|
ธรรมชาติถูกทำลายปูนาไทยใกล้สูญพันธุ์
.....................สถาบันวิจัยฯมช.หนุนชาวบ้านเลี้ยงไว้กิน-ต่อยอดสร้างรายได้
"ปูนา คำนี้คุ้นหูอย่างมาก และอยู่คู่วิถีชีวิตคนไทยมานานสามารถนำมาทำอาหารได้อย่างอร่อยไม่ว่าจะนำมาใส่ในส้มตำหรือจะนำมาดัดแปลงเป็นทอดมันปู และนำมาทำเป็นน้ำปูก็ได้ทั้งนั้น จนเป็นอาหารขึ้นชื่อหลายอย่างของแต่ละภาคในประเทศไทย แต่ปัจจุบันคนเราอาจจะมองข้ามปูตัวเล็ก ๆ พวกนี้ว่าไม่ค่อยมีราคาอะไร หากมองย้อนลึก ๆ พบว่าขณะนี้ปูนา ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจไม่แพ้ผลิตภัณฑ์โอทอปเลยทีเดียว นางนิตยา บุญทิม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียง ใหม่ เปิดเผยว่า ปูนาเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีกระดองแข็งหุ้มลำตัว กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีน้ำตาลดำหรือน้ำตาลม่วง กระดองด้านหน้าจะโค้งมนกลมและกระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบและขอบบนมีหนามงอกออกมา ปูนามีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาและเหนือเบ้าตามีปุ่ม เล็ก ๆ ข้างละปุ่ม มีปากอยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง และมีขาทั้งหมด 5 คู่ โดยขาคู่แรกนั้นมีขนาดใหญ่เรียกว่าก้ามหนีบใช้สำหรับจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร ก้ามของปูตัวผู้จะใหญ่กว่าก้ามของตัวเมีย ก้ามซ้ายและก้ามขวาจะใหญ่ไม่เท่ากันและมักจะใหญ่สลับข้างกัน ตัวปูนั้นประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนท้องมีลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่า จับปิ้ง จับปิ้งของปูตัวผู้นั้นมีขนาดเล็กแต่จับปิ้งของปูตัวเมียมีลักษณะกลมและกว้าง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะใช้สำหรับเก็บไข่และลูกปูไว้ ส่วนปลายของจับปิ้งจะใช้เป็นช่องเพื่อใช้ในการขับถ่าย แหล่งที่อยู่จะขุดรูในทุ่งนา คันนา คันคูหรือคันคลอง โดยจะอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำและแหล่งอาหาร และรูนั้นจะอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม การผสมพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงและปูตัวเมียสามารถเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน มีไข่ในท้องประมาณ 700 ฟอง การจับคู่จะดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2-3 วัน และปูตัวผู้จะคงเกาะบนหลังของปูตัวเมียเพื่อให้ความคุ้มครองจนกว่าปูตัวเมียจะแข็งแรงและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
จากคุณ :
ญี่ปุ่น35
- [
17 พ.ย. 51 00:17:44
]
|
|
|
|
|