ยังลังเลที่จะ
เปลี่ยน เนื่องจากการย้ายระบบถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายสูงและเสี่ยงที่
ข้อมูลจะสูญหาย ขณะเดียวกันก็กลัวว่าการปรับไปสู่ระบบใหม่จะทำให้ธุรกิจสะดุด
นายเทียนชัยกล่าวว่า บริษัทได้รับการการันตีด้านความเชี่ยวชาญในการให้บริการดัง
กล่าวจากคู่ค้า อย่างในเว็บไซต์ของซัน ไมโครซิสเต็มส์ จะมีชื่อยิบอินซอยเป็น ผู้เชี่ยว
ชาญในการย้ายระบบเพื่อแนะนำให้ลูกค้าของซันเรื่องใช้บริการ บริษัทจะอาศัยช่องทาง
และเครือข่ายของพันธมิตรใน ต่างประเทศในการที่จะขยายบริการออกสู่ต่าง
ประเทศ "โดยเฉพาะเมื่อพันธมิตรอย่าง Sun ต้องการดึงลูกค้าที่เคยใช้เมนเฟรมมาใช้
ระบบเปิดของซันมากเท่าไร โอกาสมาที่บริษัทก็มากขึ้น แต่ก็จะค่อยๆ ทำ ไม่หวือหวา
ตามสไตล์ของยิบอินซอย บุคลิกของยิบอินซอยจะเงียบๆ ไม่โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนทั่ว
ไป แต่ในวงการไอทีแล้วเราได้รับการยอมรับ ทั้งจากประสบการณ์ที่ยาวนาน และการ
ยึดมั่นในคำสัญญาที่ให้กับลูกค้ามาตลอด เพราะเชื่อว่าการสร้างชื่อเสียงและผลงานที่ดี
คือการต่อยอดธุรกิจที่ดีที่สุด"
นอกจากนั้นสิ่งที่ทำให้ยิบอินซอยแตกต่างจากบริษัทอื่นๆ คือ บุคลากรที่รู้จริง มีความ
เชี่ยวชาญ ประกอบกับบริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน จึงเน้นการทำงานแบบ long
term ไม่เน้นการทำกำไรในระยะสั้นๆ
สำหรับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่วงการไอทีต้องเจอะเจอมาตลอด ยิบอินซอย
มองปัญหานี้ว่า เป็นเรื่องปกติที่จะเจอ ความเจริญของเทคโนโลยีตำราตามไม่ทันอยู่
แล้ว จะหวังให้สถาบันการศึกษาผลิตคนออกมาให้มีความรู้ทันเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เป็น
ไปไม่ได้ บริษัทจึงเน้นการพัฒนาคนขึ้นมาเอง ซึ่งในบางครั้งเราพบว่าคนที่ไม่รู้เรื่องไอที
เลย แต่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หากได้รับการพัฒนาด้านไอทีเพิ่ม จะกลายเป็นผู้
เชี่ยวชาญด้านไอทีที่เยี่ยมมาก
แม้ว่าหลายคนจะมองว่าเป็นภาระ แต่บริษัทยอมลงทุนจ้างคนที่จบใหม่มาอบรมเพิ่ม
"การลงทุนพัฒนาด้านไอทีเป็นความรู้เฉพาะที่มีต้นทุนสูงมาก แต่ยิบอินซอยก็ยังยินดีรับ
ภาระ ยินดีจะเป็น training school ให้กับอุตสาหกรรม"
หน้า 31 วันที่ ศุกร์ เมษายน 2551
จากคุณ |
:
ลุงแอ็ด
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ก.ค. 54 14:08:21
|
|
|
|
 |