ความคิดเห็นที่ 18
การทดสอบฤทธิ์ยาสมุนไพร การทดสอบฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย การทดสอบความเป็นสาร Antioxidant และการทดสอบพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง 1. การวิเคราะห์วิจัยเพื่อตรวจสอบความเป็นพิษและผลการฆ่าเชื้อของสมุนไพร อ้างถึงเอกสารวิจัย สมุนไพรรักษาโรคร้าย วิทยาลัยเสนาธิการทหาร ปี 2542 ก. การวิเคราะห์วิจัย In this study , we aim to study the in vitro effectiveness in antibacterial, antifungal an anntioxidativeactivity of some selected Thai medicinal plants (N=7) the formula mixture of those mentioned herbs . The find powder will be extracted with cold ethanol and concentrated by flash evarporation in vacuum.The concentrated extract will be devided in to 3 parts. The first concentrated extract will be used to test it antioxidative effect by Methemoglobin/ABTS/ H2O2 method and Fenton method The second part of concentrate. extrat will be used to test its antibacterial effected by disc diffusion method .Agar plates will be cultured with 3 different bacteria namely Escherichis coli ,Staphylococus aureus and Pseudomonas aeruginosa The minimum inhibitory concentration (MIC) Ofo the extracts for antibacterial effected by tube dilution will be also determined . The third part of concentrated extract will be used to test its antifungal effect by disc diffusion method .Agar plated will be cultured with 4 different fungi as Saccharomyces cerevisiae, Candida albicans ,Penicillium marneffei and Cryptococus nepformans The active antimicrobial ingredient will be tested for their chemical properties by thin-layer chromatography and spectrophotometric methods. The most effective anti AIDS herb will be suggested fofr futher scientific study and clinical development .This result would be greatly beneficial to the prevention of AIDS progression and treatment of AIDS Sample operationTen grams of each powder sample was extracted with 70 ml of ethanol petroleum ether stand in room temperature for overnight .Then,the mixture was filtrated. The supermatant was concentrated with evarporator .The concentrate was kept for the other steps.Antioxidant activityMeasure by Methemoglobin/ABTS/H2O2 method petroleum ether is a little better than those obtained with ethanol. It was implied that a suitable oxidation pattern to show antioxidant capacity was the presence of non polar substance obtained from non polar solvent. From the view point of all samples extrated with petroleum ether ,sample6, sample7 and sample1 have respectively higher antioxidant capacity than the other samples. ข.การฆ่าเชื้อรา ค.การฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 2. การวิเคราะห์วิจัยเพื่อตรวจสอบความเป็นพิษและผลการฆ่าเชื้อของสมุนไพร ก. การฆ่าเชื้อรา รายงานผลการทดสอบฤทธิ์ต้านราของสารทดสอบ สารทดสอบรวม 18 ตัวอย่าง เชื้อทดสอบ Cryptococcus neoformans 4 สายพันธุ์ , ราโรคผิวหนัง(dermatophytes) 4 สายพันธุ์ ข. การทดสอบ Antimicrobial test ตัวอย่างทดสอบ: สารสกัดสมุนไพร การทดสอบ : Antimicrobial Test จากการนำสารสกัดสมุนไพรจำนวน 18 ตัวอย่างมาทดสอบ Antimicrobial Test ต่อเชื้อแบคทีเรีย 5 ชนิด คือ Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Escherichia coli,Salmonella typhi และ Pseudomonas aeruginosa โดยใช้สมุนไพรตัวอย่างละ 50 mgวางลงบน Mueller Hinton Agar Plate ที่มีเชื้อแบคทีเรีย แต่ละชนิดจากนั้นนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชม. ค. การทดสอบพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง Acute toxicity การทดสอบสารพิษเฉียบพลันของสารสกัดหรือยา ใช้วิธีการหา LD50 ของสารนั้นๆ LD50 (Median lethal dose) เป็นค่าขนาดของสารที่ให้เข้าไปในสัตว์ทดลองแล้ว ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งของจำนวนสัตว์ทดลองที่ได้รับสารนั้น โดยปกติค่า LD50 ไม่ได้เป็นค่าที่แน่นอนตายตัวในการกำหนดความเป็นพิษของสาร เพราะสารตัวเดียวกันถ้าทำการศึกษาหาค่า LD50 นี้ขึ้นอยู่กับ Species และ Strain ของสัตว์ทดลองที่เลือกใช้ อายุ เพศ และชนิดของการทดลอง เพราะฉะนั้นค่า LD50 จึงไม่ใช่ค่า Biological constant และจุดประสงค์ที่สำคัญของการศึกษาค่า LD50 ไม่ได้ต้องการหาค่า absolute lethality แต่ต้องการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน (Acute toxicity) ในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามค่า LD50 ก็เป็นค่าที่มีประโยชน์ในการแบ่งประเภทสารพิษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการควบคุมและหากผู้ทำการทดลองดำเนินการอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมากดังนั้นในการทดลองหาค่า LD50 นอกจากจะนับจำนวนสัตว์ทดลองที่ตายไป ก็ควรจะศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสัตว์ทดลองด้วยในทางปฏิบัติโดยทั่วไปแล้วหลังจากให้สารเข้าไปในสัตว์ทดลองควรจะมีการติดตามผล และสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นทุกวันเป็นเวลา 14 วัน ลักษณะที่ควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ เช่น การเปลี่ยนแปลงของลักษณะขน การกินอาหารและพฤติกรรมต่างๆเป็นต้น เมื่อสัตว์ทดลองตายลงหรือเมื่อสิ้นสุดการทดลองแล้วให้ฆ่าสัตว์ทดลองนั้นและควรทำ Histopathological studyของอวัยวะที่สงสัยว่าเกิดความผิดปกติ ซึ่งจากการศึกษาโดยละเอียดจะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าสารนั้นอาจมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร และ Target organ ของการเกิดพิษอยู่ที่ไหน การทดสอบสารพิษเฉียบพลันของยา P วิธีการ (ตามวิธีของ Hayes AW, ed. Principles and methods of toxicology. New York:Raven Press,Ltd,1989) 1. การทดสอบสารพิษเฉียบพลันโดยการป้อนในหนูขาวป้อนสารละลายยา P ที่ละลายในน้ำ แก่หนูขาวเพศเมียในขนาดต่างๆ กันคือ 1.25,2.5 และ 5 ก/กก. น้ำหนักตัว โดยป้อนกลุ่มละ 5 ตัว กลุ่มควบคุมป้อนน้ำเปล่าจดบันทึกจำนวนหนูที่ ตายภายใน 14 วัน สังเกตพฤติกรรมต่างๆของหนู เช่นซึม เบื่ออาหาร อาเจียน หายใจขัด ฯลฯ ในกลุ่มหนูขาวที่ป้อนยา p 5 ก/กก. บันทึก นน.หนูขาวที่ป้อน 1 วันและ นน.ตัวหลังการป้อนใน สัปดาห์ที่1 และ สัปดาห์ที่ 2 ดมยาสลบหนูขาว กลุ่มที่ป้อนยา p 5 ก/กก. ด้วยอีเธอร์ ผ่าตัดหน้าท้อง ตรวจดูอวัยวะภายใน คือตับ ไต หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ด้วยตาเปล่า เจาะเลือด จากเส้นเลือดปลายหางเพื่อนำมาวัด % hematocrit (% เม็ดเลือดแดงที่มีในเลือด) เปรียบเทียบ นน.ตัว ของหนูขาว กลุ่มนี้กับกลุ่มควบคุมที่ป้อนน้ำเปล่าโดยใช้ Student-test เปรียบเทียบอวัยวะภายใน คือ ตับ ไต หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ของหนูขาว กลุ่มนี้กับกลุ่มควบคุมที่ป้อนน้ำเปล่าด้วยตาเปล่าและถ่ายภาพไว้ ทำการทดลองเช่นเดียวกันในเพศผู้ 2. การทดลองพิษเฉียบพลันโดยการป้อนในหนูถีบจักร ทำเช่นเดียวกับหนูขาว แต่ไม่วัด % hermatocrit ผลการทดลอง 1. ค่า LD50 ของยา p จากการทดลองพบว่าค่า LD50 ของยา p ในหนูขาวตัวผู้,ตัวเมีย และหนูถีบจักร ตัวผู้,ตัวเมีย มีค่ามากกว่า 5 ก/กก. เนื่องจากภายหลังการป้อนยา p 5 ก/กก. น้ำหนักตัวไม่พบจำนวนสัตว์ทดลองตายภายใน 14 วัน และพฤติกรรมต่างๆไม่เปลี่ยนแปลงจากกลุ่มควบคุม 2. เปรียบเทียบน้ำหนักตัวของหนูขาวและหนูถีบจักรในกลุ่มที่ป้อนยา p กับกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักตัวของหนูขาวและหนูถีบจักรทั้งตัวผู้และตัวเมีย กลุ่มป้อนยา p 5 ก/กก. พบว่าน้ำหนักตัวของหนูขาวตัวเมียและหนูถีบจักรทั้งตัวผู้และตัวเมียในสัปดาห์ที่ 1 และ สัปดาห์ที่ 2 ในกลุ่มป้อนยา pพบว่า น้ำหนักตัวมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ป้อนน้ำเปล่าอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) ดังตารางที่ 3 , 4 , 5 และ 6 3. เปรียบเทียบอวัยวะต่างๆของหนูขาวและหนูถีบจักรในกลุ่มที่ป้อนยา p กับกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบอวัยวะต่างๆ คือ ตับ ไต หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ในขหนูขาวและหนูถีบจักรทั้งตัวผู้และตัวเมียในกลุ่มที่ป้อนยา p 5 ก/กก. กับกลุ่มควบคุมด้วยตาเปล่า พบว่าไม่แตกต่างกัน 4. เปรียบเทียบ % hernatocrit ของหนูขาวในกลุ่มที่ป้อนยา p กับกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบ % hernatocrit ในหนูขาวและหนูถีบจักรทั้งตัวผู้และตัวเมียในกลุ่มที่ป้อนยา p 5 ก/กก. (ครั้งเดียว)กับกลุ่มควบคุมพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญดังตารางที่ 7 สรุปผลจากการทดลอง 1. จากการทดลองสรุปว่าค่า LD50 ของยา p มีค่ามากกว่า 5 ก/กก. นน.ตัวของหนูขาวและหนูถีบจักรทั้งเพศผู้และเพศเมีย 2. พฤติกรรมต่างๆของหนูขาว และหนูถีบจักรทั้งเพศเมียและเพศผู้หลังการป้อนยา p 5ก/กก.ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม 3. น้ำหนักตัวของหนูขาวเพศเมียและหนหูถีบจักรทั้งเพศเมียและเพศผู้หลังการป้อนยา p 5 ก/กก. ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่หนูขาวเพศผู้ในกลุ่มป้อนยา p พบว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ป้อนน้ำเปล่า 4. อวัยวะภายใน (ตับ ไต หัวใจ ลำไส้ กระเพาะอาหาร )ในหนูขาวและหนูถีบจักรทั้งเพศเมียและ เพศผู้ที่ป้อนยา p 5 ก/กก. เมื่อดูด้วยตาเปล่าไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ควบคุม 5. % hematocrit ของหนูขาวทั้งเพศเมียและเพศผู้หลังการป้อนยา p 5 ก/กก. ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม
จากคุณ :
ตุ๊ก แม่การบูร (การพลู)
- [
16 พ.ค. 49 09:43:49
]
|
|
|