 |
เหรียญสลึง - ทำจากเหล็กกล้าชุบทองแดง เหรียญห้าสิบสตางค์ - ทำจากเหล็กกล้าชุบทองแดง เหรียญบาท - ทำจากเหล็กผสมนิกเกิ้ล เหรียญ 2 บาท - อะลูมิเนียมบรอนซ์ เหรียญ 5 บาท - คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง เหรียญ 10 บาท - วงแหวน: คิวโปรนิกเกิล ตรงกลาง: อะลูมิเนียมบรอนซ์
เหรียญบาทและเหรียญ๒บาทมีเนื้อโลหะเป็นไส้เหล็กชุบนิกเกิล ขณะที่เหรียญชุดเดิมมีเนื้อโลหะเป็นคิวโปรนิกเกิล
คิวโปรนิกเกิล (อังกฤษ: Cupronickel) เป็นโลหะผสมชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดง 75% และนิกเกิล 25% นิยมใช้เป็นส่วน ประกอบของเหรียญในประเทศต่าง ๆ
คุณวรรณา ยินดียั่งยืน ผอ.ส่วนวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ให้ข้อมูลว่า เหรียญบาทรุ่นเดิมมีต้นทุนการ ผลิตเกือบ 2 บาทต่อเหรียญ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักสากล ที่ระบุให้มูลค่า วัสดุที่ใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์แต่ละชนิดไม่ควรเกินร้อยละ 40 ของราคาเหรียญ เช่น เหรียญ 1 บาท ต้องใช้มูลค่าโลหะที่ผลิตไม่เกิน 40 สตางค์ เพื่อเป็น การป้องกันคนเอาเหรียญไปหลอมละลายทำเป็นสินค้าอย่างอื่น
เหรียญที่มีไส้เป็นเหล็ก และหุ้มหนาด้วย นิเกิล โดยดูจากภายนอกจะมีรูปลักษณ์ มีความคงทน และระยะเวลาการใช้งานเท่าเดิม (ทั้งนี้เหรียญเดิมที่ไม่มีไส้ เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง เมื่อตัวปั๊มนูนเริ่มไม่ชัดก็ต้องเปลี่ยนใหม่อยู่ดี)
เหรียญ 2 บาทที่ออกใหม่จึงเป็นเหรียญเคลือบหนา และก่อนจะตัดสินใจใช้ ได้นำเหรียญชนิดนี้ให้ศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NECTEC) ไปทดสอบความคงทน ซึ่งผลออกมาว่าเหรียญที่ใช้เทคโนโลยี ชุบเคลือบ 1 ชั้นเช่นเหรียญ 2 บาทนี้จะใช้ได้นานกว่า 20 ปี
จนในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้มีการนำเหรียญกษาปณ์ 2 บาท รูปแบบใหม่ออกใช้ โดยเปลี่ยนวัสดุจากนิเกิลบริสุทธิ์เคลือบเหล็กชนิด คาร์บอนต่ำมาเป็นอะลูมิเนียมบรอนซ์ เพื่อให้ประชาชนสามารถแยกความ แตกต่างระหว่างเหรียญ 1 บาท และเหรียญ 2 บาทได้ง่ายขึ้น และเปลี่ยน ภาพด้านหน้าเหรียญเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมายุใกล้เคียงปัจจุบันมากขึ้น
อะลูมิเนียมบรอนซ์ ( 92% Cu, 6% Al, 2% Ni) Aluminium bronze (บรอนซ์อะลูมิเนียม (aluminum bronze) บรอนซ์อะลูมิเนียม หมายถึงโลหะผสมของทองแดงที่มีอะลูมิเนียมเป็นธาตุผสมหลักปริมาณอะลูมิเนียมในบรอนซ์ที่นิยมมีประมาณ 9-11 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก บรอนซ์ชนิดนี้ มีข้อดีคือ - เป็นบรอนซ์ที่สามารถชุบแข็งได้ เทนไซล์สเตร้งจะขึ้นได้สูงถึง 100 ksi หลังการชุบแล้ว - คงกำลังวัสดุได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 4000C ได้อย่างสบาย - ทนทานต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่อุณหภูมิสูงเพราะมีอะลูมิเนียม - ทนทานต่อการผุกร่อนในภาวะทั่วไป - ทนทานต่อการสึกกร่อน - มีสีเหลืองอร่ามคล้ายทอง 18 กะรัต ใช้ทำเครื่องประดับและเครื่องตกแต่งได้ (ทองคำ 100 เปอร์เซ็นต์ มี 24 กะรัต) ธาตุอื่น ๆ ที่นิยมผสมเข้าในบรอนซ์อะลูมิเนียมได้แก่ นิกเกิล เหล็ก และ แมงกานีส ธาตุทั้งสาม ต่างช่วยเพิ่มกำลังวัสดุให้กับบรอนซ์ นิกเกิลเพิ่มความทนทานต่อการผุกร่อนให้มากขึ้นไปอีก เหล็กและแมงกานีสช่วยทำให้บรอนซ์นี้มีขนาดของเกรนละเอียด และยังช่วยคงความแข็งแรงให้กับโลหะมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย โลหะนี้เหมาะสำหรับทำปั๊มที่ใช้ในงานเหมือง อุปกรณ์ในเรือเดินสมุทร วาล์ว คอวาล์ว (valve seat) สลักและแป้นเกลียว เครื่องตกแต่ง และเครื่องใช้ไม้สอยอื่น ๆ
เหรียญนี้มีที่มา
กระบวนการในการผลิตออกมาเป็นเหรียญหนึ่งเหรียญในมือของเรา ๆ ท่าน ๆ นั้น ไม่ได้ง่ายเพียงแค่กระดิกนิ้วเคาะตัวเลขออเดอร์ไปที่โรงกษาปณ์ เครื่องจักรก็จะปั๊มเหรียญออกมาได้ทันที เพราะเบื้องหลังก่อนที่คำสั่งผลิตจะมาถึงโรงกษาปณ์นั้น ต้องผ่านการประมาณการโดย "กรมธนารักษ์" ถึงจำนวนที่เหมาะสมของเหรียญผลิตใหม่แต่ละชนิดราคา ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กันกับเส้นกราฟเศรษฐกิจในแต่ละช่วงซึ่งส่งผลต่อความต้องการการใช้เหรียญของผู้บริโภคขณะนั้น
เทวัญ วิชิตะกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เล่าถึงเบื้องหลังก่อนจะมีคำสั่งผลิตเหรียญเก็บเข้าสต็อกรอให้คนมาแลกนั้น ส่วนงานที่สำคัญ คือ "สำนักบริหารเงินตรา" สังกัดกรมธนารักษ์ ในฐานะยามเฝ้าประตูทางเข้าและออกของเหรียญ จะเป็นผู้รับหน้าที่เกาะติดความเคลื่อนไหวของจำนวนเหรียญที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด โดยจะทราบถึงความต้องการใช้เหรียญทุกชนิดราคา ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงดีมานด์ ณ ขณะนั้น ก่อนจะผนวกเข้ากับข้อมูลประมาณการด้านเศรษฐกิจจากหลายสำนัก เพื่อสั่งผลิตเหรียญสำรองในสต็อกให้ใกล้เคียงกับความต้องการในอนาคตมากที่สุด โดยอย่างน้อย ๆ ต้องไม่ต่ำกว่าดีมานด์ในประมาณการ
จากคุณ |
:
ชัดเจนน้องนาง
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ก.พ. 55 16:04:27
|
|
|
|
 |