 |
อ่านแล้วหลับปุ๋ย
ว่าด้วยเรื่องปุ๋ยผิดถูกอย่างไรน้อมรับฟังความเห็นครับ ก่อนอื่นต้องเริ่มที่รากกล้วยไม้ที่พัฒนาการต่างจากรากพืชทั่วไปคือรากกล้วยไม้มีสองชั้นคือชั้นแกนกลางเป็นเส้นที่นำน้ำและอาหารไปสู่ลำต้น(central root fiber) ส่วนชั้นนอกเป็นนวมสีขาวๆ(velamen)มีcellอยู่ประมาณ7 ชั้นทำหน้าที่เป็นตัวยอมให้น้ำและอาหารผ่าน(permeability)แต่นวมนี้ต้องชื้นจึงจะทำงานได้ดี ปกติรากกล้วยไม้จะสามารถดูดซึมเม็ดน้ำและสารละลายได้ดีที่ขนาดเม็ดหมอกคือประมาณ5ไมครอนและไม่ชอบน้ำที่ท่วมตลอด(free water) นี่เป็นเหตุผลที่สอนกันมาว่าให้รดน้ำก่อนทิ้งไว้ให้พอหมาดๆแล้วจึงให้ปุ๋ยจะดูดซึมได้ดีและสิ้นเปลืองปุ๋ยน้อย และบนดอยกล้วยไม้ที่เขาเลี้ยงจึงงามและโตเร็วกว่าข้างล่างเพราะกล้วยไม้สามารถนำหมอกน้ำเข้าลำต้นได้ตลอด เวลา นี่คือที่มาของระบบอีแวป และถ้าหมอกนี้คือปุ๋ยกล้วยไม้จะยิ่งโตเร็วกว่าเข้าไปอีก นี่คือAeroponic cultivationนั่นเอง รากกล้วยไม้ทำงานด้วยระบบOsmosis คือถ้าสารละลายในต้นมีความเข้มข้นสูงกว่าภายนอกราก น้ำและสารละลายอาหารจึงจะสามารถผ่านเข้าไปในลำต้นได้ แต่ในทางกลับกันถ้าความเข้มข้นสารละลายภายนอกสูงกว่าในลำต้นกล้วยไม้จะสูญเสียน้ำ ดังนั้นจึงควรให้ปุ๋ยเจือจางดีกว่าเข้มข้นและให้บ่อยได้มากขึ้น จะเจือจางแค่ไหนบางคนแนะนำว่า1ช้อนชาต่อน้ำ5ลิตร ส่วนจะให้บ่อยแค่ไหนขึ้นกับความต้องการของกล้วยไม้เป็นหลักคือถ้าขาดมากก็ต้องการมากเช่นในหน้าร้อนปากใบ(stoma)คายน้ำเพื่อลดอุณหภูมิมากความเข้มข้นสารละลายในลำต้นสูงจึงทำให้รากOsmosisได้ ดีสารอาหารและน้ำเข้าไปมากกล้วยไม้จึงโตเร็วก็เลยต้องการจำนวนปุ๋ยมากขึ้นก็ต้องให้จางๆแต่บ่อยขึ้น บางคนให้้ทุกสามวัน หน้าหนาวการคายน้ำน้อยกล้วยไม้พักตัวความต้องการปุ๋ยจึงน้อยกว่า กล้วยไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบในลำต้น80-90%ดังนั้นที่ต้องการมากคือน้ำ ส่วนปุ๋ยนั้นคือสารที่ต้องการหลักๆคือN,P,Kและจุลธาตุต้องการน้อยกว่ามาก จุลธาตุนี้ถ้าเครื่องปลูกที่เป็นอินทรีย์สารเช่นกาบมะพร้าว,เปลือกไม้เมื่อมีการผุพังย่อยสลายจะได้จุลธาต ุอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้ พวกถ่าน,อิฐ หรือperliteไม่มีการย่อยสลายจึงจำเป็นต้องให้จุลธาตุด้วย โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าNคือ ไนโตรเจนเร่งการเจริญเติบโตของลำต้น Pคือฟอสฟอรัสเร่งการเจริญของดอกและรากและหน่วงการเจริญที่มากไปของNได้ Kคือโปแตสเซียมเร่งความสมบูรณ์ของดอกและช่วยทำให้การใช้งานของNและPดีขึ้น โดยสูตรปุ๋ยเขียนกันเรียงเป็นส่วนๆคือตัวอย่างเช่น 30-10-10 หมายถึงมีN30ส่วน P10ส่วนK10ส่วนสารเฉื่อย (inert substance)50ส่วน Nitrogenนั้นกล้วยไม้ได้จากอากาศ น้ำฝน และการย่อยสลายของเครื่องปลูกที่เป็นอินทรีย์สารโดยแบคทีเรีย รา และเชื้อรา ดังนั้นในหน้าฝนกล้วยไม้ที่ปลูกด้วยกาบมะพร้าว มอส เปลือกไม้จึงอวบน้ำโตเร็วแต่อ่อนแอเน่าง่ายเพราะNสูงเกินไปนั่นเอง จึงมักแก้ด้วยการให้ปุ๋ยตัวกลางสูงคือPสูงในหน้าฝน กล้วยไม้ใช้NในรูปของNitrate และAmmoniacalNเท่านั้น ( การใช้UREAไม่สามารถนำไปใช้ได้เพราะUrea ต้องย่อยสลายด้วยSoil Enzymeโดยแบคทีเรียในดินเท่านั้น) เมื่อเครื่องปลูกที่เป็นอินทรีย์สารย่อยสลายผุพังมากๆเครื่องปลูกนั้นจะขาด N เพราะแบคทีเรีย รา เชื้อราก็ต้องใช้ N ด้วยในการเจริญของเขา บางคนจึงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตร30-10-10เข้าไปแก้ไขแต่บางคนก็ให้ข้อมูลว่าสูตร30-10-10มีnitrate และAmmoniacal N แค่5.3% ขณะที่สูตร20-20-20มี NitrateและAmmoniacal Nกลับมีมากกว่าคือมี9.5% และการใช้สูตร30-10-10นั้นพบการทำลายของเครื่องปลูกที่เป็นBarkมากและเมื่อน้ำในปุ๋ยระเหยออกไปจากเครื่อง ปลูกก็ทำให้เกิดเกลือตกค้างในเครื่องปลูกมากทำให้กล้วยไม้สูญเสียน้ำและระบบรากเสีย นี่เองที่บางคนไม่เคยใช้ปุ๋ยสูตร30-10-10เลย การรดปุ๋ยในความเป็นจริงแล้วเราสูญเสียปุ๋ยไปกับน้ำมากมายโดยที่กล้วยไม้ ได้ไปใช้นิดเดียวการให้ปุ๋ยด้วยหมอกเป็นสิ่งที่น่าคิดว่าจะสิ้นเปลืองน้อยและสามารถนำไปใช้ได้ดี บางคนจึงกล่าวว่ารดปุ๋ยให้รดทั่วๆทุกส่วนของกล้วยไม้ไม่ใช่รดเครื่องปลูก? การเร่งดอกนั้นสารเร่งดอกอาจไม่มีประโยชน์เพราะมีการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่ากล้วยไม้เตรียมการออกดอกมาก่อนการออกดอกบานมาเป็นเดือนๆก่อนหน้านั้น ดังนั้นการเลี้ยงกล้วยไม้ให้สมบูรณ์ด้วยสมดุลย์ของการเจริญเติบโตน่าจะได้ดอกสมใจ บางคนใช้แต่ปุ๋ยตัวกลางสูงตลอดโดยให้เหตุผลว่าไม่ได้ดอกได้รากดีๆกล้วยไม้ก็งามครับ
จากคุณ :
the_gift
- [
2 เม.ย. 50 23:59:44
]
|
|
|
|
|