Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ( ขออินเทรนกันเทศกาลปีใหม่หน่อย ) ปีใหม่นี่พาลูกไปทำบุญ ด้วยการบริจาคเลือดดีกว่า

    ที่อยากตั่งกระทู้นี่ ขึ้นมา เพราะ อยากจะ เชิญชวน พ่อๆแม่ๆ ที่ มีลูก เข้าข่ายสามารถบริจาค เลือดได้ ไปทำบุญกัน

    ขออภัยด้วยถ้าช่วงนี้โพสอะไรเยอะไปหน่อย ทำให้หลายคนตาลาย ( อู้งานปกติ ) ถ้าต้องการให้ ลบ เพิ่มเติม หรือ แก้ไข บอกได้นะคะ

    มีหลายครั่งที่ พวกเค้าป๋วย บาดเจ็บ แล้วพาไปหาหมอ เพื่อช่วยชีวิต แต่ ต้องจบลงเพราะ " ไม่มีเลือด-ขาดเลือด "

    ข้อความต่อไปนี้ " ไม่ได้เขียนเอง " ( 555+ บอกทำไม ) ได้รวมรวมจากที่ต่างๆ มาให้อ่านกัน เพื่อที่ว่า ชีวิตที่ต้องจากไปเพราะ"ขาดเลือด"จะได้น้อยลง

    "การทำบุญอะไรจะยิ่งใหญ่ไปกว่าการให้ชีวิต "

    เครดิสและที่มา

    ( เดี๋ยวมาเพิ่ม )

    ศูนย์ข้อมูลผู้บริจาคเลือด สุนัข และ แมว
    http://leocenter.makewebez.com/index.php?type=home

    http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/db_directory/dog/bld_bk/bld_donor_prog.htm

    โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
    http://www.vet.ku.ac.th/bk_animhos/bk_animhos.htm

    คุณนาตยา(ผู้จัดการรายวัน)  คุณตุลเทพ  
    สัตวแพทย์หญิง สุวรัตน์ วดีรัตน์ และ นายสัตวแพทย์ อดิเรก ลิ่มณรงค์เดช

    ขอบคุณคะ
    ----------------------------------------------------------------


    เพราะเหตุใดสุนัขจึงต้องมีการให้เลือด


    สุนัขอาจจะมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการได้รับการให้เลือดด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ เลือดของสุนัขก็คล้ายกับเลือดของมนุษย์คือ ประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดและน้ำเลือด และเลือดที่ได้รับบริจาคจากสุนัขก็สามารถแยกออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ด้งที่กล่าวไปแล้วด้วยเหมือนกัน เพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ความต้องการของสุนัขป่วยที่ต้องการที่จำเพาะและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของเลือดที่ได้รับบริจาคสุนัข แต่โดยทั่วไปสุนัขที่ต้องการเลือดมักจะต้องการเม็ดเลือดแดง หรือน้ำเลือดมากที่สุด

    การให้เลือด หรือเม็ดเลือดแดงมักจะใช้กรณีเพื่อการรักษาโรคโลหิตจาง (anemia) นอกจากนี้แล้วสุนัขอาจจะต้องการเลือดในกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุ หรือกรณีทำการผ่าตัดศัลยกรรม หรือกรณีที่สัตว์ป่วยไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้ หรือกรณีที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลายอย่างรุนแรง (จากโรค เช่น พยาธิในเม็ดเลือดแดง เป็นต้น)

    สำหรับน้ำเลือด (plasma) ประกอบด้วยโปรตีน หรือเอนไซม์ต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับการทำให้เลือดมีการแข็งตัว (clot) มักมีความจำเป็นสำหรับการรักษาภาวะเลือดออก (bleeding) อันเนื่องมาจากโรคตับ หรือกรณีที่เกิดเลือดออกจากการได้รับสารหนู (rodent poison) นอกจากนี้น้ำเลือดยังมีความจำเป็นสำหรับสุนัขป่วยที่มีระดับโปรตีน หรืออัลบูมินในเลือดต่ำ ส่วนประกอบอื่นๆ ของน้ำเลือด เช่น cryoprecipitate จะใช้สำหรับการรักษาโรคเลือดไหลไม่หยุด (hemophillia) หรือโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับปัญหาภาวะเลือดออกไม่หยุดอันเนื่องมาจากพันธุกรรม

    ปัญหาของการทำธนาคารเลือด ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ก็คือ เลือดไม่สามารถเก็บไว้ได้นานครับ เลือดครบส่วน หรือที่เรียกว่า Whole blood (พลาสมา + เม็ดเลือดแดง + เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด) เก็บไว้ได้ไม่นาน เต็มที่ก็ 30 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีเทคนิคการแยกส่วนประกอบของเลือดออกจากกัน ด้วยเครื่องปั่นเย็น (Refrigerated centrifuge) ซึ่งแต่ละส่วนสามารถนำไปให้ผู้ป่วยที่ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น
    --------------------------------------------------------------------------------

    ทำไมสุนัขต้องทำธนาคารเลือด

    เพราะสุนัขมีหมู่เลือด 8 กลุ่ม แปลว่าถ้าเราต้องการเลือด แล้วเราหาสุนัขมาได้ 1 ตัว ซึ่งสุนัขตัวนี้เลือดจะเข้ากับเลือดของตัวที่รับเลือดได้หรือเปล่า ซึ่งโอกาส เป็น 1 ใน 8 แต่ในแมว แต่หมู่เลือดบางกลุ่มก็สามารถให้กลุ่มอื่นได้เหมือนในคน แต่แมวมีหมู่เลือด แค่ 3 หมู่คือ A, B และ AB ซึ่ง AB มีน้อยมากๆ แมวไทยจะเป็น หมู่ A เกือบทั้งหมด ในแมวนอกนั้น มีทั้ง A, B และ AB (มีน้อยมาก 1-2%) แต่หมู่ A มีมากที่สุด ฉนั้นในกรณีฉุกเฉินอาจให้เลือดได้แต่ต้องเสี่ยงเอา ส่วนการให้เลือดในแมวจำเป็นที่ต้องให้เลือดที่เข้ากันได้เท่านั้น ฉนั้นการทำธนาคารเลือดสุนัขจึงเป็นการประหยัดเวลากว่าการเรียกหาผู้บริจาค นั้นหมายถึงยิ่งหาเลือดได้เร็วเท่าไรหรือมีเก็บไว้ย่อมช่วยชีวิตสุนัขได้ทันที
    ถ้าเป็นคน สภากาชาด ไทยจะเป็นเหมือนศูนย์กลางรับบริจาคเลือดแล้วก็แจกจ่ายไปตาม รพ. ที่ขอเลือดมา ซึ่งสภากาชาดไทย มีศุนย์บริการโลหิต ย่อยๆตามจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ แต่ในสุนัขนั้น เกษตร รับบริจาคเอง เก็บไว้เองไม่ได้แจกจ่ายมาไว้ให้ที่ รพ.ที่ร้องขอ แปลว่าเวลาต้องใช้เลือดต้องย้ายสุนัขไปที่ รพ.เกษตร หรือ รพ.ที่มีเลือด ซึ่งไม่เหมือนคนที่เลือดมาหาผู้ป่วย แล้วทำไมเกษตรถึงแจกเลือดไม่ได้ อันนี้ก็เพราะอัตราการใช้เลือดมีมากว่าอัตราการบริจาคเลือดถึง 1 ต่อ 5 ซึ่งมันไม่พอไงครับ ถ้าเราไปบริจาคมากๆ มันก็จะพอสำหรับแจกจ่ายไง (ไม่รู้เมื่อไร)
    แต่ในกรณีของแมว เราพบว่าการเก็บเลือดแมวไม่สามารถเก็บได้ เพราะตอนนี้เทคโนโลยีการเก็บเลือดแมวลงในถุงเก็บรักษาเลือดแมวยังทำไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถทำธนาคารเลือดแบบสุนัขได้ ฉนั้นเวลาใช้เลือดจึงต้องให้เลือดสด (Fresh Blood)  คังนั้นการทำธนาคารเลือดแมวจึงเป็นในแนวทางรวบรวมฐานข้อมูลผู้บริจาคไว้ เมื่อจะให้เลือดให้ใช้วิธีติดต่อผู้บริจาคนำแมวมาบริจาคเท่านั้น ในแมวสามารถให้เลือดได้ 10 CC ต่อ น้ำหนัก 1 กก.

    --------------------------------------------------------------------------------
    สุนัขที่บริจาคเลือดมาจากไหน

    เลือดในธนาคารเลือด ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้รับมาจากสุนัขที่มาบริจาคเลือด มีสุนัขหลายพันธุ์ที่มาให้เลือดเป็นประจำ (ซึ่งมีปรากฎในหน้าสุนัขใจบุญครับ/ค่ะ) โดยผู้นำสุนัขมาบริจาคเลือดให้มาติดต่อหน่วยงานประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลสัตว์ บางเขน ติดกรมป่าไม้ ่จากนั้นจะมีการตรวจร่างกาย ถ้าไม่มีปัญหาใดๆ การเก็บเลือดก็จะเกิดขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด ชั้น 3 อาคารโรงพยาบาลสัตว์ 9 ชั้น หรือตึกเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สุนัขที่บริจาคเลือดจะไม่ได้รับความเจ็บปวดใดๆ จากการบริจาคเลือด การเก็บเลือดจะใช้ระยะเลาประมาณ 5-15 นาที ขั้นตอนต่างๆจะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการในธนาคารเลือดของคน

    --------------------------------------------------------------------------------
    เลือดที่ได้รับบริจาคจากสุนัขปลอดภัยหรือไม่

    สุนัขที่มาบริจาคเลือดจะได้รับการตรวจกรอง (screened) โรคที่สามารถติดต่อกันได้ทางเลือด เพื่อเป็นหลักประกันว่าสุนัขที่เข้าสู่กระบวนการบริจาคเลือดมีสุขภาพดี โดยปกติแล้วเราจะรับสุนัขที่มีหมู่เลือดในกลุ่ม "universal blood type" หรือสุนัขที่มีหมู่เลือดที่สามารถเข้ากับหมู่เลือดอื่นๆได้ทั้งหมด ถ้าเปรียบเทียบกันในคนก็คือคนหมู่เลือดโอ เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงปฏิกิริยาทางเคมีของการเข้ากันไม่ได้ของหมู่เลือดจากการให้เลือด แต่เนื่องจากเราไม่สามารถเลือกสุนัขที่มาบริจาคได้ การรับบริจาคจึงไม่จำกัด เพียงแต่ก่อนการให้เลือดจะต้องมีตรวจการเข้ากันได้ของหมู่เลือดเท่านั้นเอง เลือดที่เก็บจากสุนัขใจบุญจะถูกเก็บไว้ในถุงพลาสติกที่ปราศจากเชื้อโรค ขั้นตอนการเก็บและรักษาจะทำให้เลือดปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรคและเก็บไว้ในตู้เก็บเลือดเช่นเดียวกับธนาคารเลือดของคน โดยปกติเลือดที่ได้รับบริจาคมีการกำหนดวันหมดอายุปรากฎอยู่และทำลายเมื่อหมดอายุ แต่เนื่องจากความต้องการเลือดยังมีอยู่มาก เลือดจึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
    อีกเรื่องหนึ่งก่อนการให้เลือด จะมีเทคนิคที่เรียกว่าการ cross match เลือด ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ทดสอบการเข้ากันของเลิอดผู้รับและผู้ให้ มันเลยต้องเสียเวลา และในแมวกับสุนัขไม่ได้ทำการตรวจหมู่เลือดไว้ก่อนเหมือนคน เวลาจะให้เลือดจึงต้องใช้เลือดผู้บริจาคจากหลายถุงมาทดสอบดู แต่ในแมวไม่ได้มีธนาคารเลือดจึงต้องอาจหาแมวสำรองไว้ด้วย ซึ่งถ้าแมวที่ป่วยเป็นแมวไทยก็ง่ายหน่อยก็ใช้แมวไทยด้วยกันให้ได้เพราะแมวไทยจะเป็น กลุ่ม A เกือบทั้งหมด แต่ถ้าเป็นแมวนอกก็เหนื่อยหน่อยอาจต้องหาแมวนอกด้วยกัน


    --------------------------------------------------------------------------------
    เขาให้เลือดกับสุนัขกันอย่างไร

    ก่อนการให้เลือด หรือองค์ประกอบของเลือดอื่นๆกับสุนัข สัตวแพทย์จะทำการตรวจการเข้ากันได้ของหมู่เลือด (crossmatch) เสียก่อน เพื่อความมั่นใจว่า เลือดที่จะให้กับสุนัขไม่มีปฏิกิริยาต่อสุนัขที่ได้รับเลือด เลือดจะถูกถ่ายให้กับสุนัขที่ต้องการเลือดด้วยการให้ทางสายยางผ่านเข้าหลอดโลหิตดำ (ในลักษณะเดียวกับการให้สารน้ำผ่านทางหลอดเลือดดำ) อย่างช้าๆ อัตราเร็วของการให้และปริมาณเลือดที่่จะให้กับสุนัขจะขึ้นอยู่กับความจำเป็น ความต้องการและขนาดของสุนัข

    --------------------------------------------------------------------------------
    สุนัขของฉัน/ผมมีความเสี่ยงต่อการรับเลือดหรือไม่

    เลือดที่ได้จากการบริจาคจะเป็นเลือดที่มาจากสุนัขที่มีสุขภาพดี ก่อนการให้เลือดกับสุนัขตัวรับเลือดจะได้รับการตรวจถึงความเข้ากันได้ของหมู่เลือด ดังนั้นความเสี่ยงต่อการให้เลือดจึงมีน้อยมาก แต่สุนัขบางตัวเมื่อได้รับเลือดแล้วอาจจะมีไข้เกิดขึ้นได้ หรืออาจจะพบว่าหน้าบวมเล็กน้อย (mild facial swelling) ในระหว่าง หรือหลังการให้เลือดก็ได้ ภาวะนี้สัตวแพทย์สามารถแก้ไขได้ สุนัขที่ป่วยด้วยโรคที่ค่อนข้างรุนแรงและต้องได้รับการให้เลือดซ้ำอาจจะพัฒนาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการได้รับเลือดได้ ิ

    --------------------------------------------------------------------------------
    เลือดของสุนัขที่ได้รับจากการบริจาคเก็บไว้ที่ไหน

    เลือดที่ได้รับบริจาคจากสุนัขจะถูกเก็บไว้ที่ธนาคารเลือดสัตว์ ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ชั้น 3 และใช้ในการรักษาสัตว์ป่วย


    --------------------------------------------------------------------------------

    แก้ไขเมื่อ 24 ธ.ค. 51 20:22:25

    แก้ไขเมื่อ 24 ธ.ค. 51 16:32:01

    แก้ไขเมื่อ 24 ธ.ค. 51 16:24:05

    แก้ไขเมื่อ 24 ธ.ค. 51 16:17:30

    จากคุณ : นู๋ปลาวาฬน้อย - [ 24 ธ.ค. 51 16:02:20 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com