แต่เรื่องพันธุกรรมของสีกระต่ายจะค่อนข้างเข้าใจได้ยากหน่อยนะครับถ้าไม่สนใจใฝ่รู้จริงๆ ต้องรู้จักและแม่นยำเรื่องสีต่างๆของกระต่ายเป็นพื้นฐานที่สำคัญส่วนหนึ่ง ผมจะค่อยๆอธิบายเฉพาะเรื่องที่จำเป็นและสำคัญแล้วกันนะครับ เพราะดาวโหลดเอกสารที่ว่าด้วยพันธุกรรมของสีกระต่ายไว้มากพอสมควร(ประมาณเกือบยี่สิบชุดได้มั้ง)
การเขียนรหัสพันธุกรรมของสีกระต่ายเกิดขึ้นจากการศึกษาอย่างเป็นระบบของฝรั่ง จนสามารถเขียนขึ้นเป็นตำราเป็นเล่มๆเลยครับ
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ลูกกระต่ายจะเป็นสีอะไรนั้นขึ้นกับพ่อและแม่อย่างละครึ่ง นั่นคือ พ่อแม่กระต่ายจะถ่ายทอดพันธุกรรมของสีให้ลูกคนละครึ่ง(โดยผ่านมาทางอสุจิของพ่อและไข่ของแม่) ซึ่งเป็นไปโดยการสุ่มหรือบอกว่าเป็นไปตามการทอดลูกเต๋าของพระเจ้าครับ(ฝรั่งเขาเปรียบเทียบไว้) และสารพันธุกรรมสีนั้นจะมีความเด่นความด้อยแตกต่างกัน แปลว่าสารพันธุกรรมที่มีความเด่นกว่าจะข่มตัวที่ด้อยกว่า นั่นคือ จะปรากฎสีตามสารพันธุกรรมที่เด่นกว่าเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีบางตัว(จำนวนน้อยมาก)ที่เด่นเท่ากัน ก็จะแสดงออกมาเท่าๆกัน
เวลาพูดถึงพันธุกรรมสี เราจะใช้สัญญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก(10 ตัวอักษร อักษรตัวใหญ่จะเด่นกว่าหรือข่มตัวอักษรตัวเล็ก)แทนรหัสพันธุกรรมของสี และจะต้องเขียนเป็นคู่ๆเสมอ ถ้าบอกยังไม่ได้ว่าน่าจะเป็นรหัสอะไร ก้จะใช้เครื่องหมายunderscoreหรือเครื่องหมายดอกจันแทนก็ได้
เช่น รหัสพันธุกรรมของสีเชสนัทล้วนหรือสีของกระต่ายป่า คือ A_ B_ C_ D_ E_ Du_ enen Si_ VV W_ ( _ หมายถึงยังบอกไม่ได้ว่าจะเป็นรหัสอะไร จะพอบอกได้ก็ต่อเมื่อทราบว่ากระต่ายตัวนี้สีนี้มีพ่อแม่สีอะไร มีพี่น้องสีอะไรบ้าง และเมื่อไปผสมพันธ์กับสีใดสีหนึ่งได้ลูกออกมาสีอะไรบ้าง ยกเว้นถ้าเป็นสีที่มีรหัสพันธุกรรมที่ด้อยที่สุดในกลุ่ม ก็จะบอกรหัสได้ทั้งคู่เลย เพราะพันธุกรรมด้อยจะแสดงสีออกมาได้ก็ต่อเมื่อต้องจับคู่กับพันธุกรรมด้อยเหมือนกันเท่านั้น เช่น กระต่ายจะเป็นสีดำได้ รหัสคู่แรกต้องเป็นaaเท่านั้น เป็นต้น) มีทั้งหมด 10 คู่ แต่จะนิยมเขียนสั้นๆเพียง 5 คู่ คือ A_ B_ C_ D_ E_ ที่เหลือจะละไว้ในฐานที่เข้าใจ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นรหัสที่คล้ายๆกัน
เชื่อหรือไม่ว่า แค่รหัสต่างกันเพียงคู่เดียวเท่านั้นก็ทำให้สีกระต่ายเปลี่ยนไปจนแทบไม่เห็นเค้าเดิมเลย เช่น สีเชสนัทล้วน เมื่อรหัส คู่ที่ 5เปลี่ยนจาก E_ (แปลว่าอาจจะเป็นEEหรือEeก็ได้)เป็น ee ก็จะกลายเป็นสีส้มล้วน เป็นต้น
ตอนแรกๆจะยังจำรหัสไม่ค่อยได้ แต่เมื่อศึกษาเป็นกลุ่มๆสี ก็จะค่อยๆจำได้เอง จนเดี่ยวนี้ผมจำได้เกือบหมดแล้วครับ ผมจะค่อยๆเล่าให้ฟังทีละรหัสไปเรื่อยๆ
จากนี้ไปก็จะเริ่มเข้าเรื่องไปทีละรหัสพันธุกรรมสีของกระต่ายซึ่งมีทั้งหมด 10 กลุ่ม ได้แก่ (A/at/a),(B/b),(C/chd/chl/ch/c),(D/d),(Es/E/ej/e),(Du/du),(En/en),(Si/si),(V/v),(W/w)
กลุ่มแรก คือ กลุ่มเอ จะบอกว่ากระต่ายมีpatternหรือรูปแบบสีอย่างไร มีทั้งหมด 3 pattern (เรียงจากเด่นไปหาด้อย)คือ
1.Agouti pattern รหัส คือ A (ขน1เส้นมีเท่ากับหรือมากกว่า 3สีและมีอะกูติมาร์คกิ้ง=รอบตา ข้างในหู ใต้คาง ท้อง ใต้หาง ข้างในขาจะเป็นสีขาวหรือสีแทนหรือสีฟางข้าว)
อาจจะเป็นAAหรือAatหรือAa ได้แก่ สีchestnut,opal,cinnamon,lynx,chincilla,squirrel
2.Tan pattern รหัส คือ at (สีล้วนที่มีอะกูติมาร์คกิ้ง) อาจจะเป็นatatหรือata ได้แก่ สีotter,silver marten,sable marten,smoke pearl marten
3.Self pattern รหัส คือ a (สีล้วน) ต้องเป็นaaเท่านั้น ได้แก่ สีblack,blue,chocolate,lilac,siamese sable,siamese smoke pearl
จำง่ายๆว่า รหัสชุดแรก ถ้าเป็นA_=agouti pattern ,at_=tan pattern,aa=self pattern ส่วนจะเป็นสีอะไรในกลุ่มนั้นขึ้นกับรหัสตัวต่อๆมาครับ
กลุ่มรหัสที่สอง คือกลุ่มบี จะบอกถึงสีพื้นฐาน(base color) มีอยู่เพียง 2 สี เท่านั้น
1.กลุ่มสีพื้นฐานสีดำ(black) รหัส คือ B อาจจะเป็นBBหรือ Bb ได้แก่ สีchestnut(A_ B_),opal(A_ B_),black(aa B_),blue(aa B_)
2.กลุ่มสีพื้นฐานสีน้ำตาล(brown) รหัส คือ b ต้องเป็นbbเท่านั้น ได้แก่ สีchocolate(aa bb),lilac(aa bb),cinnamon(A_ bb),lynx(A_bb)
จะเห็นว่า บางสีรหัสกลุ่มแรกๆเหมือนกันเลย เช่น สีblackกับสีblue chestnutกับopal cinnamonกับlynx แต่รหัสที่ทำให้สีต่างกัน คือ กลุ่มรหัสที 4 ขอข้ามกลุ่มที่ 3ไปก่อน
กลุ่มรหัสที่ 4 คือ กลุ่มดี จะบอกถึงความเข้มข้นหรือจำนวนของสี(intensity of color) มี 2 ลักษณะคือ
1.กลุ่มสีเข้ม(dense) รหัส คือ D อาจจะเป็นDDหรือDd ได้แก่ สีblack(aa B_ D_) chocolate(aa bb D_) chestnut(A_ B_ D_) cinnamon(A_ bb D_)
2.กลุ่มสีจาง(dilute) รหัส คือ d ต้องเป็นddเท่านั้น ได้แก่ สีblue(aa B_ dd) lilac(aa bb dd) opal(A_ B_ dd) lynx(A_ bb dd)
จะเห็นว่า รหัสddทำให้สีblackเปลี่ยนเป็นblue chocเป็นlilac chestnutเป็นopal cinnamonเป็นlynx หรือกล่าวได้ว่าสีแต่ละคู่ที่ว่ามาต่างกันที่รหัสกลุ่มดีเท่านั้น
ทีนี้ย้อนกลับมาที่กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มซี จะบอกว่ากระต่ายจะมีรงควัตถุเหลืองหรือไม่ และบอกถึงความเข้มของสี(deep and dark) มีทั้งหมด 5 ลักษณะ(เรียงจากเด่นไปหาด้อย)
1.C(full color) หมายถึงสีเหลืองแสดงออกได้เต็มที่ และสีพื้นฐาน(base color)ก็เช่นเดียวกัน (ต้องปูพื้นเพิ่มเติมว่ารงควัตถุของกระต่ายมีสีดำหรือสีเข้ม(dark)กับสีเหลือง(yellow)เท่านั้น
สีต่างๆเกิดขึ้นจากส่วนผสมที่แตกต่างของทั้งสองรงควัตถุนี้เท่านั้น) ตำราจะบอกว่า รงควัตถุดำ/เข้มจะแสดงออกเต็มที่ทั้งสี่ส่วน และรงควัตถุเหลืองก็จะแสดงออกเต็มที่ทั้งสามส่วน
อาจจะเป็นC/CหรือC/cchdหรือC/cchlหรือC/cchหรือC/c ได้แก่ สีblack(aa B_C_D_) blue(aaB_C_dd) chestnut(A_B_C_D_) opal(A_B_C_dd) cinnamon(A_bbC_D_) lynx(A_bbC_dd)
2.cchd(chincilla dark) หมายถึง รงควัตถุสีดำ/เข้มแสดงออกเต็มทั้งสี่ส่วน แต่รงควัตถุเหลืองแสดงออกเพียง1ใน3เท่านั้น
ทำให้ขนของagouti patternซึ่งมีสีเทาอยู่โคนขน สีเหลืองส้มถัดมาอยู่ตรงกลางขน และสีดำอยู่ปลายขน เปลี่ยนสีเหลืองส้มเป็นสีขาวหรือสีไข่มุก
อาจจะเป็นcchd/cchd,cchd/cchl,cchd/cch,cchd/c ได้แก่ สี chincilla(A_ B_cchd_D_) squirrel(A_B_cchd_dd)
3.cchl(chincilla light) หมายถึง รงควัตถุดำ/เข้มแสดงออกเพียง2ใน4 แต่ไม่มีรงควัตถุเหลืองเลย ทำให้เกิดสีเฉด(shaded) อาจจะเป็นcchl/chหรือcchl/c
(แต่ถ้าเป็นcchl/cchlจะกลายเป็นสีsealหรือสีเข้มเกือบจะเป็นสีblack)ได้แก่ siamese sable(aa B_cchl_D_) siamese smoke pearl(aaB_cchl_dd)
4.cch(poited white/himalayan) หมายถึง ไม่มีรงควัตถุเหลืองเลย และรงควัตถุสีดำ/เข้มถูกจำกัดไว้เฉพาะจมูก หู ขา และหาง อาจจะเป็นcch/cchหรือcch/c
ได้แก่ สีblack himalayan(aaB_cchcchD_)
5.c(albino) หมายถึง รงควัตถุจะถูกblockไว้ไม่ให้แสดงออก ทำให้ขนเป็นสีขาวล้วนตาแดง
(อย่าลืมว่ารหัสพันธุกรรมสียังอยู่ครบนะครับ ไม่ได้หายไปไหน ถ้าอยากทราบว่ามีรหัสอะไรซ่อนอยู่บ้างให้นำไปผสมกับสีที่มีรหัสด้อยมากที่สุดถัดจากขาวตาแดง ซึ่งก็คือ lilac tort(aabbC_ddee)
ถ้าไม่มีก็ใช้สีlilacธรรมดา(aabbC_ddE_)ก็ได้ ) มีอยู่สีเดียว คือ ขาวตาแดง ( _ _ _ _cc _ _ _ _)
แล้วก็มาถึงกลุ่มที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มหลักกลุ่มสุดท้าย(ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มรองๆ) คือ กลุ่มอี จะควบคุมแถบสีของขนกระต่าย มี 4 ลักษณะ(เรียงจากเด่นไปหาด้อย)
1.Es (steel) ทำให้แถบสีเข้ม/ดำของโคนขนครอบคลุมขึ้นมาถึงแถบตรงกลางขน อะกุติมาร์คกิ้งสีเข้มขึ้น ส่วนปลายขนอาจจะเป็นสีทองหรือสีเงิน อาจจะเป็นEs/Es,Es/E,Es/Ej,Es/e ได้แก่
สี steel(A_B_C_D_Es_)
2.E(full extension) แถบสีเป้นปกติ ไม่ถูกรบกวน รงควัตถุแสดงออกได้เต็มที่โดยทำงานร่วมกับรหัสC(full color) อาจจะเป็นE/E,E/Ej,E/eได้แก่
กระต่ายสีปกติทั่วไป เช่น black (aaB_C_D_E_)blue choc lilac chestnut(A_B_C_D_E_) opal cinnamon lynx ฯลฯ
3.Ej(japanese brindling) ทำให้แถบสีจัดเรียงตัวเป็นแบบmosaic อาจจะเป็นEj/Ej,Ej/e ได้แก่ กระต่ายพันธ์halequin กระต่ายสามสี
4.e(non-extension) ทำให้ไม่มีรงควัตถุดำ/เข้ม เหลือไว้แต่รงควัตถุเหลือง(ทำงานร่วมกับmodifiers) ต้องเป็นeeเท่านั้น ได้แก่ สีred/orange(A_B_C_D_ee) black tort(aaB_C_D_ee)
อีก 5 กลุ่มรหัสที่เหลือมีความสำคัญน้อยกว่า 5 กลุ่มแรก แต่กระต่ายทุกตัวทุกสีก็ต้องมีรหัสพันธุกรรมกลุ่มเหล่านี้นี้เช่นกัน
กลุ่มที่ 6 คือ กลุ่มรหัสอีเอ็น จะบอกว่าเป็นสีลาย(broken)หรือสีล้วน(solid) มี 2 ลักษณะ(เรียงจากเด่นไปหาด้อย)
1.En(English spotting) ทำให้กระต่ายมีสีขาวและมีลายเป็นสีต่างๆ อาจจะเป็นEn/En(จะถูกเรียกว่าcharlie คือมีสีลายเฉพาะใบหู รอบตา รอบจมูก และกลางหลังเท่านั้น),
En/en ได้แก่ กระต่ายสีขาวลายทั้งหลาย และกระต่ายสามสี(tri-colored) แต่ไม่ใช่กระต่ายพันธ์halequin เพราะbroken versionของhalequin คือ กระต่ายสามสีครับ
2.en(solid) ไม่มีลายสีมาแต้ม ต้องเป็นenenเท่านั้น ได้แก่ กระต่ายสีต่างๆที่ไม่มีลายสีมาแต้ม กระต่ายพันธ์halequin
กลุ่มที่ 7 คือ กลุ่มวี จะบอกว่าเป็นกระต่ายขาวตาฟ้า(blue eye white/BEW)หรือไม่ มี 2 ลักษณะ(จากเด่นไปด้อย)
1.V(non-vienna) เป็นกระต่ายสีปกติต่างๆ อาจจะเป็นV/V,V/v(ทำให้มีลักษณะคล้ายลายของกระต่ายพันธ์ดัช)
2.v(vienna) เป็นกระต่ายขาวตาฟ้า(_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ vv)เท่านั้น ต้องเป็นvvเท่านั้น
แก้ไขเมื่อ 26 ก.พ. 50 00:00:08
แก้ไขเมื่อ 25 ก.พ. 50 23:57:56
จากคุณ :
แม่กระต่าย
- [
25 ก.พ. 50 23:55:46
]