CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    ปล่อยไก่ในสวน 2

    เคยได้ยินเซียนกระซิบบางท่านบอกการเพาะกล้วยไม้ด้วยฝักทำได้ด้วยการโรคที่รากออสมันด้าแต่นานและต้องอาศัยปัจัจัยต่างๆที่เหมาะสมและเน้นเรื่องรากับความชื้นมาด้วยอะครับไม่ทราบว่าราตัวนี้หรือเป่าครับจากที่เคยได้ยินมาอะครับช่วยได้ ความรู้อันนี้ได้ยินแค่กระซิปมาอะครับไม่ทราบว่างานวิจัยตัวนี้ใช่หรือไม่นะครับ ขอเชิญเซียนสายต่างๆ  (น้าโหดมาช่วยนู๋ด้วยอิอิ)ช่วยตอบด้วยอะครับเผื่อทำกันเองได้ครบวงจรและเพาะกล้วยไม้ได้เร็วขึ้นอะครับในบางสายพันธุ์ ถ้าผิดพลาดประการใดโทษคนอื่นไปก่อนนะครับอิอิ

    การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.)
            ไตรโคเดอร์มา เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง (เส้นใยมีผนังกั้นแบ่งมีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวางทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ ได้แก่
             - เชื้อรา Pythium spp. สาเหตุโรคกล้าเน่าหรือโรคเน่าคอดิน
             - เชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรครากและโคนเน่า
             - เชื้อรา Rhizoctonia spp. สาเหตุโรครากและลำต้นเน่า
             - เชื้อรา Sclerotium spp. สาเหตุโรครากและลำต้นเน่า
             - เชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคเหี่ยว
             สำหรับในประเทศไทย ได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโค เดอร์มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า (Seed rot) โรคเน่าระดับดิน (Damping off) โรคกล้าไหม้ (seedling blight) โรครากเน่า (Root rot) โรคโคนเน่า (Stem rot, trunk rot, basal rot) บนพืชหลายชนิด เช่นมะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี
    รูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช
             1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัย อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
             2. เส้นใยของไตรโคเดอร์มาจะพันรัดและแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
             3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฎิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง
             อัตราส่วนและวิธีการใช้
             ก่อนที่จะนำ เชื้อราไตรโคเดอร์มาไปใช้ จำเป็นที่จะต้องนำมาผสมกับรำข้าว (รำใหม่ละเอียด) และปุ๋ยอินทรีย์เสียก่อน ตามอัตราส่วนโดยน้ำหนักดังนี้
    หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา : รำข้าว : ปุ๋ยอินทรีย์
    1 กิโลกรัม : 5 กิโลกรัม : 25 กิโลกรัม
              ปัจจุบันมีชนิดที่จำหน่ายเป็นชุดให้ใช้อัตราตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายได้ โดยผสมหัวเชื้อไตรโคเดอร์มา คลุกเคล้าให้เข้ากับรำข้าวให้ดีเสียก่อน แล้วจึงนำไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะได้ส่วนผสมที่พร้อมจะนำไปใช้โดยแนะให้
              1. ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก
              2. ใช้โรยรอบโคนต้น
              3. ใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยรอบโคนต้น

          ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อรา สาเหตุโรคพืช
              1. PH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5 - 6.5 คือเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน
              2. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ใน การป้องกันและกำจัดเชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึมหากจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ
              3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อมและปัจจัยอื่น ๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต
       ที่มา  เว็บไซต์ "ยินดีต้อนรับสู่โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ถาวรพัฒนา"

    จากคุณ : นายเมฆนรก - [ 1 ก.พ. 49 01:01:54 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป