 |
คราวนี้ เรามาดูการทำงานของระบบนิรภัยกระจกกัน
ตามที่กล่าว ระบบนิรภัยกระจก เป็นการทำงานร่วมกันของห้าอย่าง กระจก,น้ำยาประสาน,กาว,ฟิล์ม และกรอบกระจก
อาศัยความแกร่งของกระจก ความเหนียวยืดหยุ่นของฟิล์ม ยึดติดกันด้วยกาวและน้ำยาประสานโดยกระจกติดอยู่กับกรอบที่แน่นหนา
มาจำลองสภาพการกับรถซักหนึ่งคัน
ถ้าเจ้าของรถต้องการติดฟิล์มนิรภัย เราต้องได้ข้อมูลก่อนว่าเป็นรถอะไร
ถ้ารถญี่ปุ่น กระจกรถจะหนาประมาณสี่มิลลิเมตรครับ ในขณะที่รถยุโรปกระจกจะหนา หกมิลลิเมตร
เมื่อต้องการติดฟิล์มระดับนิรภัย กันหินขว้างใส่ ยับยั้งการทุบกระจกโจรกรรม
ฟิล์มต้องมีความหนาอย่างน้อย แปดมิลขึ้นไป ต่ำกว่านี้เป็นแค่ระดับปลอดภัยครับ
มาตรฐานของคำว่า Security กระจกจะต้องทนพายุเฮริเคน ระดับห้าได้ นั่นคือความเร็วของลมประมาณ สองร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ตัวลมเฉยๆ ไม่น่ากลัว สิ่งที่น่ากลัวคือ วัตถุที่ลมมันหอบมาด้วยก็จะมีความเร็วในการปะทะกับกระจกสองร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงเช่นเดียวกัน
ลองนึกสภาพรถที่ติดฟิล์มนิรภัยที่กระจกบานหน้า วิ่งมาด้วยความเร็ว ร้อยสี่สิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง เจอหินขว้างใส่ เอาประมาณความเร็วต้นของหินซัก สี่สิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงบวกก้ประมาณร้อยแปดสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมงตอนหินกระทบกระจก ระบบนิรภัยกระจกก็ยังสามารถทำงานได้อยู่
แต่ถ้ารถเหยียบมาซักร้อยแปดสิบ เจอหินขว้าง เปอร์เซนต์ของการนิรภัยก็จะลดลงมาจากร้อยครับ
มาดูการออกแบบกัน ถ้าต้องการนิรภัยระดับนี้ เป็นการที่กันวัตถุจากภายนอกไม่ให้ทะลุเข้ามาในตัวรถ ฟิล์มจะต้องติดด้านในของรถ
เมื่อโดนทุบ หรือโดนหินขว้าง
สิ่งแรกสุดที่จะทำงานคือกระจก กระจกจะทำหน้าที่สองอย่าง คือลดแรงปะทะ กับเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของวัตถุ (ในกรณีของลูกกระสุนปืน) โดยอาศัยความแกร่งของตัวกระจกเอง
แน่นอน กระจกย่อมแตก แต่ก็ยังคงยึดติดคงสภาพเป็นแผ่นได้ด้วยฟิล์มที่ติดกาวยึดกับกระจก
มาตรฐานที่กำหนด เนื้อกระจกจะหลุดกระเด็นออกไปได้ไม่เกินห้าเปอร์เซ็นต์ครับ ที่เหลือจะต้องยังคงติดอยู่กับฟิล์ม
ในเมื่อฟลิ์มและกระจกยังคงสภาพเป็นแผ่นติดอยู่กับกรอบ วัตถุก็ไม่สามารถทะลุเข้ามาในตัวรถได้
นี้เป็นการทำงานคร่าวๆของกระจกระดับนิรภัย
ส่วนระดับกันกระสุน ถ้าสนใจเดี๋ยวค่อยมาว่ากันใหม่ครับ
จากคุณ |
:
ท่านขุนเดชา
|
เขียนเมื่อ |
:
18 เม.ย. 55 10:02:35
|
|
|
|
 |