 |
จริงครับ
เราเคยเป็น "มหาอำนาจขนส่งระบบราง"
เพราะเราออกตัวเร็ววกว่าใคร เรามีรถไฟเป็นประเทศต้นๆในเอเชียเลยด้วยซ้ำ
หากลองไปค้นประวัติของ รฟท. จะเห็นว่าเรายิ่งใหญ่ขนาดว่าญี่ปุ่นเคยมาดูงานที่บ้านเราแหละครับ
แต่ผ่านไปครึ่งศตวรรษ เราอยู่แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่พัฒนาเลย จึงทำให้หลายๆประเทศที่เคยล้าหลัง กลับแซงหน้าเราไปได้
ผมเห็นกระทู้เรื่องรถไฟทีไร ของขึ้นทุกที และอดไม่ได้ที่จะตอบ และผมก็ตอบแบบเดิมๆทุกครั้ง เพราะไม่รู้จะตอบแบบไหน
เรื่องของรถไฟเป็นปัญหาคลาสสิคครับ คลาสสิคระดับ "ขึ้นหิ้ง"ชนิดที่รัฐบาลชุดไหนๆก็แก้ไม่ได้
โลกมันแคบลงครับ รถไฟความเร็วสูงมันถึงคราวต้องมีแล้ว และจะว่าไปจริงๆแล้วเราออกตัวช้าไปพอสมควรเลยแหละ
ประเทศจีนที่เมื่อก่อนนี้เดินตามหลังเราอยู่พอสมควร ตอนนี้เขามีรถไฟความเร็วสูงใช้กันแล้ว แถมยังไม่หยุดพัฒนาโครงข่ายอีกด้วย
รถไฟธรรมดามันคือระบบขนส่งของ "รากหญ้า" ครับ ส่วนรถไฟความเร็วสูงมันคือขนส่งทางเลือก...ชื่อก็บอกแล้วว่า "ทางเลือก" คนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางแต่ไม่อยากขึ้นเครื่องบิน ก็มีทางเลือกเพิ่มขึ้น
แต่ปีญหามันอยู่ที่ "รัฐบาล" และ "สหภาพ" ครับ
รัฐเองนั้นก็ไม่สนับสนุนรถไฟเท่าที่ควรจะเป็นเท่าไรนัก ตัดถนน สร้างสะพาน ทำได้หมด แต่ดันไม่สนับสนุน "ขนส่งระบบราง"
ส่วน "สหภาพ" นั้นก็ทำตัวเป็นเหลือบดูดเลือด รฟท.มานานแสนนาน
สหภาพคือแหล่งรวมได้โนเสาร์ ทีมีผลประโยชน์แอบแฝงในแง่ของการเมือง
ในอนาคตอีกไม่นานนี้ คาดว่า Unesco จะประกาศให้ รฟท. เป็นมรดกโลกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ครับ
ผมเป็นคนรักรถไฟ หลงเสน่ห์รถไฟ นั่งมาหัวเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ
นั่งตั้งแต่หัวลำโพง ทะลุไปยัน KL ข้ามฝั่งเข้าไปสิงคโปร์มาแล้วหลายรอบ พอไปเปรียบเทียบกับม้าเหล็กของเพื่อนบ้านแล้วน้อยใจครับ
น้อยใจที่เมืองไทยมีนักการเมือง และ สหภาพฯ ที่แสนห่วย
หลายๆคนบอกว่า "แล้วทำไมไม่แปรรูปเล่า ????"
โห........การ "แปรรูป" มันไม่ง่ายหรอกครับ ตราบใดที่ยังมีสหภาพ เพราะนั่นคือ "กำแพง" มหึมา
ถ้ามันง่ายจริงๆป่านนี้ทุกๆรัฐบาลก่อนหน้านี้เขาคงทำกันไปแล้ว
อินเดียเคยมีรถไฟที่ห่วยในระดับตำนาน แต่เขากัดฟันกลืนเลือด ยอมเจ็บครั้งเดียว เขาฮึดแปรรูป จัดการบริหารเสียใหม่
จนตอนนี้รถไฟเมืองโรตีสามารถทำกำไร และเริ่มมีชื่อเสียงในการให้บริการแล้ว
ในบางสาย เช่น สาย"ราชธานี" คุณจะต้องจองกันเหงือกบวมกว่าจะได้นั่ง
ของไทยเรายังไม่มีอะไรเปลี่ยนครับ ยำเนื้อ และ ข้าวผัดรถไฟที่แสนชืด ยังเป็นเมนูนิยม
ส่วนรถไฟเมืองผู้ดีก็ใช่ย่อย
สมัยที่ "นางสิงห์เหล็ก" มากาเร็ต แธ็ทเชอร์ เป็นใหญ่ที่บ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง นางได้กระทำการในแบบที่ชายอกสามศอกยังต้องอาย
แธ็ทเชอร์สั่งแปรรูปกิจการที่ล้าหลัง เป็นไขมันถ่วงประเทศ สหภาพก็สหภาพเถอะ... มาเจอนางสิงห์เหล็กเข้า .........ถึ ง กั บ ห ง อ ห ม ด ล า ย ไ ป เ ล ย !!!!!!!!!!!!
แต่ที่ประเทศสารขัณฑ์ที่รักของเรา หากคุณคิดจะแปรรูปการรถไฟแล้วละก็ คุณจะเจอข้อหา "ขายชาติ" ในทันที
บรรดาแกนนำสหภาพไดโนเสาร์ทั้งหลาย จะประสานเสียงกันว่า "นี่คือสมบัติของ ร.5"
แต่พวกมันคงลืมไปว่า พระองค์ท่านคงไม่มีพระประสงค์ให้เราย่ำอยู่กับที่แน่ๆ
เรามีขนส่งระบบรางเป็นประเทศในลำดับต้นๆของเอเชีย แต่ผ่านไปร้อยปี ชาวบ้านเขาไปถึงไหนแล้ว ส่วนเรากลับถอยหลังเข้าคลอง การแปรรูปไม่ได้หมายถึงการขายกิจการให้เอกชนไปทั้งหมด 100% แต่เป็นการจัดการระบบการบริหารให้พ้นจากการทำงานเช้าชามเย็นชาม
แปรรูปแล้วรัฐอาจมีสัดส่วนในการถือหุ้นเท่าไรก็ว่ากันไป รัฐจะถือเท่าไร ,เอกชนจะผ้าป่าสามัคคีอีกเท่าไร..มันมีสัดส่วนอยู่ครับ
ที่ไหนๆเขาก็ให้ความสำคัญกับขนส่งระบบรางทั้งนั้น เพราะสามารถขนคนเดินทางได้จำนวนทีละมากๆ และช่วยลดภาระการนำเข้าน้ำมันของชาติได้
ยังไม่ต้องคิดถึง "รถไฟความเร็วสูง" หรอกครับ เอาแค่รถไฟที่เรามีอยู่วิ่งเข้า-ออกให้ตรงเวลาก่อนก็พอ
เพราะรถไฟความเร็วสูงนั้นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่ผมก็เชื่อว่าหากเปิดให้เอกชนมาลงทุน ก็มีคนเอาแน่นอน
แหมมม...บ้านเมืองอื่นเขาสร้างกันโครมๆ แล้วบริหารกันกำไรจนสะดือบวม เอกชนเขาไม่โง่ลงทุนในโครงการที่มองแล้วจะเจ๊งหรอกครับ
เราอาจจะกำหนดไปเลยว่า เขาต้องจ่ายค่าเวนคืน ค่าวางราง วางระบบ ค่าขบวนรถ โดยเขาจะได้สัมปทานกี่ปี เมื่อครบระยะสัมปทานแล้วก็จะตกเป็นของรัฐโดยอัตโนมัติ
ส่วนวิธีกำหนดค่าโดยสาร ก็อาจต้องโยงไปถึงตัวสัมปทานเพื่อจูงใจเอกชน
โดยหลักการให้สัมปทานก็ต้องเปลี่ยนใหม่... วิธีคิดแบบเก่าต้องเลิกให้หมด...คิดใหม่ซะบ้าง
จากที่รัฐเคยคิดแต่ว่า "ใครจ่ายสัมปทานให้รัฐสูงสุด ก็จะได้ดำเนินกิจการ" เปลี่ยนเป็น "ใครให้ผลประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ก็จะได้สัมปทาน"
ผลประโยชน์สูงสุดที่ว่า ก็คือราคาค่าโดยสารที่ประชาชนรับได้ครับ
ส่วนเรื่องค่าโดยสารที่ว่ากันว่าแพงไปจะไม่มีคนขึ้น อันนั้นผมมองว่าไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ เพราะรถไฟปกติก็ยังมีอยู่ รถไฟความเร็วสูงคุณจะเอามาวิ่งบนรางปกติไม่ได้อยู่แล้ว มันจะต้องเวนคืน และวางราง วางระบบใหม่ กันทั้งหมด
การวางรางจะต้อง "ตรง" ให้มากที่สุด เพื่อที่รถไฟจะได้ใช้ความเร็วได้อย่างเต็มที่ ทางโค้ง จุดตัดกับรถยนต์ จะต้องมีให้น้อยที่สุด อาจต้องทำสะพานข้าม หรือทำอุโมงค์ลอดก็ต้องทำ
ที่สำคัญรถไฟความเร็วสูงไม่ได้จอดบ่อยครับ เช่น จาก กทม.อาจไปจอดนครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิถต์ ลำปาง แล้วเชียงใหม่เลย
ส่วนรถไฟปกติก็ทำให้มันตรงเวลา คนที่เบี้ยน้อยหอยน้อยก็ยังได้ใช้บริการอยู่
ที่ญี่ปุ่นเคยมีกรณีเกิดอุบัติเหตุทาวรถไฟ สาเหตุเพราะรถไฟขบวนดังกล่าวเกิดการล่าช้าไปประมาณ 5 วินาที
แม่นแล้วครับ...คุณๆอ่านไม่ผิดหรอก...5 วินาที
คนขับเห็นดังนั้นเลยเร่งความเร็วเพื่อชดเชย 5 วินาทีที่เสียไป จนรถเกิดการเหวี่ยงตัวในช่วงที่เข้าโค้งและเกิดอุบัติเหตุ เหตุครั้งนี้ทำให้ผู้ว่ารถไฟ และ รมต.ที่ดูแลลาออกจากตำแหน่งครับ
นักการเมืองไทยเห็นข่าวนี้แล้วหัวเราะกันใหญ่ ค่าที่ว่านักการเมืองญี่ปุ่นทำไมหน้าบางกันเหลือเกิน
ยังไม่นับกรณีของ สส. และ สว. ที่สภาฯให้สิทธิ์ในการใช้บริการรถไฟ ในการกลับภูมิลำเนาเพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่
แต่ พณ หัวเจ้าท่านเหล่านี้ก็แทบไม่เคยมาใช้บริการรถไฟเลย ส่วนใหญ่จะนั่งกันแต่เครื่องบิน เพราะสภาจ่ายค่าตั๋วให้คนเหล่านั้นครับ
เมื่อไม่เคยมาสัมผัสรถไฟ แล้วมันจะเข้าใจคนใช้รถไฟได้อย่างไร ???
แต่ไม่ว่าจะค่าตั๋วรถไฟ หรือ เครื่องบิน นั่นก็คือเงินภาษีของคุณๆที่รักทั้งหลายครับ
กลับมาที่รถไฟความเร็วสูง ใครที่มีเงินแต่ไม่อยากนั่งเครื่องบินก็นั่งรถไฟความเร็วสูงซะ
หาก กทม.-เชียงใหม่ ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ผมว่าคงมีหลายคนเปลี่ยนจากเครื่องบินมานั่งรถไฟ
เพราะเครื่องบินอาจจะใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียวเท่านั้น แต่หากรวมเวลาที่คุณต้องออกจากบ้านไปสนามบิน ไปเช็คอินก่อนเวลาตามที่สายการบินกำหนด มันก็ถึงไม่ต่างกันเท่าไร
แต่รถไฟนั้นพาคุณเข้าไปถึงในเมืองเลย ในขณะที่สนามบินจะอยู่นอกเมืองทุกสนามบิน รวมเวลาแล้ว ผมว่าสูสีกันมากจริงๆ
แต่ก็นั่นแหละ...สหภาพมันไม่ยอมหรอก
ยกตัวอย่างกรณีที่ทุกวันนี้ รฟท.ให้เอกชนมาสัมปทานเดินรถในบางสาย เขาต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐ และต้องมีค่าประกอบการต่างๆ แต่ทำไมรถด่วนพิเศษของเอกชนถึงสามารถทำกำไรได้ แถมยังมีอาหาร ของว่าง ผ้าเย็น เสิร์ฟอีกต่างหากด้วย
ส่วนรถในสายอื่นๆที่ดำเนินการโดย รฟท.กลับบอกว่าขาดทุน
เอาหัวแม่ทีนคิดก็คงพอมองออกกันนะครับ..ไม่ต้องถึงขนาดสมองหรอก..
ทุกครั้งที่สหภาพประท้วง ผมชอบสนับสนุนการประท้วงของสหภาพครับ เพราะเป็นโอกาสอันดีที่รัฐจะ "ไล่ออก" ให้หมด
ถือโอกาสนี้เอาเหลือบพวกนี้ไปให้พ้นๆซะเลย แล้วสังคายนาการรถไฟเสียใหม่ทั้งหมด
ยิ่งหากคุณๆได้รู้เห็นว่าคนอย่างอดีตแกนนำสหภาพบางคน ว่าร่ำรวย ล่ำซำ ขนาดไหนแล้ว...หึหึหึ...คุณๆคงหายสงสัยเลย ว่าทำไมพวกนี้ถึงไม่ยอมให้มีการแปรรูปการรถไฟแห่งประเทศสารขัณฑ์
นักการเมืองอกสามศอกของบ้านเรา หากทำไม่ได้ ก็กรุณาอายผู้หญิงอย่างมากาเร็ต แธ็ทเชอร์ บ้างเถอะครับ !!!!!
เสียดายภาษีที่จ่ายไปทุกเดือนจริงๆ......ฮ่วยยยย...
รีบๆทำเลยครับ ไอ้รถไฟความเร็วสูงเนี่ย อย่างน้อยมันรองรับการ้าวเข้าสู่ความเป็น "ประชาคมอาเซี่ยน" แน่ๆ เพราะมันคือหนึ่งในโครงสร้างพื่นฐานของภูมิภาคนี้อย่างแน่นอนครับ
เหมือนที่ยุโรปมี "ขนส่งระบบราง"ที่เชื่อมต่อกัน และทุกชาติก็ได้ประโยชน์
ผมไม่อยากจะโยงไปการเมือง แต่ รฟท. กับ นักการเมืองมันแยกกันไม่ออกจริงๆครับ
หนึ่งในอดีต ปธ.สหภาพการรถไฟ มีชื่อว่า "นายสมศักดิ์ โกสัยสุข" ...... อดีตแกนนำพันธมิตร ที่ตอนนี้เป็น หน.พรรคการเมืองใหม่
คงพอเห็นผลงานของพี่แกในการเป็นหัวเรือของสหภาพกันบ้างนะครับ
สหภาพเป็น "ฐาน" ใหญ่ให้กับการเมืองมาโดยตลอด มีอำนาจในการต่อรอง มีกำลังคนเอาไว้กดดันหากไม่ได้ดั่งใจ ทุกครั้งที่เกิดข้อขัดแย้งกับรัฐ สหภาพจะเอา "ประชาชนเป็นตัวประกัน"
ด้วยการประกาศหยุดเดินรถไปซะทุกครั้ง...คนเดือดร้อนก็ชาวบ้านนั่นแหละ
ในส่วนรัฐบาลนั้น ไม่ว่ายุค ชวน,ชวลิต,บรรหาร,อานันท์ ทักษิณ, สุรยุทธฺ, สมัคร, สมชาย หรือแม้แต่กระทั่งยิ่งลักษณ์ก็เถอะ....ไม่มีใครทำอะไรสหภาพได้หรอก
จะมีก็แค่ในยุค "เผด็จการจ๋า" ในคราวสุจินดา ที่สหภาพหนีหายลงไปกบดานอยู่ในรูเงียบกริบ เพราะเผด็จการทหารในตอนนั้นทำเอาผู้นำแรงงานหายไปแบบ "เงียบๆ"
อย่างเช่น "ทนง โพธิ์อ่าน" ไงละครับ....
ผมละอยากให้มีใครมา "อุ้ม" พวกสหภาพ รฟท.ซะจริงๆ
แม้รถไฟไทยมันจะแย่แค่ไหน ผมก็ยังรักรถไฟไทย แต่ขอสาปส่ง ผู้บริหาร ,นักการเมือง และ สหภาพฯ
......โคดเบื่อเลยว่ะ !!!!!!!
จากคุณ |
:
ตุ้ม (Toom McCartney)
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ก.พ. 55 11:30:20
|
|
|
|
 |