Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
กรุงเทพกำลังจมน้ำ : เรื่องจริง หรือ นวนิยาย{แตกประเด็นจาก M10848022} ติดต่อทีมงาน

ประเด็นที่แตกกระทู้มานี้ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยควรรู้
และหาแนวทางป้องกันอย่างเป็นรูปธรรมและอย่างเป็นระบบมากกว่า

ผมจึงนำบทความนี้มาให้อ่านเพื่อศึกษา จะได้สนับ สนุน แนวทางแก้ไขต่อไปครับ

..................
ที่มา http://goo.gl/POLTi

กรุงเทพฯ จะกลายเป็นทะเลจริงหรือ พื้นที่บริเวณที่มีราคาสูงที่สุด เช่น สีลม จะกลายเป็นทะเลหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น มีข้อมูลบ่งชี้อะไรบ้าง มีความเสียหายมากน้อยเพียงใด และเราควรปรับตัวอย่างไร ภาครัฐ และเอกชนควรเตรียมตัวอย่างไร??

   จากผลการศึกษาโดยห้องปฏิบัติการสึนามิและพายุคลื่น ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต โดย รศ.ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ซึ่งได้รับทุนวิจัยมูลนิธิโทเร วิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนจากบริษัท ปัญญา คอนเซาท์แตน จำกัด โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก ได้ทำการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากผลพวงของสภาวะโลกร้อน ต่อการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งมีการเสนอแนะแนวทางการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย

   สืบเนื่องจากรายงานขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สหภาพยุโรป (OECD) ได้มีการวิเคราะห์พบว่า 9 เมือง (กัลกัตตา มุมไบ ดัคกา กวางสี เซี่ยงไฮ้ โฮจิมิน ไฮฟอง ย่างกุ้ง และ กรุงเทพมหานคร) ในทวีปเอเชีย และอีก 1 เมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา คือไมอามี อาจจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติน้ำท่วมชายฝั่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับ ผลการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กรุงโคเปนเฮเกน ระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม ที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มของระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น การนิ่งเฉยต่อสถานการณ์จะทำให้เกิดการล่มสลายของสังคมที่มีความเสี่ยงสูง ความเลวร้ายจะมาเยือนอย่างไม่สามารถที่จะเยียวยาได้ทัน

   “รัฐบาลในหลายประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในลำดับแรก ๆ มีการร่างนโยบาย และยุทธศาสตร์ ในการเตรียมพร้อมรับมือ ในขณะที่รัฐบาลไทยยังนิ่งเฉย วนเวียนกับปัญหาการเมืองที่ไม่มีทีท่าว่าจะยุติ เลยไม่ได้ใส่ใจต่อเหตุการณ์ ยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปเท่าไร ความรุนแรงจะมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากภัยพิบัติไม่สามารถที่จะรอเวลาได้ เมื่อถึงเวลานั้น เศรษฐกิจและสังคมจะล่มสลาย ต้องย้ายเมืองหลวงหนีน้ำ ใครจะรับผิดชอบ หรือจะโทษภัยธรรมชาติ”

   ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้ทำการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยง และความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชาวกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อมองหาแนวทางป้องกัน และลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองหลวงของเรา

   เมื่อกลับมาดูในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เราพบว่าในระยะหลัง เรารู้สึกร้อนขึ้นใช่หรือไม่ จากข้อมูลอุณหภูมิที่วัดได้ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา พบว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายวันเพิ่มขึ้นประมาณ 1ํC ในขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยรายวันเพิ่มขึ้น 2ํC ผลพวงดังกล่าวทำให้กรุงเทพฯ เกิดแรงขับเคลื่อนภายนอกที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงมาก กับการจมน้ำ แรงขับเคลื่อนดังกล่าวประกอบไปด้วย 1) ปริมาณฝนตก และปริมาณน้ำเหนือมากขึ้น 2) ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และชายฝั่งถดถอย 3) แผ่นดินทรุดตัว 4) ความแออัดของชุมชนเมือง

 
 

จากคุณ : กราสิก
เขียนเมื่อ : 25 ก.ค. 54 11:32:03




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com