Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    "เก็บมาฝาก - ถ้าไม่กลัวตาลายซะก่อน..เชิญครับ" อิอิ...อิ

    สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 เดิมมีพันธุ์ไม้หอมอยู่ 20 วงศ์ 49 ชนิด จำนวน 280 ต้น ในปี พ.ศ. 2547 โครงการรวบรวมและปลูกรักษาพันธุกรรมไม้หอม ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทำการรวบรวม ปลูก รักษาพันธุ์ไม้หอมเพิ่มเติมในสวนไม้หอมรวมเป็นจำนวน 55 วงศ์ 251 ชนิด รวม 812 ต้น ซึ่งแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเจริญเติบโต สภาพนิเวศน์ และการดูแลรักษา

         โครงการวิจัยฯทำการรวบรวม จำแนกสายพันธุ์ไม้หอมที่มีอยู่เดิม และที่ปลูกเพิ่มเติม รวบรวมจำนวนอย่างน้อย 1 – 3 ต้น/ชนิด ศึกษาการเจริญเติบโต การติดดอกออกผล การขยายพันธุ์ และเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นทาง Internet ตั้งแต่ เดือน ก.ย. 48 ที่
    http://clgc.rdi.ku.ac.th/resource/fragrant/variety.html
    ประมาณการที่จะทำข้อมูลเผยแพร่ 2- 4 ชนิดต่อเดือน จนกว่าครบตามจำนวนที่ ได้รวบรวมพันธุกรรมไว้

    ผลการรวบรวมจำแนกพรรณไม้หอม (ในวงเล็บ-จำนวนต้น)

    APOCYNACEAE 31 ชนิด มีกุมาริกา(3) กุมาริกาด่าง(1) ชะลูด(1) ชำมะนาด(4) บานบุรีหอม (2) โมกลา(2) โมกแคระ(3) โมกซ้อน(2) โมกด่าง(3) โมกทอง(2) โมกเงิน(2) โมกส้ม(2) พุดจีบ(16) พุดจีบด่าง(6) พุดดง(2) พุดสวน(5) ยี่โถดอกซ้อน(2) ยี่โถใบด่างดอกซ้อน(2) ยี่โดอกสีขาว(2) ยี่โถดอกสีชมพู(4) ยี่โถดอกสีชมพูซ้อน(2) แย้มปีน(4) ลั่นทมดอกขาว(5) ลั่นทมดอกเหลืองขอบขาว(4) ลั่นทมดอกสีแดง(3) ลั่นทมแดงกำมะหยี่(1) ลั่นทมศรีกาฬสินธุ(2) สัตตบรรณ(4) หนามแดง(4) หิรัญญิการ์(4) หีบไม้งาม(3) อมรเบิกฟ้า( 2)

    ANNONACEAE 27 ชนิด มีกระดังงาจีน(6) กระดังงาไทย(3) กระดังงาสงขลา(3) กระโมกเขา(2) กล้วยหมูสัง(2) กล้วยหมูสังสีนวล(2) ข้าวหลาม(1) ข้าวหลามดง(2) จำปีแขก(2) ทุเรียนเทศ(2) นมแมว(2) นมหนู(1) บุหงาเซิง(2) บุหรง(2) ปาหนันช้าง(1) ลำดวน(3) ลำดวนดอย(1) ลำดวนแดง(1) สายหยุด(2) สายหยุดแดง(1) ส่าเหล้าปัตตานี (3) แสดสยาม(1) นางแดง(2) มหาพรหม(3) เหลืองจันทน์(3) นางเลว(3) ราชครูดำ(1)

    RUBIACEAE 21 ชนิด มีกระทุ่มนา(2) กระท่อม(1) เข็มเขียว(3) เข็มขาวแคระ(6) เข็มชมพูแคระ(6)เข็มญี่ปุ่น(5) เข็มหอม(5) เข็มหลวง(2) เข็มเหลือง(3) เขี้ยวกระแต(1) คัดเค้า(3) คัดเค้าแคระ(5) คำหมอกหลวง(3) จันทร์หอม(3) พุดซ้อน (5) พุดซ้อนด่าง(3) พุดแตรงอน(1) พุดน้ำบุษย์(6) พุดบูรพา(4) พุดป่า(1) พุดภูเก็ต(1) พุดน้ำ(1)

    RUTACEAE 15 ชนิด มียอบ้าน(1) ยอป่า(1) แก้ว(60) ลูกเขยตาย(3) ส้มเขียวหวาน(2) ส้มจี๊ด(3) ส้มมือ(3) ส้มโอทองดี(3) ส้มเช้ง(2) มะนาวไข่(2) มะนาวแป้น(3) มะนาวทูลเกล้า(3) มะนาวด่าง(3) มะตูม(1)

    MAGNOLIACEAE 12 ชนิด มีจำปา(4) จำปาแดง(3) จำปี(4) จำปีสิรินธร(4) จำปีหลวง(2) จำปีแขก(2) มณฑา(3) มณฑาดอย(1) มณฑาป่า(2) ยี่หุบ(2) ยี่หุบปลี(1) แก้วมหาวัน(1)

    ORCHIDACEAE 11 ชนิด มีช้างกระ(2) ช้างแดง(1) เอื้องเงินหลวง(2) เอื้องผึ้ง(2) เอื้องตะขาบ(1) มาลัยแดง(1) กุหลาบเหลืองโคราช(3) เข็มขาว(3) เอื้องไอยเรศ(3) เอื้องแซะ(1) แคทรียา(1)

    OLIACEAE 9 ชนิด มีพุทธชาติ(3) พุทธชาติก้านแดง(3) มะลิฉัตร(9) มะลิซ้อน(19) มะลิลา(1) มะลิวัลย์(1) มะลิหลวง(3) มะลิพวง(3) หอมหมื่นลี้(2)

    VERBENACEAE 8 ชนิด มีกรรณิการ์(5) นางแย้ม(10) บุหงาส่าหรี(17) ราตรีสวรรค์(6) ราตรีสีทอง(2) อรัญญิการ์(3) บุหงาแต่งงาน(3) เทียนหยด(1)

    SOLANACEAE 6 ชนิด มีทิวาราตรี(2) ถ้วยทอง(2) พุดตะแคง(4) พุดสามสี(3) พุดแสงอุษา(4) ราตรีสีทอง(1)

    AMARYLLIDACEAE 5 ชนิด มีพลับพลึงใหญ่(4) พลับพลึงใหญ่ใบด่าง(3) พลับพลึงตีนเป็ด(20) พลับพลึงทอง(6) รางทอง(6)

    GUTTIFERAE 5 ชนิด มีกระทิง(2) เกล็ดกระโห้ด่าง(4) บุนนาค(3) สารภี (4) พะวา(2)

    LEGUMINOSAE 5 ชนิด มีใบไม้สีทอง(1) กระถินหอม(1) ประดู่(1) ชงโค(2) อรพิม(1)

    BIGNONIACEAE 4 ชนิด มีกระเทียมเถา(2) ปีบ(18) ปีบไหหนาน(4) กาสะลองคำ(3)

    LONGANIACEAE 4 ชนิด มีกันเกรา(3) กาแฟโรบัสต้า(2) กาแฟอาราบิก้า(4) ราชาวดี(2)

    PASSIFLORACEAE 4 ชนิด มีเสาวรส(2) ลิ้นมังกรขอบใบเหลือง(3) ลิ้นมังกรขอบใบเขียว(3) ลิ้นมังกรแคระ(6)

    ZINGIBERACEAE 4 ชนิด มีขมิ้นขาว(3) มหาหงส์(3) ว่านสาวหลง(10) ดาหลาดอกขาว(3)

    AGAVACEAE 3 ชนิด มีซ่อนกลิ่น(3) วาสนา(3) วาสนาราชินี(1)

    COMBRETACEAE 3 ชนิด มีเล็บมือนาง(5) เล็บมือนางซ้อน(2) สมอภิแพ้(3)

    DIPTEROCARPACEAE 3 ชนิด มีจันทน์กระพ้อ(3) พะยอม(4) พันจำ(2)

    FLACOURTIACEAE 3 ชนิด มีไข่ดาว(3) ขันทองพยาบาท(2)

    LAURACEAE 3 ชนิด มีอบเชย(2) อบเชยป่า(2) เทพทาโร(1)

    LECYTHIDACEAE 3 ชนิด มีสาละลังกา(2) บัวสวรรค์(2) จิกทะเล(1)

    MELIACEAE 3 ชนิด มีประยงค์(6) ประยงค์หลวง(4) ยมหอม(3)

    ROSACEAE 3 ชนิด มีกุหลาบมอญดอกสีแดง(3) กุหลาบมอญดอกสีชมพู(3) กุหลาบลูกผสม(3)

    ARACEAE 2 ชนิด มีเดหลี(13) เดหลีใบกล้วย(3)

    ASCLEPIADACEAE 2 ชนิด มีขจร (2) นมตำเรีย(3)

    CAESALPINIACEAE 2 ชนิด มีโสก(3) โสกขาว(1)

    CAPRIFOLIACEAE 2 ชนิด มีพวงไข่มุก(4) สายน้ำผึ้ง(3)

    LYTHRACEAE 2 ชนิด มีเทียนขาว(2) เทียนแดง(3)

    OXALIDACEAE 2 ชนิด มีตะลิงปลิง(2) มะเฟือง(2)

    PANDANACEAE 2 ชนิด มีเตยทะเล(2) เตยหอม(10)

    PLAMAE 2 ชนิด มีหมากหอม(3) ตาลโตนด(10)

    SAPOTACEAE 2 ชนิด มีพิกุล(24) พิกุลด่าง(1)

    ZYGOPHYLIACEAE 2 ชนิด มีแก้วเจ้าจอม4ใบ(1) แก้วเจ้าจอมอื่นๆ(10)

    ALANGIACEAE 1 ชนิด มีปรู๋(2)

    BOMBACACEAE 1 ชนิด มีทุเรียน(2)

    CAESALPINIOIDEAE 1 ชนิด มีตันหยง(4)

    CONVOLVULACEAE 1 ชนิด มีลัดดาวัลย์(4)

    DACAENACEAE 1ชนิด มีจันทน์ผา(8)

    DILLENIACEAE 1 ชนิด มีรสสุคนธ์ขาว(2)

    EBENACEAE 1 ชนิด มีจันดง(3)

    ELAOCARPACEAE 1 ชนิด มีไคร้ย้อย(3)

    FABIACEAE 1 ชนิด มีเถาวัลย์เปรียง(2)

    GRAMINEAE 1 ชนิด มีไคร้หอม(3)

    MALPIGHIACEAE 1 ชนิด มีโนรา(4)

    MORACEAE 1 ชนิด มีขนุน(2)

    NYMPHAEACEAE1 ชนิด มีบัวสีต่างๆ(10)

    NYCTAGINACEAE 1 ชนิด มีบานเย็นดอกสีเหลือง(1)

    OCHNACEAE 1 ชนิด มีช้างน้าว(2)

    POLYGONACEAE 1 ชนิด มีองุ่นทะเล(10)

    RANUMCULACEAE 1 ชนิด มีพวงแก้วกุดัน(1)

    SALIACEAE 1 ชนิด มีหลิว(2)

    STERCULIACEAE 1 ชนิด มีจำปาเทศ(4)

    THEACEAE 1 ชนิด มีมังตาน(2)

    THYMELAECEAE 1 ชนิด มีกฤษณา(2)

    TILIACEAE 1 ชนิดมี รวงผึ้ง(5)

    วงศ์อื่นๆมี ข้าวหมาก(1) พัดโบก(2) เหลืองไม้แก้ว(1) หอมเจ็ดชั้น(2)

         โครงการวิจัยฯทำการรวบรวมพันธุ์ไม้หอมไปได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังมีพรรณไม้หอมอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถรวบรวมได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เช่น งบประมาณในการดำเนินการ นิเวศวิทยาเฉพาะของพรรณไม้หอมชนิดนั้นๆ รวมถึงการปลูกและดูแลรักษา หากปัจจัยต่างๆมีความเหมาะสม สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ สามารถรองรับการรวบรวมพันธุกรรมไม้หอมเพื่อความหลากหลายได้อีกมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุกรรมไม้หอมที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และของคนไทยทุกคนในอนาคต

    นพพล เกตุประสาท(1), จิตราภรณ์ ธวัชพันธุ์(2) และนิติ สีหวงษ์(3)
    1 งานเรือนปลูกพืชทดลอง ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน
    2 ภาควิชาพฤกษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    3 ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.พ. 52 10:19:23

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.พ. 52 10:04:50

     
     

    จากคุณ : C.KURT - [ 25 ก.พ. 52 10:03:48 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป


Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com