ความคิดเห็นที่ 48
ข่าวจาก http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok&content=62300
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ประชาชน กทม. ที่เป็นเจ้าของสุนัขอายุไม่น้อยกว่า 120 วัน จะต้องนำสุนัขไปจดทะเบียน และฝังไมโครชิป สุนัขภายใน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. 2550 - 5 ก.ค. 2551 หลังจากที่ กทม.ได้ประกาศ ระเบียบสุนัขเลี้ยงใน กทม.ต้องจดทะเบียน และมีบัตรประจำตัว ซึ่งหากประชาชนไม่นำสุนัข ไปจดทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดจะมีความผิด ทั้งนี้รวมถึงสุนัขที่เลี้ยงอยู่ภายในวัดด้วย โดยเจ้าอาวาสวัดนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
หลังวันที่ 4 ก.ค. 2551 ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าสุนัขที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ฝังไมโครชิพ เจ้าของสุนัข มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 หมวด 6 มาตรา 29-30 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท นายวัลลภ กล่าวอีกว่า การดำเนินการครั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบของประชาชนที่มีต่อสุนัข ที่อยู่ในความดูแล ที่สำคัญจะช่วยลดจำนวนสุนัขจรจัดใน กทม. รวมทั้งลดการสูญเสียงบประมาณ จำนวนมากในการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จำนวนสุนัขที่ถูกเลี้ยงไว้ 823,504 ตัว ส่วนสุนัขจรจัดนั้นมีการคาดคะเนว่ามีมากนับแสนตัว
.....................................................................................................................
คำถาม ถึง กทม.
กทม. ทราบหรือไม่ว่า มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. 2540 ในมาตรา 59
และฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550 ในมาตรา 57 ว่าการออกกฎระเบียบใดที่มีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญ
ของประชาชน รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
ของประชาชน( ประชาพิจารณ์ )อย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ
ซึ่งจากตัวเลขของ กทม. เอง ที่บอกว่า มีสุนัขที่ถูกเลี้ยงไว้ในเขต กทม.จำนวน 823,504 ตัว และสุนัข
จรจัดคาดคะเนว่ามีมากนับแสนตัว ซึ่งสุนัขจำนวนร่วมล้านตัวดังกล่าว ก็คือสุนัขที่ต้องเข้ามาอยู่
ในโครงการฝังชิพของ กทม.ครั้งนี้ โดยที่ถ้าผู้เลี้ยงหรือผู้ดูแลสุนัขคนใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
ดังกล่าวของ กทม. ก็ต้องเจอโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทด้วย ดังนั้น โครงการฝังไมโครชิพของ กทม.
ครั้งนี้ จึงเป็นโครงการที่มีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชนเป็นจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คำถามจึงมีตามมาว่า ก่อนที่จะออกมาตรการหรือโครงการฝังไมโครชิพนี้ออกมา ทำไม กทม.จึงไม่เปิด
ให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือทำประชาพิจารณ์ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดก่อน ?
หมายเหตุ
รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 59 ระบุว่า... บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด
ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใด
ที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตาม
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 57 ระบุว่า... บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด
ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใด
ที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ
นำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วน
ได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง
ก่อนดำเนินการ
จากคุณ :
SHERKA
- [
3 ต.ค. 50 21:29:02
]
|
|
|