ติ้ว, ติ้วขน
ชื่อสามัญ ติ้วขน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum (Jack) Dyer
Ssp. pruniflorum Gogel.
วงศ์ CLUSIACEAE
ชื่ออื่นๆ ตาว (สต.); ติ้วแดง, ติ้ว เลือด (เหนือ), ติ้วเหลือง (กลาง),
ติ้วหิน (ลป.)
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้น สูง 8 - 15 เมตร มีน้ำยางสีเหลืองตามแนวเปลือก
ที่ถูกทำให้เกิดแผล ใบเดี่ยวเรียง ตรงกันข้าม รูปวงรีหรือรูปขอบขนาน
กว้าง 2.5 - 4.5 ซม. ยาว 3 - 13 ซม. ผิวใบมีขนละเอียดทั้งสองด้าน
ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผล ใบ กลีบ ดอกสีชมพูอ่อน
ผลแห้งแตกได้รูป ไข่แกมกระสวย
วิธีการปลูก เป็นพืชที่เกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติทั่วไป แต่สามารถ
ขุดเอาต้นมาปลูก หรือชำเป็นพืชในกระถางได้
คุณค่า/ประโยชน์
ตำรับยาไทย ใช้รากผสม หญ้าแห้วหมูและรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่ม
วันละ 3 ครั้ง แก้ปัสสาวะขัด
ชาวยโสธรใช้เป็นผัก ปรุงอาหารให้น้ำแกงมีรสเปรี้ยว เช่น แกงปลา แกงเห็ด
และใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก และผัก สดกินกับหมี่กะทิ และเมี่ยงญวน
ข้อมูลจาก
http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture//yst/yaso52.html
จากคุณ :
ศูนย์สองหก
- [
28 มี.ค. 49 23:08:53
]