จากเซลส์แมนสู่เอ็มดี ตอนที่ 63 จากสมาคมคอมพิวเตอร์ ถึง สมาคม เอทีซีไอ...โดย "ลุงแอ็ด"
|
 |
จากเซลส์แมนสู่เอ็มดี ตอนที่ 63 จากสมาคมคอมพิวเตอร์ ถึง สมาคม เอทีซีไอ
ลุงแอ็ดเกิดมาเพื่อยึด นักขาย เป็นอาชีพ ขายมันดะ... ตั้งแต่เครื่องบวก
เลข เครื่องปรุเช็ค ตู้เซฟ ตู้เก็บเอกสาร จนย้ายขึ้นมาขายเครื่องจักรลง
บัญชีให้ธนาคาร เครื่องละ แสนกว่าบาท จนกระทั่งบริษัท ยิบอินซอย เอา
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดน้องๆ เมนเฟรมเข้ามาขาย ก็ต้องเป็นหน้าที่
ของ ลุงแอ็ด อีก ที่ต้องจัดการให้มันเกิดขึ้นมาให้ได้
อันคำว่า นักขาย นี้ มันต้องขายกับ คน ..... ดังนั้น ถ้าคุณเป็น คน
ที่คนรู้จักเยอะๆ หรือมีญาติโยโหติกา เป็นคนดัง เป็นคนในเครื่องแบบ เป็น
ข้าราชการการผู้มีอำนาจ หรือนามสกุลที่เอ่ยขึ้นมา คนก็ร้อง "อ๋อ !" แล้วละ
ก็ เป็นอันได้เปรียบชาวบ้านเขาเป็นหลายลี้หลายขุม โดยเฉพาะ คนไทย
เป็นคนที่ชอบคน ที่มีคนรู้จักเยอะๆ เป็นคนดัง มีหน้ามีตา มีคอนเนกชั่น การ
เข้าพบ เข้าหา ก็มีอันเป็นได้เปรียบเหลือหลาย
ดังนั้น IBM เจ้าพ่อของ คอมพิวเตอร์จึงมักจะนิยมเอานามสกุลดังๆ เข้ามา
เป็นพนักงานขาย เช่น...จารุวัฒน์, ชยางกูร ณ อยุธยา หรือไม่ก็...ทอง
เจือ อย่างเจ้า ภิญโญ ทองเจือ เพื่อนของลุงคนนี้ แค่เดินเข้าไปใน Office
สาวๆ ก็ร้อง กรี๊ดๆ ๆ ๆ.... พลางรุมล้อมกันขอลายเซ็นกันให้วุ่นไป
ลุงคงรู้อนาคตของลุงดี ตั้งแต่ลุงเป็นเซลส์กระจอก เมื่อตอนอายุ 19 ว่า....
ขืนเอ็งทำตัวกระจอก เป็นแค่....ถาวรมาศ.... เฉยๆ ใครเขาจะรู้จักเอ็ง
และเอ็งจะไปขายใคร ดังนั้น ลุงก็เลยพยายามเข้าสมาคม ทำงานให้หน่วย
งานอาสาสมัคร ต่างๆ ตั้งแต่เป็นเซลส์ใหม่ๆ
สมาคมแรกที่ลุงเป็นสมาชิก ก็ได้แก่ ยุวสมาคม หรือ JC Thailand ซึ่งเป็น
สมาคมของต่างประเทศ มีสมาชิกกว่า 500,000 คน ใน 80 ประเทศทั่วโลก
ทำประโยชน์ให้แก่สังคมโดยจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นต้นว่า จัดทำประโยชน์ให้
แก่สาธารณะ ทำกิจกรรมให้เด็กพิการ เป็นสมาคมที่สอนให้คนเป็นทั้ง ผู้
นำ และ ผู้ตาม ที่ดี
ลุงเป็นสมาชิกของ ยุวสมาคม สาขาธนบุรี ทำกิจกรรมแข่งกับชาวต่าง
ประเทศจนเป็นที่โด่งดัง หนังสือพิมพ์ลงกันเกรียวกราวทุกฉบับ แต่กรรมการ
ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศเขาอ่านไม่ออก เพราะมันเป็นข่าวภาษาไทย
เพราะเราส่งเข้าไปประกวดทั้งดุ้น ก็เลยได้ที่สองไป ที่หนึ่ง ชาวฟิลิปปินส์
เอาไปครอง
ถัดจากสมาคมเจซี ลุงก็เริ่มเป็นไลออนส์ โดยเป็นสมาชิกก่อตั้งสโมสร
ไลออนส์อยู่หลายปี จนพรรคพวกที่เมืองนนท์เห็นว่า เมืองนนท์ ยังไม่มี
สโมสรโรตารี่ ก็เลยมาเป็นคณะผู้ก่อตั้งสโมสรโรตารี่ สาขานนทบุรีขึ้น
จะเห็นได้ว่า ตลอดชีวิตของลุง จะอุทิศให้สมาคม หรือสโมสรการกุศลเสีย
ครึ่งหนึ่ง ทำงานบริษัทฯ อีกครึ่งหนึ่ง ให้ครอบครัวอีกครึ่งหนึ่ง เหลืออีกครึ่ง
หนึ่งไว้กินเหล้า เมายา เล่นก็อล์ฟ ตามประสาคนหนุ่มที่กำลังรุ่งโรจน์ด้วย
เพื่อน และสังคม
ทำไมลุงจึงต้องเข้าหาสังคม.....ก็เพราะ งานขาย มันบังคับ ที่ทำให้ลุงต้อง
รู้จัก คน แล้วถ้าลุงเป็นแค่เด็ก ที่จบ ปวช. นามสกุล ถาวรมาศ ที่ไม่มี
ใครรู้จัก เงินก็ไม่มี ทรัพย์สินเงินทองก็ไม่มี เกียติยศชื่อเสียงก็ไม่มี ไม่มี
อะไรทั้งนั้น ใครเขาจะมาต้อนรับเรา สนใจใยดีกับเรา และถ้าเราไปเสนอ
ขายอะไร ใครเขาจะซื้อ ใครจะฟัง และซื้อของจากเรา
ดังนั้น การที่ลุงต้องไปยุ่งกับสมาคมต่างๆ นอกจากจะได้บุญ ได้กุศล และ
มันสนุกที่ได้รู้จักคนโน้นคนนี้แล้ว สิ่งที่เป็น สิ่งพลอยได้ อีกอย่างหนึ่ง
คือ เพื่อน
อย่างเพื่อนที่สนิทกันตั้งแต่สมัยทำงานเจซีอยู่ด้วยกัน ก็คือ คุณประพัฒน์
โพธิวรคุณ ซึ่งเป็นถึงนายกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสองสมัย
ซ้อน คุณจักรมณฑ์ ผาสุขวนิชย์ อดีตผู้อำนวยการเศรษฐกิจการคลัง อดีต
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นี่ก็เป็นเจซี ยังมีเจซีรุ่นพี่ เช่น นพ. กระแส
ชนะวงศ์ ,พี่หมอเฉก ธนะศิริ แม้กระทั่ง คุณชวรัตน์ ชาญวีระกุล อดีต
รัฐมนตรีมหาดไทย หรือ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ หรือคุณเอเนก สิทธิประ
ศาสตร์ ก็เคยเป็นเจซีอยู่ตามสาขาต่างๆ เคยทำกิจกรรมร่วมกัน ไปค้าง
คืนด้วยกัน สนุกสนาน สรวลสรรค์เฮฮากัน ซึ่งเพื่อนๆ พี่ๆ เหล่านี้ ก็ยังไปมา
หาสู่กันเป็นประจำ เมื่อมีงานระลึกของเจซีในปัจจุบัน
พอลุงเข้ามาบริษัท ซัมมิท คอมพิวเตอร์ ลุงเห็นรางร้ายที่จะเกิดตั้งแต่ปี พ.
ศ. 2521 ตั้งแต่ลุงเข้าไปใหม่ๆ แล้ว ลุงเดินเข้าไปเหยียบในซัมมิทฯ ตัวคน
เดียว ที่นั่นเต็มไปด้วยเสือ สิงห์ กระทิง แรด และโดยเฉพาะ สหภาพแรง
งาน..........ซึ่งจะต้องเกิดเรื่องมิดีมิร้ายขึ้นกับบริษัทที่ลุงทำงานอยู่สักวัน
หนึ่ง
ลุงถือสุภาษิตที่ว่า จะเอาลูก:-)็ต้องเข้าถ้ำเสือ ถ้าจะเอาชนะคู่แข่ง ก็
ต้องเข้าไปอยู่ วงใน คือในกลุ่มของพวกชาวคอมพิวเตอร์ให้ได้
นั่นเป็นเหตุให้ลุงต้องเข้าสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่เข้าไป
ในซัมมิทใหม่ ซึ่งในสมัยนั้น สมาคมคอมพิวเตอร์ฯ เป็นสมาคมของนัก
วิชาการกลุ่มเล็ก มี ดร.บุญรอด บิณสันต์ เป็นนายกสมาคมอยู่ กิจกรรมก็มี
การสัมมนา เสวนากันปีละเรื่องในเรื่องกิจการของคอมพิวเตอร์
แต่พอคุณอมร เข้าไปในสมาคม คุณอมรไม่ได้เข้าไปคนเดียว คุณอมร
ชักชวนเอาเพื่อนๆ ที่เป็นทั้งผู้ค้า และคู่แข่งเข้าไปด้วย เช่นคุณมนู จาก
Datamat, คุณดิลก จาก CDC, คุณตรีจักร จากล็อกซเล่ย์, คุณสุธรรม จาก
NCR และได้พี่ใหญ่ จาก IBM คือคุณประวิตร เข้าไปอยู่ในสมาคมด้วย.....
ทั้งหมดเรียกตัวเองว่า กลุ่มผู้ค้าคอมพิวเตอร์ เดินพาเหรดเข้าไปช่วยงาน
ของสมาคมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในขณะนั้นมีนโยบายจะจัดกิจกรรมเพื่อหาเงิน
เข้าสมาคม โดยจัดงานแสดงคอมพิวเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงแรมเซ็นทรัล
ลาดพร้าว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริษัทผู้ค้าต่างๆ นำคอมพิวเตอร์ออก
มาออกงานให้ประชาชนนิสิต นักศึกษา เขาชม
คุณอมรก็เรียกประชุมกลุ่มพ่อค้าฯ ขึ้นที่บริษัท ซัมมิท คอมพิวเตอร์ เป็นครั้ง
แรก เพื่อปรึกษาหารือ เรื่องการจัดงานแสดงสินค้าของคอมพิวเตอร์ขึ้น
และนั่นเป็น ประชุมครั้งแรกของบริษัทผู้ขายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
และพวกเราก็ได้ช่วยงานของสมาคมฯ โดยบริสุทธ์ใจ ไม่มีใครคิดจะเป็น
ใหญ่ หรือจะเข้ายึดครองสมาคมคอมพิวเตอร์ฯ ไปเพื่ออะไร เราแบ่งหน้าที่
กันชัดเจน ว่าสมาคมควรจะมีสองพวก พวกหนึ่งคือข้าราชการ นักวิชาการ
และบรรดาผู้รู้ ดอกเตอร์ทั้งหลาย และอีกพวกหนึ่งก็คือ กลุ่มผู้ค้า โดย
กลุ่มผู้ค้า จะเป็นผู้หาเงินเข้าสมาคม คอยสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี ส่วน
กลุ่มข้าราชการ นักวิชาการ ก็จัดการเรื่องสัมมนาวิชาการ ซึ่งจำเป็นสำหรับ
กิจการคอมพิวเตอร์ต่อไป
การดำเนินก็ผ่านมา ไม่มีอะไรขัดข้อง ไม่มีอะไรไม่พอใจใคร จนกระทั่ง
ถึงวันเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ในวันที่ 22 มีนาคม 2528 ซึ่งก็เกิดเรื่อง
ไม่คาดฝันขึ้น โดย สมาคมคอมพิวเตอร์ในพระราชูปถัมภ์ โดนแย่งชิง
จาก ผู้ค้าอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหนุนหลังโดยชินวัตร คอมพิวเตอร์ ดังที่ท่านจะ
เห็นได้จากข่าวในหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ ซึ่งติดตามข่าวนี้โดยละเอียด
และหลังวันนั้นมา ก็เกิดเป็นที่มาของ สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย
หรือ The Association of Computer Industry หรือ ATCI ซึ่งเป็น
สมาคมที่ดำเนินการโดยพ่อค้า เพื่อพ่อค้า และเพื่อประโยชน์ของพ่อค้า
คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ โดยมี คุณอมร ถาวรมาศ เหมารับตำแหน่ง
เป็น เลขาธิการ ของสมาคม เป็นเวลา 8 ปีซ้อน จนกระทั่งลาออกจากการ
เป็นเลขาธิการเพื่อให้คนอื่นเขาเป็นบ้าง
จากคุณ |
:
ลุงแอ็ด
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ส.ค. 54 19:04:37
|
|
|
|