 |
[Overflow System] ทำอย่างไร....เมื่อไม่มีเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำปลาได้อย่างสม่ำเสมอ
สืบเนื่องจากการที่ตู้ 120*30*30 ใบนี้เป็นเคหะสถานของเจ้าฝูงเสือตอและแคทฟิตทั้งหมดนั้น..มีของเสียมากมายมหาศาลเสียเหลือเกิน
นั่นคือ..เมื่อผมเปลี่ยนถ่ายน้ำที่ 30-40% ต่อครั้ง(สัปดาห์ละครั้ง)แล้ว..ค่าไนเตรทNo3 นั้นก็ยังสะสมในตู้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ
ทุกช่วงเวลาเดียวกันก่อนการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ผมได้ลองวัดค่าไนเตรทก็พบว่า..ค่าไนเตรทมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกอาทิตย์
แสดงว่า...เมื่อทำการเปลี่ยนถ่ายนน้ำเพื่อกำจัดไนเตรทออกไปจากระบบนั้น ไนเตรท..ก็มีปริมาณลดลงก็ตาม แต่ปริมาณที่ไนเตรทลดลงจากปริมาณที่เปลี่ยนถ่ายน้ำนั้น..มีปริมาณที่น้อยกว่าไนเตรทที่เกิดขึ้นในระบบ
ทางแก้ไขคือ...1 เปลี่ยนถ่ายน้ำถี่ขึ้นในปริมาณเท่าเดิม 2 เปลี่ยนถ่ายนน้ำมากขึ้นในความถี่เดิม
แน่นอนครับ..ผมเลือกแนวทางที่ 1 เหตุผลก็คือ..ผมไม่นิยมเปลี่ยนถ่ายน้ำเกิน 30-40% ต่อครั้ง เพราะมีโอกาสที่ปลาจะช็อคน้ำเนื่องจากสภาพน้ำใหม่และเก่าที่ต่างกันมากนั้น..มีความเป็นไปได้สูง รวมทั้ง..ป้องกันปัญหาคลอรีนที่อาจจะหลงเหลือในน้ำแม้จะผ่านเครื่องกรองคลอรีนแล้วก็ตาม
สรุปคือ..ผมเป็นพวก..แสวงหาความเสี่ยงต่ำ ไม่พร้อมที่จะเสียปลาที่เลี้ยงดูกันมาเป็นปี ๆ
และหลังจากที่ได้ทำการเปลี่ยนถ่ายเป็นสัปดาห์ละสองครั้งที่ 30-40% ก็เป็นอย่างคาดหวังไว้...นั่นคือ..ปริมาณไนเตรทก็มีปริมาณที่ลดลงเรื่อย ๆ ในทุกสัปดาห์ที่ได้ทำการวัด
แต่ปัญหาก็คือ..ผมไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละสองครั้ง เพราะปริมาณตู้ปลาที่เยอะ และปริมาณงานที่ต้องดูแลในปัจจุบัน
ความขี้เกียจแต่ยังรักจะเลี้ยงปลา...ก็กระตุ้นให้มีการปรับปรุงระบบน้ำในตู้เล็กน้อย
เรียกว่า..ยอมหนื่อยหน่อยในช่วงแรก..แต่สามารถขี้เกียจได้มหาศาล อิ อิ
หมายเหตุ ของเสียในการเลี้ยงปลานั้น..หลัก ๆ ก็คือแอมโมเนีย ไนไตร์ท และ ไนเตรท
แอมโมเนียและไนไตร์ท..มีความเป็นพิษสูงมาก แต่ก็จะบำบัดได้ด้วยระบบกรองที่เหมาะสม
ในขณะที่ไนเตรทนั้น..มีความเป็นพิษต่ำมาก ตัวอย่างเช่น..แอมโมเนียและไนไตร์ทในระดับที่เกิน 1mg/l ก็สามารถทำให้ปลาตายได้ ในขณะที่ไนเตรท..สะสมได้ที่ระดับ 50-100mg/l ปลาก็ยังมีชีวิตอยู่ได้
และโดยทั่วไปแล้ว..ผู้เลี้ยงก็แทบไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสนใจค่าไนเตรทเลย เพราะปกติแล้ว..การเปลียนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอก็เป็นการกำจัดไนเตรทได้ง่ายที่สุดแล้ว และการเปลี่ยนถ่ายน้ำที่สัปดาห์ละครั้งที่ 30% ก็สามารถกำจัดปัญหาไนเตรทในตู้ได้เหมาะสม
แต่ในกรณีตู้เสือตอใบนี้..มีปริมาณปลาที่หนาแน่นเกินไป ไม่เหมาะสม และการให้อาหารก็ให้ในปริมาณที่มากเกิน
ดังนั้น..ผู้ที่เลี้ยงปลาทั่วไป..ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตื่นตระหนกใด ๆ ทั้งสิ้นว่า..ไนเตรทในตู้จะมีปริมาณสะสมมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
จากคุณ :
ปิติ99
- [
12 มี.ค. 49 09:39:10
]
|
|
|
|
|