ไปพบกระทู้ดีและมีประโยชน์ ก็เลยเก็บมาฝากเพื่อน ๆ ค่ะ
ต้องขอขอบคุณคุณป้องมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ขอลอกมาทั้งชุดเลยนะคะ....
ก็จะขออธิบายหลักการคร่าวๆ ว่า โดยทั่วไปแล้วพวกเชื้อราส่วนใหญ่ ที่เป็นสาเหตุของโรคเน่า
จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เป็นกรดเล็กน้อย
แต่เนื่องจากปูนแดงนี้ มีฤทธิ์เป็นด่างจึงช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อราเติบโตได้
นอกจากนี้ ปูนแดงเมื่อทาแผลต้นไม้แล้ว พอมันแห้งมันจะมีคุณสมบัติคล้ายสารดูดความชื้น
พวกเชื้อรา แบคทีเรียล้วนต้องการปัจจัยสำคัญสามอย่าง คือ
อาหาร (เนื้อเยื่อต้นไม้) ความชื้น และสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสม
จึงจะเติบโตได้ ดังนั้นเมื่อเราตัดปัจจัยที่เอื้อมันไปสองอย่าง โอกาสที่เชื้อเหล่านั้นจะทำลายต้นไม้ก็เกิดขึ้นได้ยาก
แต่อันนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า เนื้อเยื่อบริเวณแผลที่เราตัดทาปูนนั้น
ต้องปราศจากการติดเชื้อที่ลามลึกเข้าไปในท่อลำเลียงอยู่ก่อนแล้ว
เพราะเราไม่สามารถหยุดยั้งการติดเชื้อภายในด้วยปูนแดงได้
การใช้ปูนแดงทาแผลจึงเป็นแค่การป้องกัน ไม่ให้แผลติดเชื้อซ้ำ หลังจากเราได้ทำการตัดเนื้อเยื่อส่วนที่ถูกทำลายออกไปหมดแล้ว
การใช้ปูนแดงนี้ คงจะเรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านเราเลยทีเดียว
พวกบรรดานักปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ และบอนสีในสมัยก่อน
ก็ล้วนมีปูนแดงใส่กระปุกติดรังไว้เสมอ เพราะใช้ทาแผลหน่อ หรือหัวที่แยกออกมา
หลายคนอาจจะหาซื้อปูนแดงที่ว่าได้ยากในสมัยนี้ เพราะนับวันก็ไม่ค่อยมีใครเคี้ยวหมากกันแล้ว
ขอแนะนำว่าตามตลาดสดที่มีอยู่ตามย่านเก่าๆ ยังสามารถหาซื้อได้อยู่
โดยเขามักจะแบ่งใส่ถุงขาย ลักษณะคล้ายไอซครีมสีแดงๆ ส้มๆ
เวลาซื้อมาเก็บไว้ควรใส่ไว้ในกระปุกที่มีฝาปิดสนิทกันปูนแห้ง
หากลืมเปิดฝาทิ้งไว้จนปูนเริ่มหมาด หรือแห้ง ก็ให้เติมน้ำลงไปนิดหน่อย
มันก็จะกลับนิ่ม และใช้งานป้ายทาได้ง่ายเหมือนเดิมครับ
ที่มา
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=mycacti&topic=3461
จากคุณ :
mti
- [
23 ก.พ. 50 13:39:07
]