ความคิดเห็นที่ 38

Q: 3.3 กรณี คาตา เคยได้ยินว่า คาตาหัวนี้ ออกดอกมาเป็นตัวผู้ แต่พอมีการแตกหน่อ หน่อใหม่อาจให้ดอกตัวเมีย การแตกหน่อ คือจะมีลักษณะโครโมโซมเหมือนเดิมทุกประการไม่ใช่เหรอ แต่ทำไม คาตา พอให้หน่อใหม่ ดอกอาจเปลี่ยนเพศได้
----------------------------------------------------------------------
A: ลองไปค้นเรื่องดอกของ Catasetum เปลี่ยนเพศ พอจะแปลสรุปตามความเข้าใจได้ความดังนี้น่ะครับ
- ปกติกล้วยไม้ทั่วๆ ไป มีดอกที่สมบูรณ์เพศ (มีทั้งเกสรตัวผู้ตัวเมียในดอกเดียวกัน) แต่ Catasetum, Mormodes, Cynoches ถือเป็นกล้วยไม้ที่ออกดอกแยกเพศแต่อยู่ร่วมต้นเดียวกัน (Monoecious - แยกดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย แต่เกิดในต้นเดียวกัน)
- แต่ในการออกดอกแต่ละครั้ง คาตาแต่ละต้นมักจะออกดอกเพียงเพศใดเพศหนึ่ง ไม่ได้ออกดอกทั้งสองเพศมาพร้อมกัน จึงทำให้ดูเหมือนว่าคาตาเป็นต้นไม้ที่มีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน (Functionally Dioecious)
- ในธรรมชาติและในการปลูกเลี้ยง สามารถพบคาตาต้นที่ออกดอกตัวผู้ได้มากกว่า ขณะที่พบต้นที่ออกดอกตัวเมียน้อยกว่ามาก การออกดอกแต่ละครั้งจะออกมาเป็นเพศใดมีปัจจัยเรื่องสภาพแสงและความสมบูรณ์ของหัวเข้ามาเกี่ยวข้อง
- ถ้าความเข้มของแสงมาก และหัวใหญ่สมบูรณ์ มีโอกาสที่คาตาต้นนั้นจะออกดอกตัวเมีย แต่ถ้าความเข้มแสงต่ำ มีโอกาสที่คาตาต้นนั้นจะออกดอกตัวผู้ จึงเสมือนว่าคาตาสามารถเปลี่ยนเพศดอกได้ (Gender Diphasy) ตามปัจจัยแวดล้อม **(ความเห็นส่วนตัว - คงเหมือนไข่เต่า ไข่จระเข้มั้งครับ ถ้าอุณหภูมิในการฟักอยู่ในช่วงนึงก็จะฟักออกมาเป็นตัวผู้ ถ้าอุณหภูมิอีกช่วงหนึ่งก็จะฟักมาเป็นตัวเมีย)
- แต่ก็มีโอกาสที่คาตาจะออกดอกที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสองเพศได้ (Intermediate) โดยดอกที่มีลักษณะค่อนข้างคล้ายไปทางตัวเมียมากหน่อย อาจให้ติดฝักได้ แต่เกสรตัวผู้ใช้งานไม่ได้ ส่วนดอกที่มีลักษณะค่อนข้างคล้ายไปทางตัวผู้มากหน่อย เกสรตัวเมียก็จะใช้ไม่ได้ แถมยังมีน้อยดอกที่เกสรตัวผู้สามารถใช้งานได้ ส่วนใหญ่แล้วดอกคาตาที่ก้ำกึ่งระหว่างสองเพศมักจะเป็นหมัน
---------------------------------------------------------------------- เพื่อป้องกันการแปลผิด/คลาดเคลื่อน อ่านต้นฉบับดั้งเดิมจากที่นี่นะครับ
1) Daniel Fulop, Evolution of flower sexual dimorphism in Catasetum L.C. Rich. (Orchidaceae) http://www.ubcbotanicalgarden.org/conferences/adaptation2002_abstracts.php
2) Romeo Gustavo A., Non-functional flowers in Cataseturn orchids (Catasetinae, Orchidaceae), Botanical Journal of the Linnean Society, 109(2), P. 305-313 http://www3.interscience.wiley.com/journal/119321373/abstract (See Abstract)
3) Jess K.Zimmerman, Role of Pseudobulbs in Growth and Flowering of Catasetum viridiflavum (Orchidaceae), American Journal of Botany, 77(4), P.533-542 1990 http://www.jstor.org/pss/2444388 (See Abstract)
จากคุณ :
Magnificum
- [
27 พ.ย. 51 00:32:07
]
|
|
|