ความคิดเห็นที่ 147
สวัสดีค่ะสมาชิกเก่าใหม่ทุกๆคนสี่สิบคนแล้วเก่งจริงๆนะเออ วันนี้วันลอยกระทงทุกคนคงสนุกกันนะคะ ตามอ่านภาพสวยมากค่ะ คุณเฟื่องฟ้าสาวิตรี อยู่คอนหวันส่วนไหนของคอนหวันค่ะในตัวเมืองรึป่าว พอดีเดือนธันวาคมจะไปธุระที่ศาลจังหวัดค่ะ อาจจะไปแวะทักทายบ้างค่ะ วันนี้เข้ามาพอดีไปเจอข่าวชาวเกษตรกรเลี้ยงหมูหรือสุกรเดือดร้อยจากนายทุนรายใหญ่ของประเทศ นายทุนคนนี้เป็นเจ้าของกิจการหลายแห่งเรียกว่าครอบคุมเศรษฐกิจไทยเกือบหมดแล้ว เช่น cpf หุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ร้าน 7-11 แม็คโคร ฟาร์มหมู ฟาร์มไก่เนื้อ - ไก่ไข่ กระชังปลาทัพทิม ฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาว ทำอาหารสัตว์เศรษฐกิจขาย ขายต้นกล้ายางให้โครงการของรัฐแม้ว ส่งวัตถุดิบทำอาหารไทยสู่ครัวโลก ทำโทรศัพท์มือถือ ทรู -โทร. พื้นฐานใน กทม. ทำอินเตอร์เน็ต ทรู ทำ บ.ประกันภัย -ประกันชีวิต อริอันท์ และเข้าร่วมทุนกะ บิ๊กซี โลตัส คาร์ฟู เป็นต้น นึกไม่ออกอีกมาก ลองอ่านดุนะคะว่าทำเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเดือดร้อนอย่างไร เราไปอ่านดูค่ะ ยาวหน่อยนะคะน่าเห็นใจค่ะ วันหนึ่งเราชาวมุมเกษตรกรบางคนอาจจะเดือดร้อนเพราะ cpf ก็ได้ค่ะ
CPF ธุรกิจที่ทำร้ายเกษตรกรไทยอย่างไร้พรมแดน ทำไมเราจึงทนไม่ได้จนต้องประท้วง
เพราะพวกเรา กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย 1. ถูกเขาคุกคาม ทำร้าย เอารัดเอาเปรียบ ข่มเหงด้วยทุนที่มากกว่า อย่างไม่เป็นธรรม 2. กำลังถูกยึด(ฮุบ)อาชีพที่เราทำกินกันมาตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย 3. ต้องการอยู่อย่าง พอเพียง แต่เป็นไปไม่ได้กับสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ 4. หากเหตุการยังคงเป็นอยู่อย่างนี้ เราต้องล้มละลาย ครอบครัวแตกสลาย 5. อยากให้พวกคุณรู้ว่า เขาทำกับเกษตรเพื่อนร่วมชาติที่เคยเป็นบันไดให้เขาเหยียบย่ำขึ้นไปใหญ่โตได้จนถึงทุกวันนี้ อย่างไร? โปรดฟังเราหน่อยนะ
1. พวกเราถูก บริษัทในกลุ่ม CPF. คุกคามทำร้าย เอารัดเอาเปรียบ ข่มเหงด้วยทุนอย่างไม่เป็นธรรม - การคุกคามทำร้ายคือ การบิดเบือนกลไกลทางการตลาด การประกาศภาวะราคาลูกสุกรให้สูง แต่ประกาศราคาสุกรขุนที่จะต้องส่งตลาดให้มีราคาต่ำ (ทั้งที่ควรจะต่ำไปด้วยกันทั้งคู่ตามธรรมชาติกลไกลราคา ซึ่งไม่นานราคาก็กลับมาสู่ภาวะปกติ และตัว CPF เองจะได้ประโยชน์เกี่ยวกับการขายสินค้าให้กับลูกค้า การขายลูกสุกรให้ได้ราคา หรือการแสดงให้เกษตรทาสที่อยู่ในโครงการเห็นว่าการที่มี CPF คุ้มหัวนั้นเป็นเรื่องปลอดภัย) หรือการแกล้งประกาศราคาสุกรที่จะนำไปชำแหละบริโภคให้สูง แต่ตัวเองกลับทุ่มราคาให้ต่ำในตลาดทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงขายไม่ได้ และที่ขาดทุนอยู่แล้วต้องขาดทุนหนักต่อไปอีก กว่าตัวละ 1,000 บาท - การเอารัดเอาเปรียบและการใช้ทุนอย่างไม่เป็นธรรม คือ ไม่ว่าเกษตรกรจะมีโคงการรณรงค์การบริโภค เช่นการทำหมูหันราคาถูก หรือการจัดการให้ปริมาณสุกรลดลง เช่นการกำจัดลูกสุกร 1-2 ตัวต่อครอก การลดจำนวนการเลี้ยงลง ก็ไม่เป็นผล เนื่องจากปริมาณของสุกรที่หายไปจากเดิม จะถูกแทนที่ทันทีจากสุกรที่มาจาก CPF. หรือ หมูในโคงการของเขา อย่างนี้เกษตรกรก็ไม่มีทางอยู่ได้ เพราะคุณสายป่านยาวกว่าเกษตรกร เป็นบริษัทมหาชน มีสถาบันทางการเงินหลายแห่งสนับสนุนในอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ชาตินี้เกษตรกรอย่างพวกเราไม่มีวันได้ ซึ่งเป็นการใช้ทุนข่มเหงกันอย่างไม่เป็นธรรมเลย เหมือนกับรังแกคนไม่มีทางสู้ก็ว่าได้ 2. พวกเรากำลังถูกยึด(ฮุบ)อาชีพ(เลี้ยงหมู)ที่เราทำกินกันมาตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย - คือ เมื่อแข่งขันกันมากๆ เข้า ตลาดสุกรของเกษตรกรรายย่อย หรือรายอิสระโดยทั่วไป ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ ก็จะถูกแทนที่และยึดครองตลาดจากบริษัทรายนี้ทั้งนี้เพราะ บริษัทที่มีขนาดใหญ่ย่อมมีสายป่านด้านการเงินที่เหนือกว่า ซึ่งเหนือกว่าหลายร้อยพันเท่าเมื่อเทียบกับ CPF. การจะอยู่รอดได้ต่อไปนั้นต้องไปเป็นเกษตรกรลูกจ้าง(ทาส)ของบริษัทนี้ให้หมด หากถามว่าทำไมไม่เป็นเกษตกรในโครงการ? ต้องถามกลับว่าทำไมต้องเป็น? พวกเราเป็นคนเลี้ยงอิสระผิดตรงไหน ทำไมต้องเป็นทาสคุณด้วย ทำไมต้องใช้คำว่าทาส เพราะหากเป็นลูกจ้างก็ไมต้องลงทุนเอง แต่นี่ไม่ใช่อย่างนั้น เกษตรจะต้องเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ไร้การต่อรอง ไร้การแข่งขันของสินค้าที่จะใช้ ทุกอย่างที่คุณขายให้เกษตรต้องใช้อย่างปฏิเสธไม่ได้ทั้งราคา ทั้งเหตุผลที่ต้องใช้) อย่างนี้ไม่เรียกว่าทาสให้เรียกว่าอะไรครับ หรือการมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ หากไม่เรียกว่ายึดครองอาชีพการเลี้ยงหมู จะให้เรียกว่าอย่างไร หรือจะให้เรียกกว่าเป็นการก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ดีไหม แต่อย่างนี้ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า ปล้น
3. เราต้องการอยู่อย่าง พอเพียง แต่ทำไม่ได้ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ในอาชีพเรา พวกเราไม่ได้เอาในหลวงมาอ้างนะ แต่ เราต้องการอยู่อย่าพอเพียง ตามแนวพระราชดำริจริงๆ ซึ่งในความจริงพวกเราอยู่อย่างนั้นมานานแล้ว แต่มันเป็นไปไม่ได้เพราะเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น หากจะถามว่ามันเป็นธุรกิจแข่งขันเสรีมิใช่หรือ แต่คำถามต่อจากนั้นคือแล้วท่านจะทำอย่างไรกับเกษตกรที่เขาอยู่อย่างพอมีพอกิน หรืออยู่อย่างพอเพียง? มันควรมีขอบเขตของคำว่าเสรีหรือไม่? เพราะไม่อย่างนั้นอนาคตประชาชนก็ต้องกินหมูจาก ซีพี อย่างเดียว ราคาเท่าไหร่ ซีพี ก็กำหนดไป เขาจะสั่งซ้ายหันขวาหันคุณก็ไม่มีการต่อรอง หรือท่านเคยเห็นธุรกิจผูกขาดอะไรก็ตามเขาขายของกันถูกหรือไม่ เช่นเราไปเที่ยวสวนสัตว์ซักแห่งหากต้องซื้อของในนั้น ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าข้างนอกไม่สามารถเข้ามาขายได้ คุณเคยซื้อของได้เท่าราคาข้างนอกหรือไม่? เอาแค่สนามบินที่ด้านใน(ที่ผ่านการเช็คอินเข้าไปแล้ว)ก็เห็นชัดแล้วครับ ว่าราคาน้ำ เช่น น้ำเปล่า 600 cc ข้างนอก 7 บาทแต่ข้างใน 30 หรือชาเขียวที่ข้างนอกขาย 20 บาทแต่ข้างใน 80 บาท ชัดไหมครับ เราไม่มีเจตนาที่จะให้ร้ายใครเพียงแต่ยกตัวอย่างให้คุณได้เห็นภาพมากขึ้นเท่านั้น พวกเราไม่ได้ต่างอะไรกับร้านโชวห่วย ที่ถูกห้างค้าส่งยึดครองตลาดยึดครองอาชีพทำกิน แต่มันต่างที่ของเราหนักกว่ามากหลายเท่า เพราะหมูเป็นสิ่งมีชีวิตเรารอนานไม่ได้เก็บนานไม่ได้เพราะมันต้องกินทุกวัน กินอาหาร(เงิน) ถึงเวลาก็ต้องขาย การลงทุนของเรานั้นมากกว่าร้านโชวห่วยมากนักครับ เพราะแค่เลี้ยงแม่พันธุ์สุกรเพียง 100 ตัวคุณก็ต้องลงทุนทั้งหมดในปีแรก 4-5 ล้านบาทแล้ว แล้วจะต้องให้เราเลี้ยงกี่ตัวละครับ หากให้เราแข่งขัน ซีพี ได้ไหมครับ เราแข่งได้หากเราเลี้ยงเท่าเขาซึ่งนั่นหมายความว่า ต้องเลี้ยงถึง 2-3 แสนตัวแม่พันธุ์ ต้องใช้เงินเท่าไหร่ก็ลองเอา 45,000 บาทคูณดู (หมื่นกว่าล้านครับ) แล้วเราจะเอาปัญญาที่ไหนไปแข่งละครับ เพราะเราเป็นเกษตรกรไม่ใช่บริษัทมหาชนอย่างเขา และอย่างไหนละครับมันเรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียง
4. หากเหตุการยังคงเป็นอยู่อย่างนี้ เราต้องล้มละลาย ครอบครัวแตกสลาย ธรรมดาคนอาชีพเลี้ยงหมู ทุกคนในบ้านก็จะมีหน้าที่ทำกันในครัวเรือน ทุกคนมีรายได้จากการทำหน้าที่ของตนเอง แต่วันนี้เราขาดทุนกันมาก มากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเพราะไม่มีครั้งไหนที่เราต้องขาดทุนกันมากกว่าตัวละ 1,000 บาท (เลี้ยงเป็นธุรกิจให้พอเลี้ยงคนในครอบครัวได้ก็ต้องมีอย่างน้อย 1,000 ตัว ลองคิดดูเถอะว่าเราขาดทุนกันเท่าไหร่ ยาวนานที่สุดตั้งแต่เคยเลี้ยงมาเพราะกว่า 6 เดือนแล้วที่เป็นอย่างนี้ วันนี้พวกเราสิ้นเนื้อประดาตัวกันแล้ว เพื่อนร่วมอาชีพเราหลายรายต้องเลิกเลี้ยงหมู หันไปหาอย่างอื่นทำ แต่คุณเข้าใจไหมว่า เราเลี้ยงหมูกันมานานแล้ว เป็นอาชีพที่เราถนัด ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเริ่มต้นอาชีพใหม่ และไม่ใช่เรื่องง่ายที่อาชีพใหม่นั้นจะได้ทำให้เราได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาเหมือนเคย 5. เราอยากให้พวกคุณรู้ว่า เขาทำกับเกษตรเพื่อนร่วมชาติที่เคยเป็นบันไดให้เขาเหยียบย่ำขึ้นไปใหญ่โตได้จนถึงทุกวันนี้ อย่างไร? เขา CPF. ที่หนังสือเล่มหนึ่งเคยเขียนยกย่องว่าเป็นธุรกิจไร้พรมแดน ใช่! ไร้พรมแดนในการทำลายเพื่อนร่วมชาติ โดยเฉพาะเพื่อนร่วมชาติที่เป็นชนรากหญ้าอย่างเกษตรกรอย่างพวกเราไง! ทีนี้คุณเข้าใจหรือยังว่าเขาทำกับพวกเราอย่างไร? เราไร้ที่พึ่งเพราะรัฐฯ ก็มัวสารวนกับระเบิด การแก่งแย่งอำนาจ พวกเขาไม่มีเวลามาสนใจพวกเราหรอก อย่างดีก็แจก ธงฟ้าราคาประหยัด ให้พวกเราไปทำร้าน แนะนำให้ทำหมูหันราคาที่ขาดทุนจะได้กระตุ้นกันบริโภคของคนกิน หรือแนะนำให้ลดแม่พันธุ์หรือลดปริมาณการเลี้ยง แต่คำถามคือ เราต้องลดเท่าไหร่ล่ะ? ต้องหันหมูซักกี่ตัว เพราะถึงจะลดปริมาณการเลี้ยงจนข้าวไม่มีกิน หันหมูจนหมดเล้า เราก็ไม่มีวันจะแก้ปัญหานี้ได้ หนังสือร้องเรียนความเดือดร้อนที่ยื่นให้ถึงมือนายกที่ชื่อ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ไร้ซึ่งเสียงตอบกลับมาให้ได้ยิน ดังนั้นเราไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น..เราต้องทำในสิ่งที่เราไม่เคยทำ.. เราไม่มีสิ่งอื่นใดจะร้องขอกับพวกเพื่อนๆ ร่วมชาติ นอกจาก ขอให้จดจำชื่อเราไว้ จำชื่อเราไว้ว่า วันที่ 8 พฤษภาคม 2550 เราทำสิ่งนั้นเพราะอะไร? เราขอรับรองด้วยความสัตย์จริงว่า การกระทำของเราไม่มี กลุ่มการเมืองใดๆ หนุนหลังหรือเกี่ยวข้องแม้แต่น้อยนิด
ด้วยความทุกข์ทน กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย
จากคุณ : teera.p - [ 7 พ.ค. 50 02:53:10 ]
จากคุณ :
คนอยากปลูกอ้อย (digy)
- [
วันลอยกระทง 23:31:04
]
|
|
|