Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
"ถึงเราจะไม่คิด ใครทำชั่วก็ต้องได้ชั่วอยู่แล้ว" ติดต่อทีมงาน

เวลาที่มีคนที่ทำไม่ดีกับเรา  บางครั้งคนเราโมโหจนตัวสั่นว่าสักวันขอให้ได้เอาคืน  หรือถึงแม้ไม่มีโอกาสที่จะเอาคืน ก็ยังคิดในใจขอให้เค้าวิับัติวายวอดอย่างนั้นอย่างนี้

ที่จริงแล้ว เื่รื่องแบบนี้ทำให้เราเสียเวลา เปลืองเวลา  เปลืองตัว ที่จะเอาตัวเองลงไปกลั้วกับของสกปรกกับคนสกปรก ๆ

คนเรา  ถ้าเขาทำไม่ดีกับเรามา ถ้าเราทำไม่ดีกลับไปหาเขา  เราก็เท่ากับเค้าเอง  ทีนี้ก็จะไม่มีฝ่ายไหนดีกว่าฝ่ายไหน  แต่ถ้าให้อภัย  เราจะสามรถยกใจของตัวเองให้สูงขึ้น  ปล่อยคนคนนั้นอยู่อย่างต่ำ ๆ ของเค้าไป เมื่อเราให้อภัยได้  เราก็จะเจอแต่สิ่งดี ๆ และสิ่งที่คู่ควรกับเรา  และยิ่งเรายิ่งให้อภัย  เรายิ่งคู่ควรกับสิ่งที่ถูกต้องที่จะเข้ามาหาเรา  ความแฟร์ต่าง ๆ ที่เราจะได้รับ จะเกิดทันทีหลังจากที่เราเลิกคิดว่าเค้าไม่แฟร์กับเราเลย  กลไกลของความแฟร์มีอยู่จริง  ความเบาหลังจากที่เราให้อภัยได้จะบอกกับเราเองว่าเมื่อเราวางการคิดที่จะเอาคืนแล้ว  จิตใจเราก็หายรุ่มร้อน นอนหลับ

และถึงเขาจะทำไม่ดีกับเราให้เราเจ็บช้ำ  แต่สิ่งที่ทำให้เราเจ็บช้ำกว่าคือ เจ้าความอาฆาตพยาบาท การยิ่งทำให้ใจมีความแค้นมากขึ้นเท่ากับว่าเราเลี้ยงศัตรู ซึ่งมันสามารถทำลายเราได้ทุกขณะ  แม้ขณะที่คุยกับมัน คือคิดตามมัน เราก็มือสั่น ตัวร้อน หน้าเครียด เพราะความอยากเอาคืน อยากแช่ง แต่มองกลับกัน  คนที่เราไปแช่งเค้า คิดเอาคืนเค้า ป่านนี้เค้าไปนั่งดูหนังฟังเพลงอยู่ที่ไหน ไม่ได้มาทุกข์ร้อนกับเราเลย  


ดังนั้น เมื่อเราให้อภัย  ความแฟร์ข้อแรกที่เราจะได้รับกลับมาคือ  ในเมื่อเราไม่ชอบให้คนคนนั้นมาทำไม่ดีกับเรา  เราก็จะไม่ปล่อยให้ความเลวของเค้าที่เราจำมา  มาทำอะไรเราได้เหมือนกัน  ใช่้  คนเลว ๆ แบบนั้นต้องแตะแม้รูขุมขนรูเดียวของเราให้สั่นไหวไม่ได้ เราจะไม่ยอมให้คนแบบนี้มาทำอะไรเราเด้ดขาด  ดังนั้นเราจะไม่ให้ความคิดเรื่องคนคนนี้ มาทำให้เราทุกข์ด้วย  เพราะอะไรที่เกี่ยวกับคนคนี้ที่ทำกับเรา   เราเกลียดหมด เราจึงต้องเกลียดที่จะทุกข์เำพราะคนคนนี้ด้วยเหมือนกัน


ความแฟร์ข้อต่อมา  คนเราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะผิดพลาด  แม้เราเองตั้งแต่เกิดมาเราก็ต้องเคยทำผิดต่อใครไว้บ้่างเหมือนกัน มากบ้าง น้อยบ้าง  ในฐานะปุถุชนคนเราก็ย่อมผิดพลาดกันได้  ถ้าหากวันนึงเราำทำผิด เราก็หวังที่จะมีคนให้โอกาสเรา   การให้อภัยเค้า เป็นการให้โอกาสเค้า  เพราะเราเองก็ต้องการโอกาสนั้น  เค้าก็หวังที่จะไ้ดรับโอกาสนั้นเหมือนกัน  คนเรา  ไม่มีใครอยากอยุ่กับสิ่งชั่ว ๆ เลว ๆ แต่บางครั้งกิเลสมันทำร้าย  ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี  แต่เพราะความหน้ามืด  

ทุกคนที่ทำชั่ว ๆ ลงไป  วันนึง ไม่ช้าก็เร็ว  จะได้รับผลนั้นหนีไม่ได้เลย  สสารและพลังงานไม่สูญหายไปไหน เช่นเดียวกันกับกรรมที่่ทำกับใครต่อใคร  คนเราถ้าเราไม่้ให้โอกาสเค้าเลย  เค้าจะกลับตัวได้ยังไง  ถ้าเราให้โอกาสเค้า  มันก็ทำให้เปิดช่องของโอกาสที่จะทำให้เค้ากลับมาเป็นคนดี  และรู้สึกผิด  แต่ถ้าเค้าไม่รู้สึกผิด  เราก็ไม่ผิด  นี่เ็ป็นผลของความแฟร์ข้อต่อมาที่เราจะได้รับ


ถ้าเรายังวางไม่ได้  อย่าเสียเวลาแช่ง เพราะคนเราไมไ่ด้มีอำนาจควบคุมอะไร  การแช่งไม่ใช่สิ่งที่สำเร็จผลอะไร เพราะไม่มีใครดีขึ้นด้วยพร พรือแย่ลงด้วยการแ่ช่ง  ทุกคนดีชั่วเพราะตัวทำเอง  เราไม่ต้องเสียเวลาไปคิด  เพราะถึงเราจะไม่คิด  ใครทำชั่วก็ต้องได้ชั่วอยู่แล้ว

เราไม่ต้องไปแช่งในใจ  ไปคิดว่าเมื่อไหร่เขาจะได้รับผล  มองเราดีกว่า  กรรมที่เราเคยทำไม่ดีกับใคร ๆ ไว้ก็มีเหมือนกัน  วันนี้เรายังทำกรรมนั้นอยู่หรือเปล่า  ถ้ายังทำให้เลิก  และกรรมอื่น ๆ ที่จะทำให้เราเป็นทุกข์ยังมี่อยู่ไหม  เพราะสิ่งที่คนอื่นทำไม่แฟร์กับเรา ไม่เท่ากับกิเลสที่ทำไม่แฟร์กับเราเองหรอก  คนเราไม่ีมีใครฆ่าตัวตายเพราะคนอื่นสะกดจิต  มีแต่ฆ่าตัวตายเพราะตัวเองตัดสินใจ  ความทุกข์ตลอดทั้งสังสารวัฏยังมีอีกมากโขที่เรายังละไม่ได้  เอาเวลาที่มัวใส่ใจกับความทุกข์เท่าเม็ดทรายที่คนคนนั้นทำให้มาทำลายทุกข์ที่ทำให้เราเกิด แก่้ เจ็บ ตาย แสบกว่าสิ่งที่คนคนนั้นทำกับเราให้ได้จะดีกว่า  เพราะวันนึง  เราก็ต้องตายจากคนนั้นไป  ไม่อย่างนั้นเค้าก็ต้องตายจากเราไป  แต่สิ่งที่จะตามมารังควาญเราไม่ให้สงบสุขก็คือสังสารววัฏอีก   ทุกข์เพราะคนคนนั้นเป็นเรื่องเล็ก  แต่ทุกขืเพราะสังสารวัฏเป็นเรื่องใหญ่  ถ้าเราสลายเหตุแห่งทุกข์เพราะการเวียนว่ายตา่ยเกิดได้  ตอนนั้นเราก็ไม่มองแล้วว่าเค้าเคยท่ำไม่ดีกับเรายังไง  

เพราะเรา  ลอยอยู่เหนือโลกใบนี้ไปแล้ว



- พระพุทธภาษิต -


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
อาฆาตวรรคที่ ๒
๑. อาฆาตวินยสูตร



            [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

หากความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด ให้สร้างเมตตาความในบุคคลนั้น ๑

หากความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด ใ้ห้สร้างความกรุณาในบุคคลนั้น ๑

หากความอาฆาตบังเกิดขึ้นในบุคคลใด ให้สร้างความอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑

หากความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด ให้ถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น ๑

หากความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด ให้นึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนให้มั่นในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท ผู้รับผลของกรรมนั้น ดังนี้ ๑

ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๑



อาฆาตวินัยสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4329&Z=4341&pagebreak=0

อรรถกถาประกอบพระสูตรนี้
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=161

 
 

จากคุณ : Serene_Angelic
เขียนเมื่อ : 24 พ.ย. 54 15:50:00




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com