 |
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/A/060/18.PDF
ให้มีได้แค่ ๑ โต๊ะ และต้องไม่เก็บผลประโยชน์ใดๆ ถ้าเป็นสมาคม ได้ถึง ๕ โต๊ะ เก็บผลประโยชน์ได้ตามสมควร
http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3102
(ลอกเขามานะครับไม่ใช้ผมเขียน) ตามกระทู้น่ะมีโต๊ะสนุ๊กในบ้าน ๒ โต๊ะ ซึ่งผิดข้อยกเว้น(ที่ให้มีได้เพียงโต๊ะเดียวและต้องไม่เก็บค่าเล่น)แล้ว ไม่ต้องไปดูว่าเก็บค่าเล่นหรือเปล่า พอผิดข้อยกเว้นแล้วมันก็จะไปเข้าข้อสันนิษฐานตาม ม.๔ วรรคสอง(เจ้าบ้าน) , ม.๕(ผู้เล่น) รับโทษตาม ม.๑๒(๒) สรุปคือเป็นบทสันนิษฐานไม่เด็ดขาด เจ้าบ้านกับผู้เล่นสามารถนำสืบต่อสู้ได้ว่าไม่ได้จัดให้มีการเล่นการพนันหรือเล่นการพนัน(ตามลำดับ)คือภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ถ้านำสืบได้สมในชั้นสอบสวน พงส.ก็ต้องสั่งไม่ฟ้อง หากนำสืบไม่สมในชั้นสอบสวน พงส.ก็ต้องสั่งฟ้อง อัยการก็พิจารณาหากสั่งฟ้อง ส่งฟ้องศาล นำสืบได้สมในชั้นศาล ศาลก็ต้องยกฟ้อง ไม่สมก็ถูกศาลลงโทษไป
http://www.internetcafe.in.th/showthread.php?p=405663
ใบอนุญาตสมาคม ขออนุญาตที่กระทรวงมหาดไทย ต้องมีใบอนุญาตสมาคมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิขย์ครับถึงจะถูกกฎหมาย ใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมต้องขอสองที่ครับ.............ข อที่ สนง.วัฒนธรรมแห่งชาติ ก่อน(เดิมสังกัด กระทรวงศึกษา ปัจจุบันสังกัด กระทรวงวัฒนธรรม) แล้วมาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอีกครั้งที่กระทรวงมหาด ไทยเดิมสังกัดสันติบาลแต่ มท.รับโอนงานไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว เรื่องใบอนุญาตในกรุงเทพฯไม่ต้องมีก็ได้เพราะใบอนุญาตราคาพร้อมโอนย้ายเรียบร้อยจะอยู่ที่ 180,000 บาท ซึ่งถ้าคุณมีโต๊ะแค่ 2 ตัว (มันไม่คุ้มครับ)อย่างน้อยควรจะมีสัก 5 ตัว ถึงจะจำเป็นต้องมีใบอนุญาตครับ
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/420885?
สรุปข้อกฎหมายและความผิดที่เกี่ยวข้องกับการเปิดโต๊ะสนุ้กเกอร์ และการจัดระเบียบสังคม
1. บิลเลียดตลอดจนสนุ้กเกอร์เป็นประเภทหนึ่งของการพนัน ตามบัญชี ข. ลำดับที่ 23 ตาม พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งโดยหลักกฎหมายดังกล่าว(มาตรา 4 วรรค 2) การเปิดให้เล่นจะจัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นการนำมาซึ่งผลประโยชน์แก่ผู้จัด เช่นเจ้าของโต๊ะไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน แต่ในปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ 15477/2504 ลงวันที่ 25 กันยายน 2504 ห้ามออกใบอนุญาตในกิจการดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2505 เป็นต้นไป
2.ปัจจุบันจึงไม่มีการออกใบอนุญาตตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นมีเพียงข้อยกเว้นของกฎหมายที่กำหนดให้สามารถจัดให้มีการเล่นบิลเลียด หรือการเล่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น สนุ้กเกอร์ได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตเฉพาะ 2 กรณีเท่านั้น (กฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ.2534)ฯข้อ 1 คือ
2.1 บิลเลียดหรือการเล่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเล่นในเคหสถานที่มีบริเวณกว้างขวางมีรั้วรอบมิดชิด จำนวนไม่เกิน 1 โต๊ะ โดยผู้จัดให้มีการเล่นหรือเจ้าบ้าน มิได้เรียกเก็บหรือรับผลประโยชน์ในทางตรงหรือทางอ้อมจากการเล่นนั้น
2.2 บิลเลียดหรือการเล่นที่มีลักาณะคล้ายกัน ซึ่งเล่นเพื่อการรื่นเริงในสมาคมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ที่ตั้งโต๊ะสนุ้กเกอร์ต้องเป็นสถานที่เกียวกันกับที่ตั้งสมาคม ซึ่งระบุไว้ในใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคมนั้นๆ และสมาคมดังกล่าวจะต้องไม่ปรากฎข้อความในใบสำคัญว่า"ไม่จัดตั้งโต๊ะบิลเลียดหรือสนุ้กเกอร์" ต่อท้ายวัตถุประสงค์ของสมาคม) จำนวนไม่เกิน 5 โต๊ะ โดยสมาคมเก็บค่าธรรมเนียม(ค่าเกมส์) ได้ตามสมควรและจัดให้มีการเล่นได้ในวันปฏิบัติราชการระหว่างเวลา 15.00 น. ถึงเวลา 01.00 น. ของวันร่งขึ้น และในวันหยุดราชการระหว่างเวลา 11.00 น. ถึงเวลา 01.00 น. ของวันรุ่งขึ้นและต้องห้ามมิให้บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเข้าเล่น ทั้งต้องไม่มีการเล่นการพนันบิลเลียดหรือสนุ้กเกอร์หรือการพนันอย่างอื่นในสมาคมด้วย
3.การปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 เป็นความผิดและมีโทษดังนี้
3.1 ความผิดฐานจัดให้มีการเล่นการเล่นตามบัญชี ข โดยมิได้รับอนุญาตระวางโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.การพนันฯ)
3.2 อาจถูกริบโต๊ะบิลเลียดโต๊ะสน้กเกอร์พร้อมอุปกรณ์การเล่นเพราะเป็นการเล่นที่มิได้อยู่ในบังคับให้จัดให้เล่นได้ตามข้อ 2.1 และ 2.2 ย่อมถือว่าโต๊ะสนุ้กเกอร์และอุปกรณ์เป็นเครื่องมือที่ใช้เล่นการพนันโดยขัดต่อ พ.ร.บ. การพนันฯ และกฎกระทรวง ศาลมีอำนาจริบเสียทั้งสิ้น (พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 10 วรรค 2 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 )
3.3 สมาคมที่จัดให้มีการเล่นสนุ้กเกอร์หรือบิลเลียดไม่ถูกต้องตามข้อ 2.2 ก็ดี หรือมีวัตถุประสงค์แอบแฝงแสวงหารายได้หรือผลประโยชน์จัดให้มีโต๊ะสนุ้กเกอร์ฝ่าฝืนต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมที่ระบุว่า "ไม่จัดตั้งบิลเลียดโต๊ะสนุ้กเกอร์" หรือรวมเอาสมาคมหลายสมาคมไว้ในสถานที่แห่งเดียวกันเพื่อให้ได้ตั้งโต๊ะบิลเลียดได้จำนวนมากขึ้นก็ดีจะต้องถูกดำเนินการถอนชื่อออกจากทะเบียนสมาคมหรือถูกร้องขอให้ศาลสั่ง้ลิกสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 102 อีกด้วย
3.4 หากปรากฎว่าสถานประกอบการใด มีการปล่อยปละละเลยให้มีเด็กนักเรียน นักศึกษาหรือเยาวชน (อายุต่ำกว่า 18 ปี ) เข้าไปมั่วส่มเล่นการพนันในสถานประกอบการย่อมเข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ฐานชักจูงส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร หรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด (มาตรา 26(3)) และหรือฐานยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใด หรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน (มาตรา 26(8)) จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 78) และหากปรากฎว่ามีการจำหน่ายสุรา บุหรี่ ให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กฯ มาตรา 26 (10) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา 29 ต้องระวางโทษตามมาตรา 40 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย
*เอกสารประชาสัมพันธ์ ที่ทำการปกครองจังหวัดอุตรดิตถ์
ถ้าไม่ถูกลบไปเสียก่อนคงเป็นประโยชน์
สวัสดี
จากคุณ |
:
ชัดเจนน้องนาง
|
เขียนเมื่อ |
:
26 มี.ค. 55 19:34:13
|
|
|
|
 |