ความคิดเห็นที่ 16
ที่จริงตาเชยว่าจะไม่ต่อความยาวสาวความยืดแล้วนะ (เมื่อบอกด้วยความหวังดีและบริสุทธิ์ใจ ถ้าไม่เชื่อกันก็แล้วไปเถอะ) พอดีคุณHeron มาโพสต์ยีนยันตามตาเชย ก็เลยจะถือโอกาสชี้แจงเสียให้หายข้องใจไปเลย
ที่ตาเชยแนะให้คุณต้นโพธิ์ต้นไทร เข้าไปอ่านในเว็บนั้นก็เพราะเห็นว่าเค้าได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำราว่านในยุคเก่าๆ เอาไว้ได้ละเอียดและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่ตาเชยเคยอ่านๆ มา (ไม่ใช่ให้เข้าไปหาดูชื่อว่านซึ่งเจ้าของเว็บเค้าก็บอกไว้แล้วนี่ว่ายังเขียนไม่เสร็จ) เผื่อว่าคุณต้นโพธิ์ต้นไทรอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อว่านจริงๆ จะได้ไปค้นหามาอ่านได้ถูกจุด ถูกที่ ถูกทาง
ตำราที่คุณHeron โพสยืนยันมานั้นจัดอยู่ในตำรารุ่นใหม่ เดี๋ยวคุณต้นโพธิ์ต้นไทรก็จะอ้างอีกว่าเชื่อถือไม่ค่อยได้ ตาเชยก็เลยรวบรวมรายชื่อตำรารุ่นเก่าๆ ที่ได้มีบันทึกชื่อ "ว่านน้ำเต้าทอง" เอาไว้ดังนี้
1) บันทึกอยู่ในตำราว่านเล่มแรกของไทยชื่อ "ลักษณะว่าน" นายชิต วัฒนะ รวบรวมพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2473 2) บันทึกอยู่ในเล่มที่สองชื่อ "ตำหรับ กระบิลว่าน" หลวงประพัฒสรรพากร รวบรวมพิมพ์โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2475 3) บันทึกอยู่ในตำราชื่อ "ตำราพันธุ์ว่านยา 108 อย่าง" ศ.ส. รวบรวมพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2480 4) บันทึกอยู่ใน "คู่มือนักเล่นว่าน" ล.มหาจันทร์ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2480 5) บันทึกอยู่ใน "ตำราสรรพคุณยาไทย ว่าด้วยลักษณะกบิลว่าน" นายไพทูรย์ ศรีเพ็ญ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2484
6) บันทึกอยู่ใน "ตำรากบิลว่าน" พยอม วิไลรัตน์ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2504
7) บันทึกอยู่ใน "ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน" อุตะมะ สิริจิตโต รวบรวมพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2505
8) บันทึกอยู่ใน "ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์" อาจารย์ชั้น หาวิธี รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2506
9) บันทึกอยู่ใน "ตำราคุณลักษณะว่าน และ วิธีปลูกว่าน" นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ รวบรวมพิมพ์ในนามของสมาคมพฤษชาติแห่งประเทศไทย พ.ศ.2506
10) บันทึกอยู่ใน "ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์" ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2508
และตาเชยขอยืนยันว่า ตำราว่านทั้ง 10 เล่มนี้ใช้ชื่อ "ว่านน้ำเต้าทอง" เพียงชื่อเดียว ไม่มีชื่อสำรอง หรือชื่ออื่นๆ ใดๆ ทั้งสิ้น (ธรรมดาถ้าว่านต้นไหนมีหลายชื่อ หรือเรียกได้หลายอย่าง ตำราก็จะระบุไว้ทุกชื่อ ทุกครั้ง)
ปล. เฮียจี๊ดนี่ใช่ที่ตัวใหญ่ๆ กลับจากอเมริกามาขายต้นไม้ และตายไปแล้วหรือป่าว
จากคุณ :
ตาเชย
- [
25 พ.ค. 51 03:43:49
]
|
|
|